ภูมิภาคอาเซียนกับความมั่นคงทางอาหาร

Main Article Content

อิษฏ์ อินทรภูมิ
อรวรรณ ศรีโสมพันธ์
นริศ สินศิริ

บทคัดย่อ

แนวคิดความมั่นคงทางอาหารเริ่มต้นในการประชุมอาหารโลกปี พ.ศ.2513 ตามแนวความคิดขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ความมั่นคงทางอาหารจะต้องมีองค์ประกอบครบด้านทั้ง 4 มิติ (4-Demension of Food Security) ได้แก่มิติการมีอาหารเพียงพอ (Availability) มิติการเข้าถึงอาหาร (Accessibility) มิติการใช้ประโยชน์จากอาหาร (Utilization) มิติการมีเสถียรภาพด้านอาหาร (Stability) และยังครอบคลุมไปถึงการที่อาหารมีความปลอดภัย (Food Safety) อาหารมีคุณค่าทางโภชนาการ (Food Nutrition) และการพึ่งพาตนเอง (Self sufficiency) ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมอาเซียนเป็นภูมิภาคที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีการผลิตข้าวที่ถือว่าเป็นพืชอาหารหลักได้มากกว่าการบริโภค เช่นเดียวกับพืชอาหารอื่นๆ รวมถึงผักผลไม้ ปศุสัตว์และประมง ที่สามารถผลิตได้มากกว่าการบริโภคซึ่งทำให้เห็นว่าอาเซียนน่าจะมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางด้านอาหาร (Food Self-sufficiency) และมีความมั่นคงทางอาหารภายในภูมิภาค (Food Security) แต่ถ้าหากพิจารณาในระดับประเทศแล้วยังมีช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิก โดยในภูมิภาคประกอบด้วยผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ได้แก่ ไทยและเวียดนาม ขณะเดียวกันประกอบด้วยสมาชิกผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลก อย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังจะเผชิญปัญหาความมั่นคงทางอาหารในมิติความไม่เพียงพอทางอาหาร (Food Unavailability) มิติการเข้าถึงอาหาร (Food Accessibility) และมิติการพึ่งตนเองด้านอาหาร (Food Self-Sufficiency) ได้ในอนาคต อีกทั้งอาเซียนยังมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับความมั่นคงทางอาหาร (Food Security)จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (climate change) การเกิดวิกฤตการณ์ด้านพลังงานโลก การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการให้ความสำคัญของการผลิตพืชอาหารลดลงในทางตรงกันข้ามเน้นการผลิตพืชพลังงานมากขึ้น ส่งผลให้ราคาพืชอาหารสูงขึ้นจนทำให้ประชากรที่ยากจนไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ความมั่นคงและยั่งยืนด้านอาหาร

Article Details

บท
บทความวิชาการ (original article)

References

กรมประมง. 2557. ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าประมงทั้งหมดของไทยไปประเทศต่างๆ ปี 2550-2556. กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ. กองประมงต่างประเทศ. กรมประมง. แหล่งข้อมูล: http://www.fisheries.go.th. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2556.
กรมอุตุนิยมวิทยา. 2557. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตอาหาร. แหล่งข้อมูล: http:// www.tmd.go.th. ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2557.
กระทรวงพาณิชย์. 2557. สินค้าไก่และผลิตภัณฑ์. กองบริการการค้าสินค้าทั่วไป. กรมการค้าต่างประเทศ. กระทรวงพานิชย์. แหล่งข้อมูล: http://www.dft.go.th. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2558.
เกริก ปั้นเหน่งเพชรและคณะ. 2552. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อการผลิตข้าว อ้อย มันสำปะหลังและข้าวโพด ของประเทศไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. น. 1-144.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2557. แนวโน้มโลก 2050 คอลัมน์ : ดร.แอนมองต่างแดน. ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล. อิทธิพลของลมฟ้าอากาศที่รุนแรงมากๆ จะส่งผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของสัตว์ เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/JXHShx. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2558.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร. รายงานประจำปี. กรุงเทพฯ. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2558.
สำนักส่งเสริมและประมวลชนส่วนส่งเสริมการมีส่วนร่วม. 2555. เกร็ดความรู้ทรัพยากรธรรมชาติ เรื่องมนุษย์เผชิญ วิกฤตการณ์อาหารและน้ำภายในปี 2030 ฉบับประจำเดือนมีนาคม 2555. กรมทรัพยากรน้ำ. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/bQvZI8. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2558.
สำนักส่งเสริมและประมวลชนส่วนส่งเสริมการมีส่วนร่วม. 2555. เกร็ดความรู้ทรัพยากรธรรมชาติ เรื่อง วิกฤตการณ์อาหาร โลก ฉบับประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2555. กรมทรัพยากรน้ำ แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/AIN00m. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2558.
อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ. 2550. สภาพฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลง : ผลกระทบของอากาศหนาวเย็นต่อผลผลิตของข้าวในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิชาการข้าว. 2(1): 82-92.
อัจฉราพร และคณะ. 2557. ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อชนิดของเชื้อสาเหตุและการระบาดของโรคข้าวในนาชลประทานที่ปลูกต่อเนื่อง. แหล่งข้อมูล: http//www.brrd.in.th. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558.
Asean Food Security Information System. 2015. Asean Agricultural Commodity Outlook. Office of Agricultural Economic (OAE). Ministry of Agriculture and Cooperatives. Available: http://goo.gl/SmChEG. Accessed Feb. 24, 2015.
David Mckeown. 2006. “Chapter 1: Definitions of Food Security”. In Food Security: Implications for the Early year. Background Paper. Toronto Public Health: Toronto. Available: http://goo.gl/YVIMIe. Accessed Feb. 24, 2015.
Food and Agricultural Organization. 2006. Food Security Policy Brief Issue 2. 6(2): 1-4.Food Focus Thailand. 2013. Sustainable Agriculture: The best Practices in Japan. November 2013. .Available: http//www.apo-tokyo.org. Accessed Feb. 18, 2015.
Kaneda, C. 1972. Terminal Report on Studies on the Breeding for Cold Resistance. International Rice research Institute, Los Banos, Phillipines. 80 p.
United States Department of Agriculture. 2015. Livestock and poultry: World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service Febuary. 2015. Available: http//www.ers.usda.gov. Accessed: Feb. 18, 2015.
World Bank Group. 2015. GNI per capita, PPP (current international). Available: http//www.data. worldbank.org. Accessed Feb. 18, 2015.