การประเมินความทนทานต่อสภาพแล้งของข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง และสังข์หยดพัทลุงในระยะต้นกล้า

Main Article Content

ภัทรพร ภักดีฉนวน

บทคัดย่อ

พื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์พื ้นเมืองภาคใต้ส่วนใหญ่อาศัยน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก คาดว่ามีแนวโน้มสูงที่จะเกิดสภาวะความแห้งแล้ง ดังนั้นความสามารถในการปรับตัวให้ทนทานต่อการขาดน้ำของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจึงมีความจำเป็น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินลักษณะทนทานแล้งในระยะกล้าโดยใช้ข้าวพันธุ์พื ้นเมืองภาคใต้ จำนวน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์เฉี ้ยงพัทลุง และพันธุ์สังข์หยดพัทลุง พันธุ์เปรียบเทียบ จำานวน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ กข19 และพันธุ์ กข23 ปลูกทดสอบในสภาพโรงเรือน คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 ซ้ำ บันทึกข้อมูลลักษณะการม้วนใบ การคลายตัวของใบ การแห้งตายของใบ การฟื้นตัวจากแล้ง และความยาวราก ผลการทดลองพบว่า ทุกลักษณะมีความแตกต่างทางสถิติ (P ≤0.01) โดยข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุงเป็นพันธุ์ที่มีความสามารถปรับตัวต่อสภาวะแล้งได้ดีกว่าข้าวพันธุ์สังข์หยดพัทลุง เนื่องจากข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุงมีระดับคะแนนการม้วนใบ การคลายตัวของใบ การแห้งตายของใบ และการฟื้นตัวจากแล้งต่ำกว่าข้าวพันธุ์สังข์หยดพัทลุง นอกจากนี้ข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุงมีความยาวของรากมากกว่าข้าวพันธุ์สังข์หยดพัทลุง ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่า ลักษณะที่มีสหสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการม้วนใบ คือ การคลายตัวของใบ การแห้งตายของใบ และการฟื้นตัวจากแล้ง แต่ความยาวของรากมีสหสัมพันธ์ในทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการม้วนใบ การคลายตัวของใบ การแห้งตายของใบ และการฟื้นตัวจากแล้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กิตติชัย นารีนุช, พัชริน ส่งศรี, วัฒนา พัฒนากูล และจิรวัฒน์ สนิทชน. 2556. การประเมินความทนทานต่อสภาพแล้งต้นฤดูปลูกของเชื้อพันธุกรรมข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง. แก่นเกษตร 41(ฉบับพิเศษ 1): 643-648.
บุญหงษ์ จงคิด, จารุมนสุขศร, พนิดา ชูเวท, และวุฒิชัยแตงทอง. 2557. ผลของการขาดน้ำในระยะกล้าต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 สายพันธุ์กลายพันธุ์. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 3: 123-128.
สมเดช อิ่มมาก. 2532. การศึกษาวิธีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทานแล้งในระยะกล้าด้วยสารละลาย PEG 6000 ควบคุมความเครียดในดิน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 98 หน้า.
สรศักดิ์ หวังสินสุจริต. 2542. การคัดเลือกพันธุ์ข้าว (Oryza sativa) ต้านทานต่อสภาพแล้งโดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 76 หน้า
Abd Allah, A. A. 2009. Genetic studies on leaf rolling and some root traits under drought conditions in rice (Oryza sativa L.). Afr. J.Biotechnol. 8: 6241-6248.
Blum, A. 2005. Drought resistance, water-use efficiency, and yield potential are they compatible, dissonant, or mutually exclusive?.Aust J Agric Res. 56: 1159–1168.
Bunnag, S. and P.Pongthai. 2013. Selection of rice (Oryza sativa L.) cultivars tolerant to drought stress at the vegetative stage under field conditions. Am J Plant Sci. 4: 1701-1708.
Cruze, R. T. and J. C.O’Toole.1984. Dryland Rice Response to an Irrigation Gradient at Flowering Stage.Agron J. 76: 178–183.
De Datta, S.K., J.A. Malabuyoc, and E.L.Aragon.1988. A field screening technique for evaluating rice germplasm for drought tolerance during the vegetative stage.Field Crops Res.19: 123-134.
Dingkuhn, M.,R. T.Cruz,C. O.O’Toole, N. C. Turner, and K. Doerffling. 1991. Responses of Seven Diverse Rice Cultivars to Water Deficits. III. Accumulation of AbscisicAcid and Proline in Relation to Leaf Water Potential and Osmotic Adjustment. Field Crops Res. 27: 103-117.
Fang Y. and L. Xiong. 2015. General mechanisms of drought response and their application in drought resistance improvement in plants.Cell. Mol. Life Sci. 72: 673-689.
Fen L.L., M. R. Ismail.B. Zulkarami, M. S. A. Rahman, and M. R. Islam. 2015. Physiological and molecular characterization of drought responses and screening of drought tolerant rice varieties.Biosci.J. 31: 709-718.
HsiaoT.C., J. C. O’Toole, E. B. Yambao, and N. C. Turner. 1984. Influence of osmotic adjustment on leaf rolling and tissue death in rice (Oryza sativa L.). Plant Physiol. 75: 338–341.
IRRI (International Rice Research Institute). 2002. Standard Evaluation System for Rice (SES), Manila Philippines.
Jongdee B., S. Fukai, and M. Cooper. 2002. Leaf water potential and osmotic adjustment as physiological traits to improve drought tolerance in rice. Field Crops Res. 76: 153-163.
Malabuyoc J.A., E. L. Aragon, and S. K. De Datta. 1984. Recovery from drought induced desication at vegetative growth stage in direct seeded rain fed rice. Field Crops Res. 10: 105 - 112.
Mitchell J.H., D. Siamhan, M. H. Wamala, J. B. Risimeri, E. Chinyamakobvu, S. A. Henderson, and S. Fukai. 1998. The use of seedling leaf death score for evaluation of drought resistance of rice. Field Crops Res.55: 129-139.