ความแปรปรวนของปริมาณเซซามินและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของงา 22 พันธุ์

Main Article Content

อิทธิพล ขึมภูเขียว
ปริญดา แข็งขัน

บทคัดย่อ

การศึกษาความแปรปรวนของปริมาณเซซามินและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันในแหล่งพันธุกรรมงาเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการปรับปรุงพันธุ์งาเพื่อเพิ่มสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณเซซามินและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของงา 22 พันธุ์/สายพันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 22 พันธุ์/สายพันธุ์ 4 ซ้ำ ทำการวิเคราะห์ปริมาณเซซามินด้วย HPLC และทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันด้วย DPPH assay ผลการทดลองพบว่าพันธุ์งาที่ศึกษามีปริมาณเซซามินและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤ 0.01) ปริมาณเซซามินของงา 22 พันธุ์/สายพันธุ์มีค่าระหว่าง 1.08 – 5.01 มก./ก. พบว่างาพันธุ์ขาวพื้นเมืองลาวมีปริมาณเซซามินมากที่สุด (5.01 มก./ก.) รองลงมาคือพันธุ์ C-plus 1 มข. 1 CM-53 และ WL9 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตามสีของเมล็ด พบว่างาเมล็ดสีขาวมีปริมาณเซซามินมากกว่าเมล็ดสีดำและแดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤ 0.01) สำหรับฤทธิ์ต้านออกซิเดชันพบว่า งาพันธุ์ มข 2 มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันได้ดีที่สุด (IC50 = 24.00 มก./มล.) แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับสายพันธุ์ WL9 ขาวพื้นเมืองลาว มก 18 และมหาสารคาม 60 นอกจากนี้พบว่างาเมล็ดสีแดงมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันได้น้อยกว่างาดำและงาขาว ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงพันธุ์งาที่มีศักยภาพในลักษณะปริมาณเซซามินและฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งทางด้านอาหาร เภสัชกรรม และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง หรือเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการปรับปรุงพันธุ์งาเพื่อเพิ่มปริมาณเซซามินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เกสรี กลิ่นสุคนธ์, อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ, ประภัสสร รักถาวร และลลิตา คชารัตน์. 2558. การประเมินคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อแบคทีเรียของพืชสมุนไพรไทยบางชนิด. น.1077-1084. ใน: ประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 3-6 กุมภาพันธ์ 2558. กรุงเทพฯ.
นาถธิดา วีระปรียากูร นงนุชเศรษเสถียร นฤมล ลีลายุวัฒน์ ชาตรี เศรษฐเสถียร นันทรัตน์ โฆมานะสิน ผดุงขวัญ จิตโรภาส เทวัญ สุวานิช และภัทรพงศ์ มกรเวช. 2551. การเตรียมผลิตภัณฑ์จากกากงาในการป้ องกันโรคทางระบบหลอดเลือดและหัวใจ (ปีที่ 2). รายงานวิจัยทุนสนับสนุนงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
นิอร ชุมศรี. 2553. การใช้ประโยชน์สารสกัดกากงากำจัดไขมันเป็นสารต้านออกซิเดชันในน้ำมันบริโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพ.
บังอร ศรีพานิชกุลชัย, นาถธิดา วีระปรียากูร, และแคทรียา สุทธานุช. 2546. ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันในเมล็ดงา กากงา และน้ำมันงาที่ได้จากกระบวนการบีบอัดเย็น. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ประวิทย์ สันติวัฒนา และจิตตินันท์ ปานประไพ. 2559. การเปรียบเทียบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม มะเขือเทศ และงาดำ. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์. 15: 1-13.
ประสาร สวัสดิ์ซิตัง, ปวีณา พงษ์ดนตรี และประสิทธิ์ใจศิล. 2546. การศึกษาความสามารถในการต้านการเกิดออกซิเดชันของสารสกัดจากเมล็ดงา. น. 33-39. ใน: ประชุมวิชาการงา ทานตะวัน ละหุ่ง และคำฝอยแห่งชาติ ครั้งที่ 3 11-12 ธันวาคม 2546. ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
ประสาร สวัสดิ์ซิตัง, ปวีณา พงษ์ดนตรี, และประสิทธิ์ใจศิล. 2548. การศึกษาความสามารถในการต้านการเกิดออกซิเดชันของสารสกัดจากเมล็ดงา. แก่นเกษตร. 32: 164-171.
ไพศาล เหล่าสุวรรณ. 2535. สถิติสำหรับการวิจัยทางการเกษตร. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.มนตรา ศรีษะแย้ม, นาถธิดา วีระปรียากูร, และพนมพร ศรีบัวรินทร์. 2557. ฤทธิ์ต้านออกชิเดชันในหลอดทดลองของเมล็ดงาขาว ดำ และ แดง. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 10: 136-146.
ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. 2547. เซซามินกับสุขภาพ (Sesamin and health). วารสารโภชนบำบัด. 15: 98-105.
โสภิตา สมคิด, สายสุนีย์ รังสิปิยกุล, กัลยารัตน์ หมื่นวณิชกูล, อรรณพ กสิวิวัฒน์, อ้อยทิน จันทร์เมือง, อานนท์ มลิพันธ์, เบญจมาศ คำสืบ และนฤทัย วรสถิตย์. 2548. ปริมาณน้ำมัน ชนิดของกรดไขมัน และปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในงาสายพันธุ์ต่างๆ เมื่อปลูกในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน. ใน: การประชุมวิชาการ งา ทานตะวัน ละหุ่ง และคำฝอยแห่งชาติ ครั้งที่ 4. 16-18 พฤศจิกายน 2548. โรงแรมเนวาด้า แกรนด์, อุบลราชธานี.
อภิชาติ ผลเกิด. 2545. เทคโนโลยีการปลูกงา. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.อิทธิพล ขึมภูเขียว, ปริญดา แข็งขัน, เอกรินทร์ สารีพัว และ อรวรรณ รักสงฆ์. 2560. อัตราพันธุกรรมและสหสัมพันธ์ของลักษณะทางการเกษตรและผลผลิตของงา (Sesamum indicum L.). วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 4: รอการตีพิมพ์.
Fukuda, Y. 1990. Food chemical studies on antioxidant in sesame seed. Nippon Shokushi Kogyo Gakkaishi. 37: 484-492.
Fukuda, Y., T. Osawa, S. Kawagishi and M. Namiki. 1988. Comparison of contents of sesamolin and lignin antioxidants in sesame seed cultivated in Japan. Nippon Shokuhin Kogyo Gakkaishi. 35: 483-486.
Lee, J.Y., Y.S. Lee and E.C. Choe. 2008. Effects of sesamol, sesamin and sesamolin extracted from roasted sesame oil on the thermal oxidation of methyl linoleate. LWT- Food Science and Technology. 42: 1871-1875.
Osawa, T., M. Nagata, M. Namiki and Y. Fuguda. 1985. Sesamolinal, a novel antioxidant isolated from sesame seed. Agric. Biol. Chem. 49: 33-51.
Pathank, N., K.A. Rai, S. Saha, S. Walia, K.S. Sen and V.K. Bhat. 2014. Quantitative dissection of antioxidative bioactive components in cultivate and wild sesame germplasm reveals potentially exploitable wide genetic variability. Crop Sci. Biotechnol. 17: 127-139.
Penalvo, J.L., S.M. Heinonen, A.M. Aura and H. Adlercreutz. 2005. Dietary sesamin is converted to enterolactone in humans. J. Nutr. 135: 1056-1062.
Pietinen, P., K. Stumpf, S. Mannisto, V. Kataja, M. Uusitupa and H. Adlercreutz. 2001. Serum enterolactone and risk of breast cancer: a case-control study in eastern Finland. Cancer Epidemiol. Biomark. Prev. 10: 339-344.
Rangkadilok, N., N., Pholphana, C. Mahidol., W. Wongyai, K. Saensooksree, S. Nookabkaew and J. Satayavivad. 2010. Variation of sesamin, sesamolin and tocopherols in sesame (Sesamum indicum L.) seeds and oil products in Thailand. Food Chemistry. 122: 724 -730.
Shyu, Y.S. and L.S. Hwang. 2002. Antioxidative activity of the crude extract of lignin glycosides from unroasted Burma black sesame meal. Food Research International 35: 357-365.
Tashiro, T., Y. Fukuda, T. Osawa and M. Kamiki. 1990. Oil and minor components of sesame (Sesamum indicum L.) strains. J.Am. Oil Chem. Soc. 67: 508-511.
Vanharanta, M., S. Voutilainen, T.H. Rissanen, H. Adlercreutz and J.T. Salonen. 2003. Risk of cardiovascular disease-related and all-cause death according to serum concentrations of enterolactone: Kuopio Ischaemic Heart Disease Risk Factor Study. Arch. Intern. Med. 163: 1099–1104.
Wang, L., Y. Zhang, P. Li, X. Wang, W. Zhang, W. Wei and X. Zhang. 2012. HPLC Analysis of seed sesamin and sesamolin variation in a sesame germplasm collection in China. J. Am. Oil. Chem. Soc. 89: 1011-1020.
Wang, L., Y. Zhang, P. Li, W. Zhang, X. Wang, X. Qi and X. Zhang. 2013. Variation of sesamin and sesamolin contents in sesame cultivars from China. Pak. J. Bot. 45: 177-182.
Wu, X., G.R. Beecher, J.M. Holden and D.B. Haytowitz. 2004. Lipophilic and hydrophilic antioxidant capacities of common foods in the United States. J. Agric. Food Chem. 52: 4026-4037.
Yasumoto, S. and M. Katsuta. 2006. Breeding a high-lignan-content sesame cultivar in the prospect of promoting metabolic functionality. JARQ. 40: 123-129.