การทำลายของเพลี้ยแป้งสีชมพู pink mealybug, Phenacoccus manihoti ต่อระดับความเสียหายของมันสำปะหลังสี่พันธุ์

Main Article Content

นุชรีย์ ศิริ
กชมน วงศ์ใหญ่
แพรวพรรณ สร้อยสุวรรณ
กมลทิพย์ ใจขาล

บทคัดย่อ

เพลี้ยแป้งสีชมพู pink mealybug, Phenacoccus manihoti เป็นศัตรูที่สำคัญของมันสำปะหลัง Manihot esculenta (L.) Crantz การดูดกินบนยอดมันสำปะหลังทำให้ยอดหงิก ซึ่งแบ่งระดับอาการหงิกที่ยอดมันสำปะหลังจากเพลี้ยแป้งสีชมพูได้ 5 ระดับ (0-4) ความแตกต่างของระดับความเสียหายและพัฒนาการของเพลี้ยแป้งสีชมพูนั้นขึ้นอยู่กับพันธุ์มันสำปะหลังด้วย การศึกษาเปรียบเทียบพันธุ์มันสำปะหลังต่อปริมาณเพลี้ยแป้งและระดับหงิกในมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72, ระยอง 9, เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60 โดยปล่อยเพลี้ยแป้งสีชมพูเพศเมียตัวเต็มวัย 5 ตัว/ต้น บนต้นมันสำปะหลังอายุ 1 เดือนในโรงเรือนทดลอง หลังการทดสอบเป็นเวลา 8 สัปดาห์พบปริมาณเพลี้ยแป้งสีชมพูและระดับหงิกสูงสุดในสายพันธุ์ระยอง 72 ตามด้วยระยอง 9, เกษตรศาสตร์ 50 และ ห้วยบง 60 โดยพันธุ์ระยอง 72, ระยอง 9 และเกษตรศาสตร์ 50 มีอาการหงิกระดับ 4 พันธุ์ห้วยบง 60 มีอาการหงิก ระดับ 3 การศึกษาปริมาณและรอยของมูลหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา โดยวิธีวัดจำนวนมูลหวาน (Honeydew excretions) พันธุ์ที่มีจำนวนมูลหวานมากที่สุด คือพันธุ์ระยอง 72 รองลงมา คือ ระยอง 9 เกษตรศาสตร์ 50 และ ห้วยบง 60 การทดสอบการเคลื่อนที่ของเพลี้ยแป้งสีชมพูวัย 1 หลังจากฟักจากถุงไข่จากตำแหน่งใบที่ 4 (ใบล่าง) สู่ใบที่ 1 (ยอด) ภายในเวลา 7-8 วัน เร็วที่สุดในสายพันธุ์ระยอง 72 ตามด้วยห้วยบง 60 การเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งแป้งสีชมพู ยังมีผลกระทบต่อผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลัง ทำให้ผลผลิตของระยอง 72 และห้วยบง 60 น้อยกว่าเกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 9 โดยเปอร์เซ็นต์แป้งของระยอง 72 ต่ำกว่าพันธุ์อื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2553. รายงานสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง. แหล่งข้อมูล:https://goo.gl/3u9Fiq ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2553.
กรมวิชาการเกษตร. 2559. การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/enQatr. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560
ทรงยศ พิสิษฐกุล และ ถนอมจิตร ฤทธิ์มนตรี. 2542. การศึกษาความต้านทานของพันธุ์ข้าวต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens Stal. โดยใช้เทคนิคด้านการสกัดมูลหวานของแมลง Study on the
Resistant Varieties of Rice to Brown Planthopper Nilaparvata lugens Stal. by Using Honey-Dew Excretion of the Insect.การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 37. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2559. มันสำปะหลัง : การผลิตมันสำปะหลังของไทย. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/euPuXV. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560.
ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2559. เนื้อที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/1XuDR3. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560.
Bellotti, A. C., L. Smith, and S. L. Lapointe. 1999. Recent ad vances in cassava pest management. Annu Rev Entomol. 44: 343-370.
Hodgkiss, R. J. 2012. Pests & diseases of succulent plants. Available: https://goo.gl/BHVvEc Accessed Dec. 15, 2012.
Le Rü, B., S, Renard, M.R., Allo, J. Le Lannic, and J. P. Rol land. 1995. Antinnal sensilla and their possible meaning in the host-plant selection behavior of Penacoccus manihoti Matile Fatile Ferrero. Int. J. Insect Morphol. Embryol. 24: 373-389.
Le Rü, B. and M. Tertuliano. 2008. Tolerance of dif ferent host-plants to the cassava mealybug Phe nacoccus manihoti Matile-Ferrero. Available: https://goo.gl/NHQh25. Accessed Dec. 15, 2012.
Pheophanh, S., S. Nucharee, and J. Tasanee. 2013. Comparison on infestation levels of Pink mealybug, Phenacoccus manihoti (Homoptera: Pseudococcidae) on four cassava varieties. KHON KAEN AGR. J. 41: 517-520.
Schulthess, R., J.U. Baumgartner, and H.R. Herren. 1989. Sampling Phenacoccus manihoti in cassava fields in Nigeria. Trop. Pest Managerment. 35: 193-200.
Schoonhoven, L.M., T. Jermy, and J.J.A. Vanloon .1998. Insect-Plant Biology: from Physiology to Evolution, Chapman & Hall Publishers, London.