ศักยภาพและการปรับตัวของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้ความแปรปรวนสภาพภูมิอากาศ

Main Article Content

กัมปนาท วิจิตรศรีกมล
เอื้อ สิริจินดา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ประเมินศักยภาพและแนวทางการปรับตัวของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้ความแปรปรวนสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ผลิตหลัก ได้แก่ จังหวัดสระบุรี นครราชสีมา และเชียงใหม่ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่รับรู้และได้รับผลกระทบ โดยสังเกตจากฤดูกาลมีความคลาดเคลื่อนไปจากอดีต เช่น ความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝน ภาวะแล้งที่ยาวนาน หรือปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปกติ และภาวะลมกระโชกแรง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อการลดลงของปริมาณผลผลิต สำหรับศักยภาพในการปรับตัวของเกษตรกร พบว่า ในภาพรวมมีศักยภาพต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านปัจจัยเชิงสถาบันและเชิงเศรษฐกิจ ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมทางการเกษตรหรือเข้าร่วมทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกกลุ่มด้านการเกษตร มีพฤติกรรมการออมที่ดี และมีแหล่งชลประทานหรือแหล่งน้ำในพื้นที่เพาะปลูก มีโอกาสในการปรับตัวต่อผลจากความแปรปรวนนี้มากขึ้น แนวทางการปรับตัวผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขึ้นอยู่กับการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านอุตุนิยมวิทยาที่แม่นยำโดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของฤดูฝน เพื่อการปรับแผนการผลิตและการเก็บเกี่ยวให้สอดคล้องกับภูมิอากาศที่มีความแปรปรวน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2560. ข้อมูลปริมารน้ำฝนและอุณหภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่. https://www.tmd.go.th/province.php?id=2. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560.กรมอุตุนิยมวิทยา. 2560. ข้อมูลปริมารน้ำฝนและอุณหภูมิอากาศจังหวัดนครราชสีมา. https://www.tmd.go.th/province.php?id=20. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560.

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2560. ข้อมูลปริมารน้ำฝนและอุณหภูมิอากาศจังหวัดสระบุรี. https://www.tmd.go.th/province.php?id=44. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560.กรุงเทพธุรกิจ. 2560. ปัญหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์... อย่ารอรัฐ...ทุกฝ่ายร่วมมือ***. http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/644056 ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560.

กัมปนาท วิจิตรศรีกมล. 2556. ห้าทศวรรษของการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยและการก้าวต่อไปเพื่อรองรับกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2551. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2560. ข้าวโพด : ความสำคัญทางเศรษฐกิจของข้าวโพด. https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=15990 ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. ข้อมูลการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. http://www.oae.go.th. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560.

Thaigreenagro. 2560. ความมั่นคงทางอาหารกับภาวะโลกร้อน. http://www.naewna.com/local/219409. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560.

Intergovernmental Panel on Climate Change. Climate Change 2007: Synthesis Report IPCC Fourth Assessment (AR4). www.ipcc.ch, 20 March 2009. Accessed 1 Feb. 2017.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Smit, B., Pilifosova, O., 2001. Adaptation to Climate Change in the Context of Sustainable Development and Equity. Chapter 18 in Climate Change 2001: Impacts, Adaptation, and Vulnerability Contribution of Working Group II to the Third Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change. Cambridge University Press, Cambridge, UK.

Swanson, D., and H. David Venema. 2007. “Indicators of Adaptive Capacity to Climate Change for Agriculture in the Prairie Region of Canada”. International Institute for Sustainable Development (IISD) Working Paper.