การยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชและพืชปลูกบางชนิดโดยการใช้ น้ำส้มควันไม้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชก่อนงอก

Main Article Content

กนกทิพย์ ตอเสนา
บรรยง ทุมแสน
พัชริน ส่งศรี
สันติไมตรี ก้อนคำดี

บทคัดย่อ

การควบคุมวัชพืชโดยการใช้สารกำจัดวัชพืชเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด แต่การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีนี้เป็นเวลานาน อาจจะส่งผลให้มีสารกำจัดวัชพืชตกค้างสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหาร ดังนั้นการลดการใช้สารกำจัดวัชพืชจะช่วยลดผลกระทบดังกล่าวข้างต้นได้ แต่การลดปริมาณการใช้สารกำจัดวัชพืชส่งผลให้ประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชลดลง ซึ่งน้ำส้มควันไม้ที่เป็นผลพลอยได้จากการเผาถ่าน มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือเป็นตัวช่วยให้สารกำจัดวัชพืชมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้น้ำส้มควันไม้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก ต่อการเจริญเติบโตของวัชพืชและพืชปลูกบางชนิด โดยทำการทดลอง ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาการวัชพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2560 วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design จำนวน 6 ซ้ำใช้เมล็ดพืชทดสอบ 4 ชนิด ได้แก่ ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว ผักเบี ้ยหิน และหญ้าปากควาย มี 7 กรรมวิธี คือ 1) pendimethalin + imazapic อัตราแนะนำ 2) pendimethalin + imazapic ครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำ 3) pendimethalin + imazapic ครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำ + น้ำส้มควันไม้เจือจาง 1:50 4) pendimethalin + imazapic ครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำ + น้ำส้มควันไม้เจือจาง 1:500 5) น้ำส้มควันไม้เจือจาง 1:50 6) น้ำส้มควันไม้เจือจาง 1:500 และ 7) น้ำเปล่า ผลการทดลองพบว่า การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำร่วมกับน้ำส้มควันไม้เจือจางอัตรา 1:50 และ 1:500 สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของผักเบี้ยหินได้ดี และส่งผลให้การสะสมน้ำหนักแห้งของผักเบี้ยหิน และหญ้าปากควายต่ำ แต่ไม่แตกต่างทางสถิตกับการใช้สารกำจัดวัชพืชเพียงอย่างเดียวทั้งสองอัตรา แสดงให้เห็นว่าน้ำส้มควันไม้สามารถกระตุ้นการงอกของเมล็ดพืชและวัชพืชบางชนิดได้เร็วขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชในการเข้าทำลายได้เร็วขึ้น แต่ในกรณีของพืชปลูก ได้แก่ ข้าวฟ่างและถั่วเขียว ควรมีความระมัดระวังในการใช้สารกำจัดวัชพืชร่วมกับน้ำส้มควันไม้ เนื่องจากสามารถส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งสองชนิดได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมวิชาการเกษตร. 2547. การศึกษาและพัฒนาวิธีวิเคราะห์วัตถุมีพิษในผลิตภัณฑ์และสารพิษตกค้าง ในผลการดำเนินงานประจำปี 2546. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ดรุณี ทัพซ้าย, กนกทิพย์ ตอเสนา, บรรยง ทุมเสน, ดรุณี โชติษฐยางกูร และสันติไมตรี ก้อนคำดี. 2559. ผลของสารกำจัดวัชพืชเมื่อใช้ร่วมกับน้ำส้มควันไม้ต่อการควบคุมวัชพืชและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพนาหว่านข้าวแห้ง. แก่นเกษตร. 44: 55-66.
ทศพล พรพรหม. 2560. สารป้ องกันกำจัดวัชพืช: หลักการและกลไกการทำลายพืช. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2531. สารกำจัดวัชพืช. เชียงใหม่คอมพิวกราฟฟิค, เชียงใหม่.
ศิรษา สังวาล, ดรุณี โชติษฐยางกูร, สดุดี วรรณพัฒน์ และอนันต์ พลธานี. 2553. น้ำส้มควันไม้กับศักยภาพการใช้เป็นสารแช่เมล็ดในข้าวนาหว่านน้ำตม. น. 244-250. ใน: รายงานการประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 11 ประจำปี 2553 วันที่ 25-26 มกราคม 2553. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
Abouziena, H.F., A. A. Omar, S.D. Sharma, and M. Singh. 2009. Efficacy comparison of some new natural-product herbicides for weed control at two growth stages. Weed Technology 23: 431-437.
Acenas, X.S., J.P.P. Nunez, P.D. Seo, V.U. Ultra, Jr, and S.C. Lee. 2013. Mixing pyroligneous acid with herbicide to control barnyard grass (Echinochloa crus-galli). Weed Turfgrass Science. 2: 1-6.
Association of Official Seed Analysts [AOSA]. 1983. Seed Vigor Testing Handbook. Association of Official Seed Analysts, Ithaca, New York, the United States of America (USA). Contribution No.32. 88 p.
Chung, I.M., K.H. Kim, J.K. Ahn, S.B. Lee, S.H. Kim, and S.J. Hahn. 2003. Comparision of allelopathic potential of rice leaves straw and hull extract on barnyardgrass. Agronomy Journal. 95:1063-1070.
da Silva, A.F., L. Galon, G. Concenço, I. Aspiazú, E.A. Ferreira, S.P. Tironi, and A. A. da Silva. 2014. Sugarcane cultivars present differential susceptibility to herbicides ametryn and trifloxysulfuron-sodium. Australian Journal of Crop Science. 8: 965-972.
Egley, G.H. 1974. Dormancy variations in common purslane seeds. Weed Science. 22: 535:540.Flematti, G.R., E.L. Ghisalberti, K.W. Dixon, and R.D. Trengove. 2004. A compound from smoke that promotes seed germination. Science. 305: 977-977.
Mu, J., T. Uehara, and T. Furuno. 2003. Effect of bamboo vinegar on regulation of germination and radical growth of seed plants. Journal of Wood Science. 49: 262-270.
Rahayuningsih S., and Supriadi. 2014. Herbicidal efficacy of acetic acid and citric acid base on broad leaf weeds of medicinal crops fields. Buletin Penelitian Tanaman Rempahdan Obat. 25: 137-144.
Rico, C.M., S. Souvandouane, L.O. Mintah, I.K. Chung, T.K. Son, and S.C. Lee. 2007. Effect of mixed application of wood vinegar and herbicide on weed control, yield and quality of rice (Oryza sativa L.). Korean Journal Crop Science. 52: 387-392.
Sardana V., G. Mahajan, K. Jabran, and B.S. Chauhan. 2017. Role of competition in managing weeds: An introduction to the special issue. Crop Protection. 95:1-7.
Seo, P.D., V.U. Ultra, M.R.U. Rubenecia, and S.C. Lee. 2015. Influence of herbicides-pyroligneous acids mixtures on some soil properties, growth and grain quality of paddy rice. International Journal of Agriculture and Biology. 17: 499-506.
Shivhare, M.K., P.K. Singour, P.K. Chaurasiya, and R.S. Pawar. 2012. Trianthema portulacastrum Linn. (Bishkhapra). Pharmacognosy Reviews. 6: 132–140.
Staden, J. van, S.G. Sparg, M.G. Kulkarni, and M.E. Light. 2006. Post-germination effects of the smoke-derived compound 3-methyl-2H-furo [2, 3-c] pyran-2-one, and its potential as a preconditioning agent. Field Crops Research. 98: 98-105.
Wei, Q., X. Ma, and J. Dong. 2010. Preparation, chemical constituents and antimicrobial activity of pyroligneous acids from walnut tree branches. Journal of Analytical and Applied Pyrolysis. 87:24-28.