การรับรู้และความพึงพอใจของเกษตรกรต่อคุณลักษณะวิธีการเก็บเกี่ยวอ้อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

จุฑามาศ เลิศอยู่สุข
สุวรรณา ประณีตวตกุล
ประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์

บทคัดย่อ

การเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยวส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของอ้อย และสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะและแรงจูงใจของเกษตรกรต่อการตัดสินใจเลือกวิธีการเก็บเกี่ยวอ้อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 300 ตัวอย่าง วิเคราะห์โดยวิธีแบบจำลองทางเลือก (Choice Modelling) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรให้ความสำคัญกับลักษณะพันธุ์อ้อยกาบใบน้อย ลำต้นอ้อยไม่หักล้มง่าย วิธีการเก็บเกี่ยวอ้อยสดโดยรถตัดและแรงงานคน และราคาขายผลผลิตอ้อย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรได้รับความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านพันธุ์อ้อยที่ลำต้นไม่หักล้มง่าย เป็นคุณลักษณะที่เกษตรกรให้ความสำคัญมากที่สุด ดังนั้นภาครัฐและสำนักคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ควรสนับสนุนงานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธ์อ้อยอย่างต่อเนื่อง และควรบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายควบคู่ไปกับมาตรการแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และยกเลิกการเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยวได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ชัยวัฒน์ โพธิ์ทอง และ ปาจรีย์ ทองสนิท. 2556. ผลของการเผาอ้อยต่อคุณภาพอากาศและสมบัติของอ้อย.วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร. 7(1): 8-16.
ปรีชา พราหมณีย์. 2559. การศึกษาระยะแถวปลูกอ้อยที่รัฐหลุยส์เซียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/a7oEo3. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560.
ประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์. 2551. รายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อย. นำเสนอต่อ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
พูลประเสริฐ ปิยะอนันต์, บพิตร ตั้งวงศ์กิจ และนิติ สายจันทร์. 2540. การศึกษาเปรียบเทียบการเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยแรงงานคนและเครื่องจักรในจังหวัดกำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ภัทรา เพ่งธรรมกีรติ. 2552. การศึกษาติดตามการเจรจาในเวทีการเจรจาเรื่องโลกร้อนที่เกี่ยวโยงกับภาคการเกษตรและนัยสำคัญต่อประเทศไทย. รายงานฉบับสมบูรณ์. สัญญาเลขที่ PDG5230005. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ.
มนต์ชัย หน่อสุวรรณ. 2549. หยุดเผาอ้อย หยุดทำลายสิ่งแวดล้อม. แหล่งข้อมูล:http:www.ocsf.or.th/Article/art-2.pdf. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2559.
วัลลิภา สุชาโต, วัฒนศักดิ์ ชมภูนิช, พูนศักดิ์ ดิษฐ์กระจัน และธวัชชัย ศรีวรนาถ. 2538. การปลูกอ้อยทั้งลำแบบไม่ลอกกาบใบ, น. 150-155. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2538 อ้อย เล่ม 1ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
วีระพล พลรักดี. 2560. ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชไร่. สัมภาษณ์เมื่อ 5 มกราคม 2560.สรายุทธ แจ่มจิราศัย. 2558. พฤติกรรมการบริโภคและการตัดสินใจซื้อผักสลัดปลอดภัยของประชาชนเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีผักไฮโดรโปนิกส์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สันติ แสงเลิศไสว. 2549. การประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อพืชผักปลอดภัย ตราดอยคำ ในเขตกรุงเทพมหานคร: วิธีแบบจำลองทางเลือก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุวรรณา ชาวบ้านเกาะ. 2545. มูลค่าความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในผัก: วิธีแบบจำลองทางเลือก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุทธิพล แซ่ลี้. 2552. การประเมินมูลค่าคุณลักษณะประจำพันธุ์ข้าวลูกผสมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2551. สำนักงานสิ่งแวดล้อมบราซิล ประกาศห้ามเผาอ้อยทุกพื้นที่ในรัฐเซาเปาโล. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/54mYgy. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2559.สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2559. กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นประจำปี 2559/60. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/8tv94e. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560.
อัจฉรา อุทโยภาศ. 2559. งัด 8 กฎเหล็กแก้ปัญหาเผาอ้อย หวั่นเจอผลกระทบในระยะยาว. คมชัดลึก วันที่ 19 กรกฎาคม 2559. น. 6.อุดม พูลเกษ. 2559. ผู้เชี่ยวชาญด้านอ้อย. สัมภาษณ์เมื่อ 18 ตุลาคม 2559.
โอภาส สุขหวาน. 2551. ภาวะโลกร้อน (Global Warming). วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา. 2(1): 6-17
Champ, P. A., K. J. Boyle, and T. C. Brown. 2002. The Economics of Non-Market Good and Resources. Kluwer Academic Publishers, Dordecht/Boston/ London.Bateman, I.J. et al., 2002. Economic Valuation with Stated Preference Techniques. Edward Elgar, UK.
Boehlje, M.D., and V.R. Eidman. 1984. Farm Management. John Wiley & Sons. New York.
Rose, J. M., and M. J. Bliemer. 2013. Sample size requirements for stated choice experiments.Transportation. 40: 1021–1041. Cited In: Orme, B. 2010. Sample Size Issues for Conjoint Analysis Studies, Sawtooth Software Technical Paper, Sequim.
Orme, B. 2010. Sample Size Issues for Conjoint Analysis Studies, Sawtooth Software Technical Paper, Sequim. Cited In: Rose, J. M. and M. J. Bliemer. 2013. Sample size requirements for stated choice experiments. Transportation. 40: 1021–1041.
World Economic Forum. 2016. The Global Risks Landscape 2016. Available: https://goo.gl/6Db1mg. Accessed Aug. 10, 2016.