การใช้รังสีแกมมาเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์ในเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงสับปะรดสี “Tillandsia cyanea”
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรังสีแกมมาต่อเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงสับปะรดสี Tillandsia cyanea โดยหาปริมาณรังสีที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิดการกลาย และสังเกตลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากการฉายรังสี โดยนำเนื้อเยื่อสับปะรดสีพันธุ์ Tillandsia cyanea อายุ 2 เดือน ไปฉายรังสีแกมมาแบบ Acute ที่ปริมาณรังสี 0 (control), 10, 20, 30, 40 และ 50 เกรย์ อัตราปริมาณรังสี (dose rate) 3.73 เกรย์ต่อนาที ณ ศูนย์วิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เก็บข้อมูลจำนวนต้นที่ตาย จำนวนต้นที่รอดชีวิตและจำนวนต้นที่แตกใหม่ ที่ระยะเวลา 60 วัน ภายหลังการฉายรังสีเปรียบเทียบกับที่ไม่ได้รับรังสี เพื่อหาค่า LD50(60)และ GR50(60)จากการทดลองพบว่าไม่สามารถหาค่า LD50(60) ได้ เนื่องจากที่ปริมาณรังสีสูงสุดที่ใช้ในการทดลอง มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงกว่า 50% แต่เมื่อพิจารณาจากค่า GR50(60) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 36 เกรย์ ปริมาณรังสีที่เหมาะสมสำหรับการฉายรังสีแกมมาแบบ Acute เพื่อเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์ ควรอยู่ในช่วง 20 – 50 เกรย์ และลักษณะกลายที่คัดเลือกได้ในรุ่น M1V3 คือ ลักษณะใบสีเขียวอ่อน ใบลาย ลักษณะต้นแคระ และลักษณะต้นใหญ่กว่าชุดควบคุม โดยลักษณะที่พบมากที่สุดคือลักษณะใบสีเขียวอ่อน ทั้งนี้ลักษณะการกลายที่พบจะต้องทำการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนต้นและทดสอบความคงตัวในรุ่นต่อ ๆ ไป
Article Details
References
ชูศักดิ์ จอมพุก. 2555. สถิติ : การวางแผนการ ทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้าน พืชด้วย R, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ปกรณ์ ตั้งปอง. 2552. ผลของการฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันและแบบโครนิกต่อเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงอนูเบียส. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
มยุรี ลิมติยะโยธิน. 2552. ผลของรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันและแบบโครนิกต่อเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยง Anubias minima. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อภิรักษ์ กลั่นแก้ง. 2554. สับปะรดสี. อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊ป, กรุงเทพฯ.อุไร จิรมงคลการ. 2554. มือใหม่หัดปลูกสับปะรดสี. อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊ป, กรุงเทพฯ.
Lapade, A. G., A. M. S. Veluz, and I. S. Santos. 1995. Genetic improvement of the queen variety of pineapple through induced mutation and in vitro culture techniques. pp. 684–687. In: Proceedings of a symposium, Induced Mutations and Molecular Techniques for Crop Improvement, held on 19-23 June 1995. Vienna (Austria): IAEA and FAO.
Murashige, T., and F. Skoog. 1962. A revised medium for rapid growth and bioassays with tobacco tissue culture. Physiologia Plantarum. 15: 473-497.
Osei-Kofi, F., H.M. Amoatey, and Y. Lokko. 1996. Improvement of pineapple (Ananas comosus(L) Merr.) using biotechnology and mutation breeding techniques, pp. 23-27, In: Proceedings of FAO/IAEA research coordination meeting on in vitro techniques for selection of radiation induced mutants adapted to adverse environmental conditions, held on 15-19 April 1996, Cairo, Egypt.
Negrele, R. R. B., D. Mitchell, and A. Anacleto. 2012. Bromeliad ornamental: conservation issues and challenges related to commercialization. Acta Scientiarum Bioligical Sciences. Maringa. 34: 91-100.
Sangsiri, C.,W. Sorajjapinun, and P. Srinivesc. 2015. Gamma radiation induced mutation in Mungbean. Science Asia 31: 251-255.
Sianipar, N., A. Wantho, Rustikawati, and W. Maarisit. 2013. The effects of gamma irradiation on growth response of rodent tuber (Typhonium flagelliforme Lodd.) mutant in vitro culture. HAYATI Journal of Biosciences. 20: 51-56.
Yong C. K., and F. T. Davies Jr. 2000. Mutagenesis and in vitro culture of Tillandsia fasciculata Swartz var. fasciculata (Bromeliaceae). Scientia Horticulturae. 87: 225-240.