ผลของซิงเกิลเซลล์โปรตีนในอาหารปลานิล

Main Article Content

นรธัช ประชุม
สุนีรัตน์ เรืองสมบูรณ์
ปวีณา ทวีกิจการ
บุปผา จงพัฒน์
บัณฑิต ยวงสร้อย

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการใช้ซิงเกิลเซลล์โปรตีนในอาหารปลานิลที่ระดับ 0, 3, 6 และ 9% โดยทำการเลี้ยงปลานิล น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 32.58 กรัม/ตัว ในบ่อคอนกรีตขนาด 0.90 x 0.90 x 1 เมตร ที่ความหนาแน่น 15 ตัว/บ่อ และมีการให้อาหารที่อัตรา 4% ต่อน้ำหนักตัว เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า การเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร การใช้โปรตีนในอาหาร อัตรารอด ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) ส่วนปลานิลที่ได้รับอาหารที่มีระดับซิงเกิลเซลล์โปรตีนที่ 9% มีปริมาณเนื้อสูงที่สุด (41.15±0.58%, P < 0.05) ปริมาณโปรตีนในเนื้อปลานิลกลุ่มที่ได้รับซิงเกิลเซลล์โปรตีนที่ระดับ 6% มีค่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับปลากลุ่มอื่น (P < 0.05) และปริมาณไขมันในปลาทุกกลุ่มการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าซิงเกิลเซลล์โปรตีนสามารถใช้ได้ถึง 9% ในอาหารปลานิล โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต อัตรารอด ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และการใช้โปรตีนในอาหาร และส่งผลให้ปริมาณเนื้อปลานิลเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จุฑามาศ นรชาญ, อรพินท์ จินตสถาพร, ประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ และส่งศรี มหาสวัสดิ์. 2545.การใช้เนื้อหอยเชอรี่บดแห้งทดแทนปลาป่นในอาหารปลานิล. น. 650-657. ใน: รายงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 40 (สาขาสัตว์สัตวแพทยศาสตร์สาขาประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
ธวัช ตันกูล, อรพินท์ จินตสถาพร ,ประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ และฉัตรชัย ไทยทุ่งฉิน. 2554.การเสริมเมทไธโอนีนในอาหารปลานิล (Oreochromis niloticus) ที่มีปลาป่นน้อย. น. 309-316.ใน: รายงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49. (สาขาสัตว์สัตวแพทยศาสตร์สาขาประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
นรธัช ประชุม, สุนีรัตน์ เรืองสมบูรณ์, บุปผา จงพัฒน์, ปวีณา ทวีกิจการ และบัณฑิต ยวงสร้อย. 2560. การทดแทนปลาป่นด้วยเนื้อและกระดูกป่นและกากถั่วเหลืองสกัดน้ำมันชนิดไม่กะเทาะเปลือกในอาหารปลากะพงขาว. แก่นเกษตร 45: 439-444.
รุ่งกานต์ กล้าหาญ, อรพินท์ จินตสถาพร, ประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ, ส่งศรี มหาสวัสดิ์ และศรีน้อย ชุ่มค้า. 2546. ผลของใบกวาวเครือขาวต่อการเจริญเติบโต และระบบสืบพันธุ์ปลานิล, น. 103 – 110. ใน รายงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 41 (สาขาประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
อัจฉรี เรืองเดช, นงนุช เลาหะวิสุทธิ์ และบุปผา จงพัฒน์. 2558. การใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตที่ได้จากเศษเครื่องในปลานิลเพื่อทดแทนการใช้ปลาป่นในอาหารปลาดุกลูกผสม. แก่นเกษตร . 43 ฉบับพิเศษ 1: 603-608.
Adedayo M.R., E.A. Ajiboye, J.K. Akintunde, and A. Odaibo. 2011. Single Cell Proteins: As Nutritional Enhancer. Advances in Applied Science Research. 2: 396-409
Association of Official Analytical Chemists (AOAC). 1993. Office methods and Recommended Practices, 4th edn. Vol. 11, 568 pp. Champaign, IL, USA.
Boonyaratpalin, M., P. Suraneiranat, and T. Tunpibal. 1998. Replacement of fish meal with various types of soybean meal products in diets for the Asian sea bass, Lates calcarifer. Aquaculture. 161: 67-78.
National Research Council (NRC). 2011. Nutrient Requirements of Fish and Shrimp. National. Acad. Press, Washington, DC.
Olvera-Novoa, M. A., C. A. Martinez-Palacios, and L. Olivera-Castillo. 2002. Utilization of torula yeast (Candida utilis) as a protein source in diets for tilapia (Oreochromis mossambicus) fry. Aquaculture Nutrition. 8: 257–264.
Prachom, N., Y. Haga, and S. Satoh. 2013. Impact of dietary high protein distillers dried grains on amino acid utilization, growth response, nutritional health status and waste output in juvenile rainbow trout (Oncorhynchus mykiss). Aquaculture Nutrition. 19: 62-71.
Tacon, A. G. J., and M. Metian. 2008. Global overview on the use of fish meal and fish oil in industrially compounded aquafeeds: Trends and future prospects. Aquaculture. 285: 146-158.