การตอบสนองด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยปลูกพันธุ์ K95-84 ต่อการให้ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์และโพแทสเซียมไทโอซัลเฟต

Main Article Content

พจรัตน์ ไตรทิพย์ชวลิต
สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม
เอิบ เขียวรื่นรมณ์
ศุภิฌา ธนะจิตต์

บทคัดย่อ

ดำเนินกํารทดลองในแปลงของเกษตรกร บ้ํานช่องด่ําน ตำบลช่องด่าน อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อศึกษาการตอบสนองด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยต่อการให้ปุ๋ยโพแทสเซียมไทโอซัลเฟตทางใบของอ้อยพันธุ์ K 95-84 ในชุดดินกำแพงแสน วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 9 ตำรับการทดลอง ที่เป็นการเปรียบเทียบอัตราปุ๋ยโพแทสเซียม 3 อัตรา ได้แก่ 2.5, 5.0 และ 7.5 กก. K2O/ไร่ โดยตำรับที่ 1-3 (T1-T3) ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ทางดิน ตำรับที่ 4-6 (T4-T6) ฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ทางใบ และตำรับที่ 7-9 (T7-T9) ฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไทโอซัลเฟตทางใบตามลำดับ ใส่ปุ๋ยเมื่ออ้อยอายุ 3 เดือนหลังปลูก เก็บเกี่ยวผลผลิต และข้อมูลองค์ประกอบพืชเมื่ออ้อยปลูกอายุครบ 12 เดือน ผลการศึกษํา พบวํา กํารฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไทโอซัลเฟตที่อัตรา 7.5 กก. K2O/ไร่ (T9) ทำให้ได้ผลผลิตน้ำหนักสดของอ้อย และชีวมวลส่วนเหนือดินสูงสุดอยํางมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ํากับ 21.46 และ 26.10 ตันต่อไร่ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์อัตรา 5 กก. K2O/ไร่ (T5) ที่ได้เท่ากับ 17.56 และ 23.79 ตัน/ไร่ ส่วนการให้โพแทสเซียมทางดินในทุกอัตราได้ผลผลิตทั้งสองส่วนต่ำที่สุด กํารฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไทโอซัลเฟตที่อัตรา 7.5 กก. K2O/ไร่ (T9) ยังทำให้อ้อยมีค่าปริมาณการดูดใช้กำมะถันในส่วนยอดสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติเท่ากับ 37.48 กก./ไร่ ซึ่งสอดคล้องกับผลผลิตน้ำหนักสดลำอ้อยที่มีค่าสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน: เล่มที่ 2 ดินบนพื้นที่ดอน. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
ยงยุทธ โอสถสภา. 2552. ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 33. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงํานคณะกรรมกํารอ้อยและน้ำตาล. 2560. รํายงํานกํารผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย ประจำปีการผลิต 2557/2558. http://product.ocsb.go.th/Default. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2560.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2558. https://bit.ly/2IY5zLC ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2560.
Abdelrahman, M., A. Hamid, and Y.M. Dagash. 2014. Effect of sulfur on sugarcane yield and quality at the heavy clay soil “Vertisols” of Sudan. Univ. J. Applied Sci. 2: 68-71.
Bardsley, C.E. and J.D. Lancaster. 1965. Sulphur, pp. 1102-1116. In: C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis, Part 2: Chemical and Microbiological Properties. Amer. Soc. Agron., WI, USA.
Ceccotti, S. 1996. Plant nutrient sulphur-a review of nutrient balance, environmental impact and fertilizers, pp. 185-193. In: C. Rodiguez, ed. Fertilizers and Environment. Springer, the Netherland.
Havlin, J.L., J.D. Beaton, S.L. Tisdale, and W.L. Nelson. 2005. Soil Fertility and Fertilizers: An Introduction to Nutrient Management. 7thed. Prentice-Hall Inc., NJ.
Jackson, M.L. 1965. Soil Chemical Analysis-Advanced Course. Department of Soils, University of Wisconsin, WI, USA.
Jeschke, M. and K. Diedrick. 2010. Sulfur fertility for crop production. Crop Insights 20: 1-12.
Johnson, C.M. and A. Ulrich. 1959. Analytical methods for use in plant analysis. Calif. Agri. Exp. Stat. Bull. 767: 25–78.
Murphy, J. and I.P. Riley. 1962. A modified single solution method for the determination of phosphate in natural waters. Anal. Chim. Acta 27: 6-31.
Ng Kee Kwong, K.F. 2002. The effects of potassium on growth, development, yield and quality of sugarcane, pp. 430–444.In: N.S. Pasricha and S.K. Bansal, eds. Potassium for Sustainable Crop Production. Proceedings of the International Symposium on the Role of Potassium in Nutrient Management for Sustainable Crop Production in India. Potash Research Institute of India (PRII) and International Potash Institute (IPI), Horgen, Switzerland.
Marschner, H. 1995. Mineral Nutrition of Higher Plants. Academic Press, NY.SAS Institute. 2003. SAS/STAT Guide for Personal Computers. Version 9.1.3 ed. SAS Institute Inc., Cary, NC, USA.
Steel, R.G.D. and J.H. Torrie. 1987. Principles and procedures of statistics. McGraw-Hill Book Co., Int., New York, NY, USA.Vitti, A.C., P.C.O Trivelin, G.J.C. Gava, and C.P. Penatti. 2005. Produtividade da cana-de-açúcar relacionada à localização de adubos nitrogenados sobre a palha. Stab Açúcar, Alcool e Subprodutos. 23: 30-35.
Wood, A.W. and B.L. Schroeder. 2004. Potassium: A Critical Role in Sugarcane Production, Particularly in Drought Conditions. Proc. Aust. Soc. Sugar Cane Technol. Vol. 26, Australia.