การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพเนื้อ คุณภาพซาก และคุณภาพทางประสาทสัมผัสของไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 ที่เลี้ยงด้วยอาหารไก่พื้นเมืองสำเร็จรูปและอาหารผสมเอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
กํารศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ สมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพเนื้อ คุณภาพซาก และคุณภาพทางประสําทสัมผัสของไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 ที่เลี้ยงด้วยอาหารไก่พื้นเมืองสำเร็จรูปและอาหารผสมเอง เป็นการนำอาหารสำเร็จรูปผสมกับข้ําวโพดเลี้ยงสัตว์ในอัตราส่วน 3:1 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ตลอด (Completely Randomized Design, CRD) ใช้ไก่ประดู่หางดำเเชียงใหม่ 1 คละเพศ ที่อํายุ 1 วัน จำนวน 240 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 40 ตัว การจัดระบบการให้อาหารและน้ำแบบให้กินเต็มที่ (Ad libitum) ทำการเลี้ยงเป็นระยะเวลํา 10 สัปดําห์ จากการศึกษาพบว่ํา ไก่ประดู่หางดำที่เลี้ยงด้วยอาหารไก่พื้นเมืองสำเร็จรูปมีสมรรถนะการเจริญเติบโต น้ำหนักมีชีวิต ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการแลกเนื้อ และคุณภาพซากดีกว่ากลุ่มไก่ประดู่หางดำที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมเองอย่างมีนัยสำคัญทํางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่ค่าความนุ่มเหนียวของกล้ํามเนื้ออกของไก่ประดู่หางดำที่ได้รับอาหารผสมเองมีค่าแรงตัดผ่านเนื้อต่ำกวําไก่กลุ่มที่ได้รับอาหารสำเร็จรูปอย่างมีนัยสำคัญทํางสถิติ (P<0.05) ในส่วนปัจจัยระหว่างเพศพบว่า กล้ามเนื้ออกและเนื้อสะโพกของไก่เพศผู้มีค่าแรงตัดผ่ํานเนื้อสูงกว่าไก่เพศเมียแต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) อย่ํางไรก็ตามปัจจัยด้านอาหารไม่มีผลต่อความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อ แต่ปัจจัยระหว่างเพศมีอิทธิผลต่อความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อในส่วนของการสูญเสียน้ำจากการปรุงสุกและการสูญเสียน้ำจากการละลายอยํางมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้การประเมินคุณภาพด้านประสาทสัมผัสยังพบว่ํา เนื้อไก่ประดู่หางดำที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมเองมีคะแนนความเหนียวนุ่ม ความชุ่มฉ่ำ และความพึงพอใจโดยรวมมากกว่าไก่กลุ่มที่ได้รับอาหารสำเร็จรูปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้น ผลจํากการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจให้กับเกษตรกรผู้ที่สนใจเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 ได้นำไปปรับใช้และพัฒนําการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 เชิงพาณิชย์ได้อย่างยั่งยืน
Article Details
References
จันทร์พร เจ้าทรัพย์ และกันยา ตันติวิสุทธิกุล. 2549. คุณภาพเนื้อของไก่กระทง ไก่พื้นเมือง ไก่สีทอง และไก่ตะนาวศรี. น. 230-239. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 วันที่ 30 มกราคม–3 กุมภาพันธ์ 2549. สาขาสัตว์ สาขาสัตวแพทยศาสตร์, มหาวิทยําลัยเกษตรศาสตร์.
จุฑารัตน์ เศรษฐกุล. 2540. การจัดการโรงฆ่าสัตว์. ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิต คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.
ไชยวรรณ วัฒนจันทร์, อําภรณ์ ส่งแสง, สุธา วัฒนสิทธิ์, พิทยา อดุลยธรรม และเสาวคนธ์ วัฒนจันทร์. 2547. คุณภาพซาก องค์ประกอบเคมี ลักษณะทํางกายภาพ ลักษณะเนื้อสัมผัสของไก่คอล่อนและเนื้อไก่พื้นเมือง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (สกว.). สำนักงานคณะกรรมกํารวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
ดรุณี ณ รังษี, ทวี อบอุ่น และปภาวรรณ สวัสดี. 2551. สมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมือง 4 พันธุ์ภายใต้สภาพการจัดการแบบเดียวกัน. วารสารวิชาการ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กองบำรุงพันธุ์สัตวกรมปศุสัตว์. ทะเบียนวิชาการเลขที่ 51:0206-062.
ศรัญญา ศิริปัญญา, สจี กัณหาเรียง, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ และมนต์ชัย ดวงจินดา. 2556. การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ มข. 55, ชี เคเคยู 12 และลูกผสมพันธุ์ประดู่หางดำ มข. 55 X ชี เคเคยู 12. ว. วิทย. กษ. 44: 403-406.
สมควร ดีรัศมี. 2542. การเลี้ยงไก่พื้นเมือง การเลี้ยงไก่ลูกผสมพื้นเมือง. บริษัทแสงปัญญาเลิศ จำกัด, กรุงเทพฯ.
สุวิทย์ โชตินันท์, ประภาส พัชนี และชัยโรจน์ โพธิ์เจริญ. 2556. การพัฒนาระบบการผลิตไก่พื้นเมืองเพื่อการเพิ่มมูลค่าสินค้าและ การผลิตเนื้อไก่ที่ปลอดภัยสู่ผู้บริโภค. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (สกว.). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชําติ, กรุงเทพฯ.
สัญชัย จตุรสิทธา. 2550. การจัดการเนื้อสัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์มิ่งเมือง, เชียงใหม่.
สัญชัย จตุรสิทธา, อภิรักษ์ เพียรมงคล และอำนวย เลี้ยวธารากุล. 2555. โครงการ คุณภาพเนื้อ กลิ่น และรสชาติของไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (สกว.). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
อังคณาภรณ์ พงษ์ด้วง, อำนวย เลี้ยวธารากุล, อภิรักษ์ เพียรมงคล, โปรดปราน ทําเขียว, และสัญชัย จตุรสิทธา. 2553. คุณภาพการบริโภค กลิ่นและรสชาติของเนื้อไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 ไก่ลูกผสมประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 และไก่กระทง. J. Agr. Res. Exten. 30: 37-46
อำนวย เลี้ยวธารากุล และอรอนงค์ พิมพ์คำไหล. 2542. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน และไก่ลูกผสมพื้นเมือง-โรดไอร์แลนด์แดง. ว. วิชาการกรมปศุสัตว์เขต 5. 1: 7-10.
อุดมศรี อินทรโชติ, รัชดาวรรณ พูนพิพัฒน์ และกัลยา บุญญานุวัตร. 2539. น. 303-314. การเจริญเติบโตและคุณภาพซากของไก่ลูกผสมพื้นเมือง. ประมวลเรื่องการประชุมวิชาการปศุสัตว์ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2539 วันที่ 4-6 กันยายน 2539. กรมปศุสัตว์, กรุงเทพฯ.
Cunningham, M. and D. Acker. 2001. Animal Science and Industry. Prentice-Hall, Inc., New York.
Jaturasitha, S., T. Srikanchai, M. Kreuzer and M. Wicke. 2008. Differences in carcass and meat characteristics between chicken indigenous to Northern Thailand (Black-Boned and Thai Native) and imported extensive breeds (Bresse and Rhode Island Red). Poult. Sci. 87:160-169.
Kammongkun, J. and A. Leotaragul, 2015. Estimation of genetic parameters for economic traits in Thai native chicken (Pradu-Hangdum Chiangmai) for fourteen generations of selection. Khon Kaen Agr. J. 43: 196-199.
Promketa, D., K. Ruangwittayanusorna and T. Somchana. 2016. The study of carcass yields and meat quality in crossbred native chicken (Chee). Agr. Agr. Sci. Proced. 11: 84-89.
Wattanachant, S., S. Benjakul and D.A. Ledward. 2004. Composition, color, and texture of Thai indigenous and broiler chicken muscles. Poult. Sci. 83: 123-128.