พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ปริชาติ แสงคำเฉลียง
สมสมร แก้วบริสุทธิ์
สจี กัณหาเรียง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น ได้รวบรวมข้อมูลผู้บริโภคจำนวน 336 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตาและสุ่มแบบตามสะดวก รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บริโภคแบบเผชิญหน้าระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบแบบพรรณนาและการทดสอบไควสแควร์ จากผลการศึกษาพบว่ามีผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรคิดเป็นร้อยละ 94.60 ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรจำนวน 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรประมาณ 101-200 บาทต่อครั้ง (57.20%) สถานที่ที่นิยมซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรคือตลาดสด (36.20%) และไฮเปอร์มาเก็ต (21.10%) โดยมีปริมาณการซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรสดสไลด์มีปริมาณการซื้อเฉลี่ยต่อครั้งจำนวน 995.52 กรัม ผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแช่แข็งมีปริมาณการซื้อเฉลี่ยต่อครั้งจำนวน 1,219.18 กรัม และผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรปรุงสำเร็จมีปริมาณการซื้อเฉลี่ยต่อครั้งจำนวน 515.32 กรัม นอกจากนี้ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค คือ 1) ผลิตภัณฑ์มีมาตรฐานและความปลอดภัยในกระบวนการผลิต 2) ผลิตภัณฑ์มีความสดอยู่เสมอ 3) มีบรรจุภัณฑ์ที่ปิดมิดชิดได้มาตรฐาน 4) มีการแสดงวันหมดอายุที่ชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์ 5) ราคาเหมาะสมกับคุณภาพสินค้า 6) มีการแสดงป้ายราคาที่ชัดเจน และ 7) สถานที่จัดจำหน่ายเข้าถึงได้ง่ายถูกหลักสุขอนามัยและสะอาด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์, ประสพชัย พสุนนท์, และธีระวัฒน์ จันทึก. 2561. การวิเคราะห์องประกอบพฤติกรรมและปัจจัยในการเลือกซื้ออาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(27): 56-69.

กรมปศุสัตว์. 2560. ข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ในประเทศไทย. 2560. กลุ่มสารสนเทศและข้อมูลสถิติ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แหล่งข้อมมูล: www.dld.go.th. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2560.

กรมปศุสัตว์. 2562. ยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ พ.ศ. 2561 – 2565 กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. แหล่งข้อมมูล: http://www.dld.go.th/th /images/stories/ about_ us/organization_chart/ 2561/strategy2561_2565.pdf. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2561.

กระทรวงพาณิชย์. 2562. ราคา: ราคาเนื้อสัตว์-ค้าปลีก: ศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศ ณ จุดเดียวของกระทรวงพาณิชย์. แหล่งข้อมมูล: https://www.moc.go.th/index.php/rice-iframe-2.html. ค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.

จิราพร เรืองทวีศิลป์. 2557. ธุรกิจสุกร. สำนักวิจัยธุรกิจ สายงานบริหารความเสี่ยง. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน). แหล่งข้อมมูล: https://www.lhbank.co.th/Files/economic/economic_20161206154257.pdf. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2561.

ดำรง กิตติชัยศรี. 2555. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากสุกรพื้นเมืองเป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 4(1): 25-35.

ประสิทธิชัย นรากรณ์, ระพีพรรณ พิริยะกุล, และวิไลวรรณ ทองประยูร. 2555. ปัจจัยที่กำหนดอุปทานและอุปสงค์เนื้อสุกรในประเทศไทย. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 5(1): 63-70.

เยาวรัตน์ ศรีวรานนท์. 2554. ความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่นที่มีต่อเนื้อสุกรอินทรีย์. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ. 4(7): 1-24.

สำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่น. 2561. บริการสารสนเทศสถิติ ข้อมูลสถิติจากการสำมะโน/สำรวจ ปี 2558. แหล่งข้อมมูล: Khonkaen.nso.go.th/index.php. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. 2560. แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (พ.ศ. 2561-2564). แหล่งข้อมมูล: http://www.web.moe.go.th/reo12/index.php/2017-10-12-09-02-45/76-2017-11-17-08-23-19. ค้นเมื่อ 2พฤษภาคม 2560.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2562. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2562/agri_situation2562.pdf. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562.

Bredahl, L., K.G. Grunert, and C. Fertin. 1998. Relating consumer perceptions of pork quality to physical product characteristics. Food Qual. Prefer. 9 (4): 273-281.

Bryhni, E.A., D.V. Byrne, M. Rodbotten, C.C. Magnussen, H. Agerhem, M Johanssoon, P. Lea, and M. Martens. 2002.Consumer perceptions of pork in Denmark, Norway, and Sweden. Food Qual. Prefer. 13 (5): 257-266.

David, U. and F. Kenneth. 2009. Quality certification vs. product traceability: consumer preferences for informational attributes of pork in Georgia. Food Policy. 34: 305-310.

Grunert, K.G., W. I. Sonntag, V. Glanz-Chanos, and S. Forum. 2018. Consumer interest in environmental impact, safety, health and animal welfare aspects of modern pig production: result of a cross-national choice experiment. Meat Sci. 137: 123-129.

Kanis, E., A. B. F. Groen, and K. H. De Greef. 2002. Societal concerns about pork and pork production and their relationships to the production system. J. Agri. Environ. Ethics. 16: 137-162.

Kotler, P. and K. Keller. 2012. Marketing Management. 14th Edition. Pearson Education, Inc., New York.
Linhai, W., W. Shuxian, Z. Dian, H. Wuyang, and W. Hongsha. 2015. Chinese consumers’ preferences and willingness to pay for traceable food quality and safety attributes: The case of park. China Econ. Rev. 35: 121-136.

Morkbak, M.R., T. Christensen, and D. Gyrd-Hansen. 2010. Consumer preferences for safety characteristics in pork. Brit. Food J. 112 (7): 775-791.