การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนประชามงคล อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

สุดารัตน์ สุดจินดา
สาวิตรี รังสิภัทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาด้านพื้นฐานส่วนบุคคล ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเปิดรับข่าวสารด้านการเกษตร ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร และด้านการเป็นสมาชิกกลุ่ม 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกลุ่ม 3) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกลุ่ม จำแนกตามด้านพื้นฐานส่วนบุคคล ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเปิดรับข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน และด้านการเป็นสมาชิกกลุ่ม 4) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร กลุ่มประชากร คือ สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนประชามงคล อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 40 คน ทำการวิจัยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2559 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกยุวเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 57.5) ระดับการศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ร้อยละ 72.5) จำนวนแรงงานภาคการเกษตร 1-5 คน (ร้อยละ 62.5) ได้รับข่าวสารด้านการเกษตรจากการฝึกอบรม (ร้อยละ 87.5) จากโทรทัศน์ (ร้อยละ 72.5) ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่มระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 0.85) มีอายุการเป็นสมาชิกกลุ่ม 1 ปี (ร้อยละ 70) เหตุผลที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพราะต้องการความรู้ด้านการเกษตร (ร้อยละ 60) มีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลุ่มในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.84) พบการมีส่วนร่วมในระดับมากจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ การเปิดรับข่าวสารด้านการเกษตร ความรู้และการเป็นสมาชิกกลุ่ม พบปัญหาไม่มีส่วนร่วมในการคิดหาสาเหตุและร่วมกันแก้ไขปัญหา (ร้อยละ 50) ข้อเสนอแนะ ต้องการให้ศูนย์ส่งเสริมเยาวชนเกษตรอาเซียน จังหวัดกาญจนบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร มาเผยแพร่ ความรู้ด้านการเกษตรให้กับกลุ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2554. คู่มือการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกร (สำหรับเจ้าหน้าที่). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2557. คู่มือการปฏิบัติงานโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/iG1vYd. ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2559.
ณภัทร ก๋านนท์. 2555. การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน กรณีศึกษากลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านบุ่งคล้า ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
ธัญลักษณ์ มณีวรรณ. 2557. การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
โรงเรียนประชามงคล. 2559. เอกสารประกอบการตัดสินกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่นระดับเขต ปี 2559. โรงเรียนประชามงคล. (อัดสำเนา)วีระชัย เข็มวงษ์. 2546. ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความต้องการประกอบอาชีพของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2558. สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558). แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/GCfoyu. ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2558.
อรนิภา สีคุณน้ำเที่ยง และชัยชาญ วงศ์สามัญ. 2560. แรงจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตรในอนาคตของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่นในจังหวัดอุดรธานี. แก่นเกษตร. 45 ฉบับพิเศษ 1: 1497-1502
Haas, B.E., C.C. Mincemoyer, and D.F. Perkins. 2015. The effects of age, gender, and 4-H involvement on life skill development. J. of Extension. 53(3): 15p.
Kock, T., C. Haynes, and J. Smith. 2015. A year after it started: The benefits of the Iraqi 4-H program-a view from the youth, parents, and volunteer leaders of the Dar Al salaam 4-H club. J. International Agricultural and Extension Education. 22: 52-61
Lee, A.R., and S, J. Horsley. 2017. The role of social media on positive youth development: An analysis of 4-H Facebook page and 4-H’ers’ positive development. Children and Youth Services Review. 77: 127-138