การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะการเจริญเติบโต และคุณภาพซากของไก่ชีท่าพระและไก่ชี เคเคยู 12
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการเจริญเติบโตและลักษณะซากและคุณภาพเนื้อของไก่ชีท่าพระและไก่ชีเคเคยู12 ในสภาพการเลี้ยงแบบขังในโรงเรือนเปิด โดยใช้ไก่ชีอายุ 1 วัน จำนวน 180 ตัว ประกอบด้วย ไก่ชี 2 กลุ่ม ได้แก่ ไก่ชีท่าพระและไก่ชีเคเคยู 12 กลุ่มละ 6 ซ้ำ ซ้ำละ 15 ตัว เลี้ยงด้วยอาหารไก่เนื้อสำเร็จรูป ไก่ทดลองได้รับน้ำและอาหารเต็มที่ (ad libitum) เก็บข้อมูลน้ำหนักตัว และปริมาณการกินได้ ที่อายุแรกเกิด-12 สัปดาห์ สุ่มไก่ชำแหละซ้ำละ 2 ตัว (เพศผู้ 1 ตัว และเพศเมีย 1 ตัว) เมื่อสิ้นสุดการทดลองที่อายุ 12 สัปดาห์ คำนวณเปอร์เซ็นต์ซาก สีเนื้อของอกและสะโพก รวมถึงค่าประเมินทางประสาทสัมผัส ผลการทดลองพบว่าภายใต้สภาวะการเลี้ยงในฟาร์มไก่ชีเคเคยู 12 และไก่ชีท่าพระ มีน้ำหนักตัว 12 สัปดาห์ เท่ากับ 1,249.87 และ 1,150.65 กรัม ตามลำดับ (P<0.05) ไก่ชี เคเคยู12 อัตราการเจริญเติบโต 0-12 สัปดาห์ สูงกว่าไก่ชีท่าพระ (P<0.05) แต่ไก่ชีเคเคยู 12 และไก่ชีท่าพระ มีเปอร์เซ็นต์ซากไม่แตกต่างกัน และมีเปอร์เซ็นต์ชิ้นส่วนตัดแต่งสำคัญ เช่น อก น่อง สะโพก และปีก ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) แต่ไก่ชีเคเคยู 12 เพศเมีย มีค่าความแดงและความเหลืองของเนื้อส่วนอก สูงกว่าไก่ชีท่าพระ (P<0.05) ผลการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสของเนื้อไก่ พบว่า คะแนนสี รสชาติ ความเหนียว ความนุ่ม และความพอใจโดยรวม ของเนื้ออกไก่ชีท่าพระและไก่ชีเคเคยู 12 ไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) สำหรับเนื้อส่วนสะโพกพบว่าไก่ชีท่าพระมีค่าคะแนนสีและกลิ่นสูงกว่าไก่ชีเคเคยู 12 (P<0.05) แต่คะแนนความเหนียว ความนุ่ม ความชุ่ม และความพอใจโดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิระนันท์ อินทรีย์, อัษฎาวุฒิ พันธเสริม, วนิดา ธานีวรรณ, เลิศชัย ภูโอบ, วีรชาติ นันทรักษา และ ทิพย์สุดา บุญมาทัน. 2560. เปรียบเทียบคุณภาพซากของไก่ชีลูกผสม 2 ระดับเลือดที่เลี้ยงระบบขังคอกและกึ่งปล่อยอิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 48: 1104-1107.
ชัยพฤกษ์ หงษ์ลัดดาพร, สว่าง กุลวงษ์, สุธาสินี ครุฑธกะ, เชษฐา จงนอก, ณรงค์ หาญเชิงชัย, กมลทิพย์ ลิ้มสวัสดิ์ และ ศราวุฒิ ม่วงศรี. 2557. ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่ชี. แก่นเกษตร. 42(ฉบับพิเศษ1): 345-350.
ดรุณี ณรังษี, ทวี อบอุ่นและปภาวรรณ สวัสดี. 2551. สมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมือง 4 พันธุ์ภายใต้สภาพการจัดการแบบเดียวกัน. รายงานผลการวิจัยประจำปี. กองบำรุงพันธุ์สัตว์กรมปศุสัตว์. แหล่งข้อมูล http:// www.dld.go.th/research-AHD/research/Webpage/ Research_Chicken_1.html ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2559.
ดวงนภา พรมเกตุ, ขนิษฐา เรืองวิทยานุสรณ์ และทัศน์วรรณ สมจันทร์. 2556. การศึกษาคุณภาพเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมือง (ชี). แก่นเกษตร. 41: 394-399.
นริศรา สวยรูป, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ , วุฒิไกร บุญคุ้ม และ มนต์ชัย ดวงจินดา. 2555. สมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำและชีที่ เลี้ยงด้วยอาหารไก่เนื้อและอาหารไก่ไข่. แก่นเกษตร. 40: 248-252.
บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, มนต์ชัย ดวงจินดา, เทวินทร์ วงษ์พระลับ, พิชญ์รัตน์ แสนไชยสุริยา, เกษม นันทชัย และวุฒิไกร บุญคุ้ม. 2553. การทดสอบสมรรถนะการเจริญเติบโตและความนุ่มเนื้อในไก่ลูกผสมที่ได้จากไก่พ่อพันธุ์พื้นเมืองไทยกับไก่แม่พันธุ์ทางการค้า. แก่นเกษตร. 38: 373-384.
บัณฑิต กีรติการกุล, จิรวัฒน์ ยงสวัสดิกุล, ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ. 2560. ผลการเปรียบเทียบประสาทสัมผัสของเนื้อไก่พื้นเมืองพันธ์ประดู่หางดำที่มีรูปแบบการเลี้ยงต่างกัน และเนื้อไก่ทางการค้า. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 48: 762-756.
พิไลพรรณ รักการเขียน, ณัฐพล ฟ้าภิญโญ, ประพฤกษ์ ตั้งมั่นคง และ ศศิธร นาคทอง. 2556. สมบัติทางกายภาพและลักษณะทางประสาทสัมผัสของเนื้อไก่บ้านตะนาวศรีและเนื้อไก่กระทง. น. 3116-3126. ใน: ประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน 25 พฤศจิกายน 2556. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
ภานุพงศ์ จีระธรรมเสถียร, สุภาพร อิสริโยดม, อำนวย เลี้ยวธารากุล และ นวลจันทร์ พารักษา. 2560. ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองประดู่หางดำเชียงใหม่. แก่นเกษตร. 45(3): 497-504.
มนต์ชัย ดวงจินดา, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, เทวินทร์ วงพระลับ, พิชญ์รัตน์ แสนไชยสุริยา, เกษม นันทชัย, สุจิตรา สราวิช และ วรวิทย์ รักสงฆ์. 2552. การพัฒนาฝูงพ่อแม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำและชีด้วยดัชนีการคัดเลือก. รายงานฉบับสมบูรณ์เสนอต่อสำนักประสานงานชุดโครงการ การพัฒนาไก่พื้นเมืองฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.
มนต์ชัย ดวงจินดา. 2544. การใช้โปรแกรม SAS เพื่อการวิเคราะห์ทางสัตว์. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สจี กัณหาเรียง, ทองสา บัวสุข และ มนต์ชัย ดวงจินดา. 2561. ความสัมพันธ์ของยีน PIT1 MSTN และ TGF-β3 กับน้ำหนักตัว ขนาดรอบอกและความกว้างอกในไก่พื้นเมืองพันธ์ชี เคเคยู 12 และไก่พื้นเมืองพันธ์ประดู่หางดำ มข. 55. แก่นเกษตร. 46(6): 1033-1044.
สัญชัย จตุรสิทธา, ศุภฤกษ์ สายทอง, อังคณา ผ่องแผ้ว, ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร และอำนวย เลี้ยวธารากุล. 2546. คุณภาพซากและเนื้อของไก่พื้นเมืองและสายพันธุ์ลูกผสม 4 สายพันธุ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สัญชัย จตุรสิทธา. 2553. เทคโนโลยีเนื้อสัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์มิ่งเมือง, เชียงใหม่.
สุจิตรา สราวิช, วรวิทย์ รักสงฆ์, จิรศักดิ์ ศรีเมฆารัตน์, จิระพันธ์ ห้วยแสน และกมลพร กำขันตี. 2556. การพัฒนาฝูงพ่อแม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชีด้วยดัชนีคัดเลือก. น. 112-118. ใน: ประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5 เรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน 15-16 กรกฎาคม 2556. ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ.
อุดมศรี อินทรโชติ, อำนวย เลี้ยวธารากุล, ธีระชัย ช่อไม้, ทวีศิลป์ จีนด้วง, และชูศักดิ์ ประภาสวัสดิ์. 2553. ไก่พื้นเมืองไทย. กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
Allahyari-Bake, S, and R. Jahanian. 2017. Effects of dietary fat source and supplemental lysophosphatidyl choline on performance, immune responses, and ileal nutrient digestibility in broilers fed corn/soybean meal or corn wheat soybean meal-based diets. Poultry Science. 96: 1149–1158.
Boonkum, W., I. Pobwongsa, and V. Chankitsakul. 2014. Possibility of multiple-trait genetic selection using animal model in Thai indigenous chicken (Pradu Hang Dam and Chee). Khon Kaen Agriculture Journal. 42: 255-259.
Choo, Y. K., H. J. Kwon, S. T. Oh, J. S. Um, B. G. Kim, C. W. Kang, S. K. Lee, and B. K. An. 2014. Comparison of Growth Performance, Carcass Characteristics and Meat Quality of Korean Local Chickens and Silky Fowl. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 27: 398-405.
Jaturasitha, S., T. Srikanchai, M. Kreuzer, and M. Wicke. 2008. Differences in carcass and meat characteristics between chicken indigenous to northern Thailand (Black-boned and Thai native) and imported extensive breeds (Bresse and Rhode Island red). Poultry Science. 87: 160-169.
Jaturasitha, S., V. Leangwunta, A. Leotaragul, A. Phongphaew, T. Apichartsrungkoon, N. Simasathitkul, T. Vearasilp, L. Worachai, and U. terMeulen. 2002. A Comparative Study of Thai Native Chicken and Broiler on Productive Performance, Carcass and Meat Quality. Conference on International Agricultural Research for Development, DeutscherTropentag Witzenhausen. October 9-11, 2002. DeutscherTropentag, Witzenhausen.
Kridtayopas, C., W. Danvilai, P. Sopannarath, A. Kayan, and W. Loongyai. 2019. A study of growth performance, carcass characteristic, meat quality and association of polymorphism in the ApoVLDL-II gene with fat accumulation in the female broiler, Thai native and betong chickens (KU line). International Journal of Animal and Veterinary Sciences. 13: 167-170.
NRC. 1994. Nutrient Requirement of Poultry. 9th ed., National Academic Press, Washington, DC.
Polycarpe, U.T., M. Dahouda, and C. Salifou. 2013. Conversion of chicken muscle to meat and factors affecting chicken meat quality. International Journal of Agronomy and Agricultural Research. 3: 1-20.
SAS, 2004, STAT User’s Guide Release 9.1, SAS Institute Incorporation, Cary, North Carolina.
Sawasdee, P., A. Leotaragul, and J. Kammongkun. 2015. Reproductive Performance of Thai Native Chicken (Pradu – Hangdum Chiangmai) in Local Condition. Khon Kaen Agriculture Journal. 43: 234-237.
Stone H.J., S. Sidél, A. Oliver, and R.C. Woolsey. 1974. Sensory evaluation by quantitative descriptive analysis. Food Technology 28: 24–34.
Tongsiri, S., G.M. Jeyaruban, S. Hermesch, J.H.J. van der Werf, L. Li, and T. Chormai. 2019. Genetic parameters and inbreeding effects for production traits of Thai native chickens. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 32: 930-938.
Wattanachant S., S. Benjakul, and D.A. Ledward. 2004. Composition, color and texture of Thai Indigenous and broiler chicken muscles. Poultry Science. 83: 123-128.