เทคนิคการเลี้ยงเพิ่มปริมาณหนอนกอสีชมพู, Sesamia inferens (Walker) (Lepidoptera: Noctuidae) ด้วยข้าวโพดฝักอ่อน เพื่อการผลิตแตนเบียนหนอน, Cotesia flavipes (Cameron) (Hymenoptera: Braconidae)

Main Article Content

วิภาพร ต้นภูเขียว
นุชรีย์ ศิริ
ทัศนีย์ แจ่มจรรยา

บทคัดย่อ

การเลี้ยงหนอนกอสีชมพู Sesamia inferens (Walker) ให้มีปริมาณมากมีความสำคัญในการผลิตแตนเบียนหนอน Cotesia flavipes (Cameron)เพื่อใช้ในการควบคุมหนอนกออ้อย การเลี้ยงหนอนกอสีชมพูด้วยข้าวโพดฝักอ่อนในห้องควบคุมอุณหภูมิ 25±2 ºC ความชื้นสัมพัทธ์ 45-70% ช่วงแสง (มืด:สว่าง) 12:12 ชั่วโมง พบว่า วงจรชีวิตของหนอนกอสีชมพูจากระยะไข่ถึงตัวเต็มวัย 30-36 วัน เฉลี่ย 34.00±2.05 วัน ระยะไข่ เฉลี่ย 5.30±0.48 วัน ระยะตัวหนอนมีทั้งหมด 5 วัย ใช้เวลา 17.29±8.33 วัน ระยะดักแด้ 10.79±0.70 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ 363.67±91.38 ฟอง การพัฒนาวิธีการเลี้ยงเพิ่มปริมาณหนอนกอสีชมพูด้วยข้าวโพดฝักอ่อน 2 กรรมวิธี คือ แยกกล่องเลี้ยงเมื่อหนอนอายุ 9 วัน (หนอนวัย 3-4) เปรียบเทียบกับการไม่แยกกล่องเลี้ยง พบว่า หนอนกอสีชมพูที่อายุ 11, 15 และ 18 วัน ทั้ง 2 กรรมวิธีมีการรอดชีวิต 81-98% แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ เมื่อหนอนอายุ 21 วัน กรรมวิธีการแยกกล่องเลี้ยงมีการรอดชีวิต 88% มีความแตกต่างกันทางสถิติกับไม่แยกกล่องเลี้ยง (73.2%) ส่วนน้ำาหนักดักแด้ทั้งเพศผู้และเพศเมียในกรรมวิธีที่แยกกล่องเลี้ยง มีน้ำหนักมากกว่ากรรมวิธีไม่แยกกล่องเลี้ยง อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ และหนอนกอสีชมพูที่เลี้ยงด้วยข้าวโพดฝักอ่อนเมื่อนำมาผลิตแตนเบียนหนอนได้จำนวนดักแด้แตนเบียน 63.26±28.07 ดักแด้/ตัว มีการฟักเป็นตัวเต็มวัย 94.99% และมีสัดส่วนเพศ 1: 3.35 ตัว อายุของตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย คือ 6.58±6.74 และ 8.00±6.68 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ชำนาญ พิทักษ์. 2541. สภาพอากาศกับการระบาดของศัตรูอ้อย. ว. กีฏและสัตววิทยา. 20: 286- 287.
ชำนาญ พิทักษ์ และอนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ. 2543. การสำรวจความเสียหายของอ้อยเนื่องจากหนอนกอลายจุดใหญ่ Chilo tumidicostalisHampson. หน้า 504-513 ใน: รายงานการประชุมวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งชาติ ครั้งที่ 4. ณ โรงแรมสีมาธานี จ. นครราชสีมา วันที่ 15-17 สิงหาคม 2543.
ณัฐกฤต พิทักษ์ และอนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ. 2544. แมลงศัตรูอ้อยโรงงาน อ้อยเคี้ยว อ้อยคั้นน้ำ และการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการกองกีฏวิทยาและสัตววิทยา ปี 2554. กรมวิชาการเกษตร.
ณัฐกฤต พิทักษ์ และเฉลิมวิทย์ ปะสันตา. 2546. การป้องกันกำจัดหนอนกออ้อยโดยวิธีผสมผสานจังหวัดนครสวรรค์. หน้า22-26. ใน: รายงานการประชุมวิชาการอ้อยและน้ำตาลทราย ครั้งที่ 5 วันที่ 20- 22 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมจอมเทียนปาล์มบีช พัทยา จังหวัดชลบุรี.
เทวี มณีรัตน์, สินีนาฏ รัตนาคะ และวิวัฒน์ เสือสะอาด. 2548. การศึกษาอาหารที่เหมาะสมสำหรับเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยสีชมพู Sesamia inferens (Walker) (Lepidoptera: Noctuide) เพื่อใช้ใน การผลิตแตนเบียนหนอน Cotesia flavipes (Cameron) (Hymenoptera), หน้า 1-8.ใน: รายงานการประชุมวิชาการประจำปี 2548. ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 28-3 มิถุนายน 2548. ณ โรงแรมเฟลิกซ์ ริเวอร์แควรีสอร์ท กาญจนบุรี.
เทวี มณีรัตน์, สินีนาฏ รัตนาคะ และวิวัฒน์ เสือสะอาด. 2552. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราส่วนเพศของแตนเบียนหนอน Cotesia flavipes(Cameron) (Hymenoptera: Braconidae). หน้า 106-110. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47 วันที่ 17-20 มีนาคม 2552. ณ กรุงเทพมหานคร.
วชิรชัย จาร์ยคูณ, จันทร์เพ็ญ แก่นคง, สิริวรรณ์ แพงมา, สุภาภรณ์ เสียงศรี, อัปสร เปลี่ยนสินไชย และ พิพัฒน์ วีรถาวร. 2546. การเลี้ยงหนอนกอสีชมพูเพื่อผลิตแตนเบียนหนอน Cotesia flavipes(Cameron). ใน: รายงานกระประชุมวิชาการอ้อยและน้ำตาลทรายแห่งชาติ ครั้ง 5 วันที่ 20-22 สิงหาคม 2456 ณ โรงแรมจอมเทียนปาล์มบีช พัทยา จังหวัดชลบุรี.
วิยวรรณ บุญทัน. 2549. นิเวศวิทยาประชากรและการพัฒนาแบบจำลองของหนอนกอสีชมพู Sesamia infens Walker และแมลงเบียนหนอน Cotesia flavipes (Cameron). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยศาสตรมหาบัณฑิต สาขากีฏวิทยา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิวัฒน์ เสือสะอาด, กิตติยา สุขเสน, เทวี มณีรัตน์, สินีนาฏ รัตนาคะ, และอรพรรณ เกินอาษา. 2550. การศึกษาความเป็นไป ได้ในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแตนเบียนหนอนเจาะลำต้นและ ยอดอ้อย Cotesia flavipes Cameron (Hymenoptera : Braconidae) ในเชิงพาณิชย์.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร. ศูนย์เฉพาะกิจแก้ไขปัญหาหนอนกออ้อยและโรคใบขาว. 2544. โครงการเฉพาะกิจแก้ปัญหาหนอนกออ้อย และโรคใบขาว 2544-2545. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Fantinou, A.A., D.C. Perdikis, and N. Stemogianmis. 2008. Effect of larval crowding on the life history traits of Sesamia nonagrioides(Lepidoptera: Noctuidae). European Journal of Entomology. 105: 625–630.
Joshi, G. L. Ram and R. Singh. 2009. Biology of pink borer, Sesamia inferens (walker) on Taraori Basmati rice. Annals of Biology. 25: 41-45.
Nagarjuna, B. M. Manjunatha, and M. Latha. 2015. Biology of maize stem borer, Sesamia inferens (Walker) Noctuidae: Lepidoptera. Eco-friendly Agriculture Journal .10: 90-91.
Pathak D. M. and Z. R. Khan. 1994. Insect pests of rice. International Rice Research Institute. Manila, Philippines. Parra, P. R. J. 2014. Biological Control in Brazil: An overview. Sci. Agric. 71: 345-355.
Wang, P., P. F. Lu, X. L. Zheng,L. Z. Chen C. L. Lei, and X. P.Wang. 2013. New artificial diet of continuous rearing of the bean pod borer, Maruca vitrata . J. Insect Sci. 13: 121.