สภาพการเลี้ยงและการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพในจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่

Main Article Content

กมลทิพย์ สอนศิริ
พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา
สุรีย์พร แสงวงศ์
ภูวิศสรณ์ ภูมิสรณคมณ์
ชยุต ดงปาลีธรรม์

บทคัดย่อ

การผลิตเนื้อโคให้ได้คุณภาพนับเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างผลสัมฤทธิ์และผลกำไรให้แก่เกษตรกรหรือสหกรณ์โคขุน ดังนั้นในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเลี้ยงและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการผลิตโคขุนคุณภาพดีในจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา และเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์โคเนื้อคุณภาพดี จังหวัดแพร่ จำนวน 64 ราย ที่เลี้ยงและส่งโคขุนเข้าโรงฆ่าในนามสหกรณ์ ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2560 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์
กึ่งโครงสร้างและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย โดยแบ่งกรณีศึกษาเป็น 2 กรณี การศึกษาที่ 1 พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 51-60 ปี ร้อยละ 38.73 จบระดับประถมศึกษาร้อยละ 44.60 เลี้ยงโคขุนเป็นอาชีพเสริมร้อยละ 80.98 โดยซื้อโคขุนจากตลาดนัดโค-กระบือร้อยละ 100 เพื่อนำมาเลี้ยงขุน โดยพันธุ์โคขุนที่นำมาเลี้ยง คือ โคลูกผสมชาร์โรเลส์ และโคลูกผสมแองกัส เกษตรกรเลี้ยงเฉพาะโคขุนอย่างเดียวเฉลี่ย จำนวน 1-3 ตัวต่อฟาร์มร้อยละ 55.78 ทำการตอนโคที่นำมาเลี้ยงขุนร้อยละ 100 และใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงเฉลี่ย 12 เดือนร้อยละ 66.86 รูปแบบการเลี้ยงโคขุนเป็นแบบขังคอกมีการให้อาหารข้นสำเร็จรูป และมีการเสริมอาหารหยาบ เช่น เปลือกข้าวโพด ฟางข้าว หญ้าเนเปียร์ และหญ้ารูซี่ จากการศึกษาลักษณะสีขนของโคขุนลูกชาร์โรเลส์ส่วนใหญ่จะมีลักษณะขนสีขาวสลับน้ำตาลอ่อน  การศึกษาที่ 2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า จุดแข็ง คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนมีการรวมกลุ่มกันทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ จุดอ่อน คือ เกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุมากอาจมีข้อจำกัดในเรื่องการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่เพื่อนำมาพัฒนาการผลิตโคขุนคุณภาพ โอกาส คือ เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ฯ ทำให้ได้รับการสนับสนุนการจัดหาแหล่งเงินทุนและการบริการวิชาการจากภาครัฐ อุปสรรค คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนเป็นรายใหม่ยังขาดประสบการณ์ด้านการปรับปรุงพันธุ์ การจัดการฟาร์ม และการตลาด การเลี้ยงโคขุนมีต้นทุนสูงและใช้ระยะเวลาคืนทุนนาน และการเปิดเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) ทำให้เนื้อโคคุณภาพจากต่างประเทศเข้ามาเป็นคู่แข่งของเกษตรกร สรุปได้ว่าการศึกษาสภาพการเลี้ยงและการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับกำหนดแนวทางช่วยยกระดับอาชีพการเลี้ยงโคขุนให้กับเกษตรกรและพัฒนาสู่ความยั่งยืนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จุฑารัตน์ นิยมปัทมะ. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงโคขุนคุณภาพดีของสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

จุฑารัตน์ เศรษฐกุล, ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ, กันยา ตันติวิสุทธิกุล และธนนันท์ ศุภกิจจานนท์. 2548. การผลิตเนื้อจากลูกโคผสมเลือดบราห์มันที่เลี้ยงด้วยหญ้าเป็นอาหารหยาบคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อ. น 288-295. ใน: การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 43 วันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 2548. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.

ชลธิชา งิ้วสีดา. 2555. การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินในการลงทุนเลี้ยงโคขุนของสมาชิกสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

ณรกมล เลาห์รอดพันธ์. 2550. ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตโคเนื้อที่มีคุณภาพในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

ณัฐชัย โคตรปัญญา และพัชรี สุริยะ. 2559. การจัดการธุรกิจโคขุน กรณีศึกษาสหกรณ์การเกษตรหนองสูง จำกัด (สาขาปศุสัตว์) อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. น. 365-374. ใน: การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 4 วันที่ 26 สิงหาคม 2559. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ.

ปฏิมา เพ็ชรประยูร. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับโคเนื้อโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสนของเกษตรกรรายย่อยในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

ประพัฒน์พงษ์ มงคลอินทร์. 2548. การจัดการธุรกิจโคขุนของสมาชิกสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด : กรณีศึกษากลุ่มสมาชิกสหกรณ์ตำบลโนนหอม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

เรืองฤทธิ์ หารมนตรี. 2548. การจัดการธุรกิจโคขุนของสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

วรรณนภา ส่งเสริม. 2548. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินของการลงทุนททำฟาร์มเลี้ยงโคขุนของ สมาชิกสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคคำ จํากัด ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต .มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ศูนย์สารสนเทศกรมปศุสัตว์. 2561. ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อรายภาคปีงบประมาณ 2560. แหล่งข้อมูล: http://ict.dld.go.th/th2/images/stories/stat_web/yearly/2560/new/T2-1.pdf. ค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2562.

ศูนย์สารสนเทศกรมปศุสัตว์. 2562. ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อรายภาคปีงบประมาณ 2561. แหล่งข้อมูล: http://ict.dld.go.th/webnew/images/stories/stat_web/yearly/2561/land/T2-1.pdf. ค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2562.

สุชน ตั้งทวีพิพัฒน์. 2555. การกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ออกจากก๊าซชีวภาพสำหรับชุมชน. แก่นเกษตร. 40 ฉบับพิเศษ 2: 201-204.

สุรีย์พร แสงวงศ์, วีรนุช ทันนิธิ, จักรกฤษ วิชาพร และพยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา. 2563. การศึกษาสภาพการเลี้ยง การประเมินปัญหาและโอกาสในการผลิตโคเนื้อคุณภาพของเกษตรกรจังหวัดแพร่. วารสารเกษตรพระจอมเกล้าปีที่ 38 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน).

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2562. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2562/agri_situation2562.pdf. ค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2562.

AOAC. 2006. Chapter 4: Animal feed. In: Official methods of analysis. 18th ed. AOAC International, Arlington, VI, USA.

Boyce, C. and P. Naele. 2006. Conducting in depth interviews: a guide for designing and conducting in- depth interviews for evaluation input. Pathfinder international. Watertown, USA.

Falco, K., K. Edney, V. Marriott, and C. Stette. 2001. Breeds of beef cattle. Available: http://www.appohigh.org/ourpages/auto/2010/12/8/52590465/breedsofbeef.pdf. Accessed Dec. 3, 2018.