การตัดสินใจซื้อเนื้อไก่ประดู่หางดำที่ปลอดภัยของผู้บริโภคในจังหวัดแพร่

Main Article Content

นลินี คงสุบรรณ์
วรศิลป์ มาลัยทอง
อนุกูล จันทร์แก้ว
ฑีฆา โยธาภักดี

บทคัดย่อ

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพช่วยลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหาร ซึ่งผู้บริโภคในจังหวัดแพร่ได้เล็งเห็นความสำคัญของอาหารปลอดภัย จึงมีการบริโภคเนื้อไก่พื้นเมืองปลอดภัยด้วยเช่นกัน การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคเนื้อไก่ประดู่หางดำที่ปลอดภัยของผู้บริโภคในจังหวัดแพร่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคในตลาดกลางและตลาดล่าง จำนวน 300 ตัวอย่าง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบจำลองโลจิสติกแบบทวิ พบว่า ตัวแปรอิสระจำนวน 3 ตัว ที่มีอิทธิพลต่อโอกาสของการตัดสินใจซื้อเนื้อไก่ประดู่หางดำปลอดภัยของผู้บริโภคในจังหวัดแพร่ ได้แก่ ระดับการศึกษา (0.0421) ความรู้เรื่องคุณลักษณะของไก่ประดู่หางดำ (0.0411) ซึ่งมีค่าผลกระทบส่วนเพิ่มในเชิงบวก และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน (-0.0448) ซึ่งมีค่าผลกระทบส่วนเพิ่มในเชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นหากต้องการขยายโอกาสของตลาดไก่ประดู่หางดำในจังหวัดแพร่ ควรส่งเสริมให้ผู้บริโภคในจังหวัดแพร่มีความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะและประโยชน์ทางโภชนาการของไก่ประดู่หางดำ ในขณะเดียวกันทางด้านผู้ผลิตก็ควรวางแผนการผลิตไก่ประดู่หางดำปลอดภัยให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในจังหวัดแพร่ และสามารถรองรับการขยายตัวของตลาดไก่ประดู่หางดำในจังหวัดแพร่ในอนาคตได้อย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กระทรวงสาธารณสุข. 2560. จังหวัดน่านพร้อมพัฒนาสู่การเป็นจังหวัดต้นแบบระบบคุณภาพงานอาหารปลอดภัย. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/cNJDWV. ค้นเมื่อ 19 กันยายน 2560.
กระทรวงสาธารณสุข. 2560. สธ.โดย สสอป. ร่วมกับกรมปศุสัตว์เดินหน้าสร้างความเข้มแข็งด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ตลอดห่วงโซ่ ณ จังหวัดเชียงใหม่. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/PPzcJ9. ค้นเมื่อ 19 กันยายน 2560.
กุลกัญญา ณ ป้ อมเพ็ชร์. 2558. ความตั้งใจซื้ออาหารอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ วิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. 2557. พฤติกรรมการบริโภค: อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 5: 255-264.
นิเวศน์ ธรรมะ. 2560. โมเดลสมการโครงสร้างพฤติกรรมการซื้ออาหารอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์. 13: 145-165.
ประทานทิพย์ กระมล. 2557. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์และปลอดสารพิษในตลาดเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่. แก่นเกษตร. 42: 227-234.
พิทวัส เอื้อสังคมเศรษฐ์. 2559. ทัศนคติ ความตั้งใจ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคต่ออาหารเกษตรอินทรีย์. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 38: 58-83.
เยาวรัตน์ ศรีวรานันท์. 2556. ความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่นที่มีต่อเนื้อสุกรอินทรีย์. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ. 4: 1-24.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 2560. โอกาสทำเงินเกาะกระแสอาหารสุขภาพ. K SME Anlysis.
สุภัค ภักดีโต และไกรชิต สุตะเมือง. 2556. แรงจูงใจในการบริโภคข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในวัยทำงานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ. 3: 547-566.
อรนุช อาจประจญ และเบญจมาภรณ์ อิศรเดช. 2558. การรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย. 3: 396-404.
อริสา ศรีชม และประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์. 2559. การรับรู้และทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผักอินทรีย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. น. 115-122. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 5 เรื่องการเกษตรดิจิทอลในพลวัตรของเศรษฐกิจโลก 15 กรกฎาคม 2559. โรงแรมรามาการ์เดน, กรุงเทพมหานคร.
Cochran, W.G. 1963. Sampling Techniques. 2ndEdition. John wiley and Sons, New York. Dumea, A. C. 2012. Factors influencing consumption of organic food in Romania. The USV Annals of Economics and Public Administration. 12: 107-113.
Gunduz, O. and Z. Bayramoglu. 2011. Consumer’s willingness to pay for organic chicken meat in Samsun province of Turkey. Journal of Animal and Veterinary Advances. 10: 334-340.
Higuchi, A. and A. Avadi. 2015. Organic purchasing factors and consumer classification through their preferences in the metropolitan area of Lima, Peru. Agronomía Colombiana. 33: 271-279.
Kalashami, M. K., M. Heydari, and H. Kazerani. 2012. Investigating Consumers’ Willingness to Pay for Organic Green Chicken in Iran (Case Study: Rasht City). International Journal of Agricultural Management & Development. 2: 235-241.
Ozguven, N. 2012. Organic foods motivations factors for consumers. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 62: 661 – 665.
Pamsanam, P., K. Napompech, and S. Suwanmaneepong. 2014. Factors driving Thai consumers’ intention to purchase organic foods. Asian Journal of Scientific Research. 7: 434-446.
Quah, S. H. and A. K. G.Tan. 2010. Consumer purchase decisions of organic food products: an ethnic analysis. Journal of International Consumer Marketing. 22: 47-58.
Saleki, Z. S. and S. M. Seyedsaleki. 2012. The main factors influencing purchase behaviour of organic products in Malaysia. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business. 4: 98-116.
Teng, C. C. and Y. M. Wang. 2015. Decisional factors driving organic food consumption: Generation of consumer purchase intentions. British Food Journal.117: 1066-1081.
Wong, S.S. and M.S. Aini. 2017. Factors influencing purchase intention of organic meat among consumers in Klang Valley, Malaysia. International Food Research Journal. 24: 767-778.
Yotapakdee, T. N. Kongsubun, W. Malaithong and S. S. Trirat. 2015. Opportunity of Free-range Native Chickens for Rural Enterprise Development in Phrae Province. Khon Kaen Agriculture journal. 43(Supplement 2, 2015): 63-66.