การเปลี่ยนแปลงสมบัติดินบางประการในดินที่ปลูกยางพาราอายุต่างกัน

Main Article Content

ปุญญิศา ตระกูลยิ่งเจริญ
กุมุท สังขศิลา
จิรวัฒน์ พุ่มเพชร
ภูมินทร์ ยิ้มมิ่ง

บทคัดย่อ

การทดลองนี้เป็นการศึกษา เพื่อให้ทราบสมบัติดินที่เปลี่ยนแปลงและสมบัติดินที่มีผลต่อการเกิดเม็ดดินในดินที่มีการปลูกยางพาราอายุต่างๆ วิเคราะห์หาปริมาณคาร์บอนในดินกับ ปริมาณเหล็กออกไซด์ เม็ดดินขนาดต่างๆ ความหนาแน่นรวม ความคงทนของเม็ดดิน และการกระจายขนาดอนุภาค ในชุดดินอ่าวลึก (Very-fine, kaolinitic, isohyperthermic Rhodic Kandiudoxs) ที่ปลูกยางพาราอายุ 1 ปี, 3 ปี, 6 ปี, 9 ปี, 15 ปี และ 20 ปี อายุละ 4 ซ้ำ ที่ความลึก 0-10 ซม. และ 10-20 ซม. พบว่าดินที่ปลูกยางพาราอายุตั้งแต่ 20 ปี มีผลให้ปริมาณคาร์บอนในดินต่อพื้นที่สูงกว่าดินที่ปลูกยางพาราอายุน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทั้งสองระดับความลึก และพบความสัมพันธ์ของปริมาณคาร์บอนกับปริมาณเม็ดดินขนาดใหญ่เม็ดโต (r = 0.66) และความคงทนของเม็ดดิน (r = 0.66) ที่ระดับความลึก 0-10 ซม. ส่วนระดับความลึกที่ 10-20 ซม. ปริมาณคาร์บอนไม่มีผลโดยตรงกับสมบัติของเม็ดดิน แต่ปริมาณเหล็กออกไซด์มีความสัมพันธ์ชัดเจนกว่า ทั้งในด้านปริมาณเม็ดดินขนาดใหญ่ (r = 0.73) และความคงทนของเม็ดดิน (r = 0.70)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

พจนีย์ มอญเจริญ และทวีศักดิ์ เวียรศิลป์. 2544. คาร์บอนในดินของประเทศไทย. กองวิเคราะห์ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กรุงเทพฯ. 144 หน้า.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. 2544. การศึกษาวิจัยเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของ สกย.ฝ่ายแผนงานเศรษฐกิจรายสาขา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
อารักษ์ จันทุมา, ธีรชาต วิชิตชลชัย, พิศมัย จันทุมา, สุจินต์ แม้นเหมือน, วันเพ็ญ พฤกษ์วิวัฒน์, พนัส แพชนะ, สว่างรัตน์ สมนาค, พิบูลย์ เพ็ชรยิ่ง และสิริวัตร เต็มสงสัย. 2548. การเก็บรักษาก๊าซคาร์บอนในสวนยาง. ใน: รายงานโครงการวิจัยและพัฒนาระบบกรีดสรีระที่เหมาะสมกับการเพิ่มผลผลิตสวนยาง. ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6. 14 หน้า.
Alriksson A., and M.T. Olsson. 1995. Soil changes in different age classes of Norway spruce (Picea abies (L.) Karst.) on afforested farmland. Plant and Soil. 168-169: 103-110.
Bronick, C.J. and R. Lal. 2005. Soil structure and management: a review. Geoderma 124: 3-22.
Denef, K., L. Zotarelli, R.M. Boddey, and J. Six. 2007. Microaggregate-associated carbon as a diagnostic fraction for management-induced changes in soil organic carbon in two Oxisols. Soil Biology & Biochemistry. 39: 1165–1172.
Elliott, E.T. 1986. Aggregate structure and carbon, nitrogen, and phosphorus in native and cultivated soils. Soil Science Society of American Journal. 50: 627–633.
Eswaran, H., E.V.D. Berg, and P. Reich. 1993. Organic carbon of the world. Soil Science Society of American Journal. 57: 192-194.
Kong, A.Y.Y., J. Six, C. Dennis, R. Bryant, D. Ford, and C. van Kessel. 2005. The relationship between carbon input, aggregation, and soil organic carbon stabilization in Sustainable cropping systems. Soil Science Society of American Journal. 69: 1078-1085.
Lal, R. 2004. Soil carbon sequestration to mitigate climate change. Geoderma. 123: 1-22.
Lal, R., and J.M. Kimble. 1997. Conservation tillage for carbon sequestration. Nutrient Cycling in Agroecosystems. 49: 243-253.
Lichaikul, N., A. Chidthaisong, N. Withers Havey, and C. Wachrinrat. 2006. Carbon stock and net CO2emission in tropical upland soils under different land use. Kasetsart Journal. 40: 382-394.
Mikha, M.M, and W. Charles. 2004. Rice tillage and manure effects on soil and aggregate-associated carbon and nitrogen. Soil Science Society of American Journal. 68: 809-816.
Muggler, C.C., C.V. Griethuysen, P. Burrman, and T. Page. 1999. Aggregation, organic matter, and iron oxides morphology in Oxisols from Minas Gerais, Brazil. Soil Sci. 164(10): 759–770.
Parry, M., and T. Carter. 1998. Climate Impact and Adaptation Assessment: A Guide to the IPCC Approach. Earthscan, London.
Shrestha, B.M, B.R. Singh, B.K. Sitaula, R. Lal, and R.M. Bajracharya. 2007. Soil aggregate and Particle associated organic carbon under different land uses in Nepal. Soil Science Society of American Journal. 71: 1194-1203.
Siriratpiriya, O., E. Vigerust, and A.R. Selmer-Olsen. 1985. Effect of temperature and heavy metal application on metal content in lettuce. Scientific Report of the Agricultural University of Norway, Norway. Vol. 64. no. 145. 29 p.
Six, J., E.T. Elliott, and K. Paustian. 2000. Soil macroaggregate turnover and microaggregate formation : a mechanism for C sequestration under no-tillage agriculture. Soil Biology& Biochemistry 32:2099-2103.
Smith, J.U., P. Smith, R. Monaghan, and A.J. MacDonald. 2002. When is measured soil organic matter fraction equivalent to a model pool? European Journal of Soil Science. 53: 405-416.
Trakoonyingcharoen, P. 2005. The nature of red Oxisols and Ultisols in Thailand. Ph.D. Thesis. Kasetsart University. 188 p.