ผลผลิตและคุณภาพเมล็ดของข้าวพื้นเมือง 20 พันธุ์ในพื้นที่นาทามน้ำท่วมฤดูนาปรัง

Main Article Content

มานัส ลอศิริกุล
นันทิยา หุตานุวัตร
นพมาศ นามแดง
สุกัญญา คลังสินศิริกุล
ประสิทธิ์ กาญจนา

บทคัดย่อ

พื้นที่ทามเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศน์ชุ่มน้ำ บริเวณนี้น้ำจะท่วมขังในฤดูฝน 3-4 เดือนเมื่อน้ำลดชาวนาจะปลูกข้าวนาปรังช่วงปลายปี ทดลองปลูกข้าวพื้นเมืองทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวจำนวน 20 พันธุ์ ในพื้นที่นาทามติดแม่น�้ ามูลของ เกษตรกรบ้านบุงมะแลง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบศักยภาพของข้าวพื้นเมืองในด้านผลผลิตและคุณภาพภายใต้การจัดการแบบนาอินทรีย์ ในฤดูนาปรัง ระหว่างเดือน มกราคม ถึง มิถุนายน 2554 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก(RCBD) ปลูกข้าวทั้งหมด 20 พันธุ์ ได้แก่ข้าวเจ้า 4 พันธุ์: โสมาลี ขาวบ้านโภชน์ มะลิแดง และก่ำใจดำ ข้าวเหนียว 16 พันธุ์: อีตมแดง ฮากไผ่ ดอหอม หมากโพธิ์ เหนียวหอม ก่ำกกดำ ดอขาว อินทร์ตก ผัวเมีย เล้าแตก อีหลูบ งวงช้าง หอมไร่ อีตมหอม ดำด่าง และหอมทวี โดยปลูกพันธุ์ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า ข้าวพื้นเมืองให้ผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ยความชื้น 14%แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P<0.05) ตั้งแต่ 519-963 กิโลกรัม/ไร่ จากข้าวทั้งหมด 16 พันธุ์โดยพันธุ์ ก่ำใจดำ ให้ผลผลิตสูงสุด (963 กก./ไร่) รองลงมาเป็นพันธุ์ ดำด่าง อีตมแดงและขาวบ้านโภชน์ (861, 849 และ 844 กก./ไร่ ตามลำดับ)พันธุ์อินทร์ตก หอมทวี อีตมหอมและผัวเมียมีผลผลิตเฉลี่ยใกล้เคียงกัน (722, 720, 704 และ665 กก./ไร่) ส่วนพันธุ์ดอขาว ฮากไผ่ เหนียวหอม อีหลูบ โสมาลี และงวงช้าง ให้ผลผลิตต่ำ รองลงมา (609,609,598,596,561 และ548 กก./ไร่ ตามลำดับ) ส่วนพันธุ์ที่ให้ผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ย/ไร่ต่ำที่สุดคือก่ำกกดำและมะลิแดง (519 กก./ไร่) ด้านองค์ประกอบผลผลิตข้าวพื้นเมือง (P<0.05) มีการแตกกอโดยเฉลี่ย 8.8 -15.5 ต้น/กอ พันธุ์มะลิแดงแตกกอสูงสุดและและต่ำสุดเป็นพันธุ์เหนียวหอม จำนวนรวง/กอ โดยเฉลี่ย 7.1 -14.6 รวง/กอพันธุ์ ฮากไผ่มีจำนวนรวง/กอ มากที่สุดและน้อยที่สุดเป็นพันธุ์เหนียวหอม จำนวนเมล็ดดี/กอโดยเฉลี่ย 602 -1,343 เมล็ดดี/กอพันธุ์ฮากไผ่มีจำนวนเมล็ดดี/กอ สูงสุดและต่ำสุดเป็นเหนียวหอม น้ำหนักเมล็ดดี/กอ โดยเฉลี่ย 20-37 กรัม/กอ พันุธุ์ดำด่าง อีตมแดงและหอมทวีมีน้ำหนักเมล็ดดี/กอ สูงสุดแลต่ำสุดเป็นพันธุ์อีหลูบและมะลิแดง น้ำหนัก 1,000 เมล็ดโดยเฉลี่ย23-41 กรัม พันธุ์ดอขาวมีน้ำหนัก1000เมล็ดสูงสุด และต่ำสุดเป็นพันธุ์ฮากไผ่ ด้านคุณภาพของเมล็ดข้าวพบว่า พันธุ์ขาวบ้านโภชน์ให้ค่าท้องไข่สูงสุด เปอร์เซนต์ข้าวกล้องสูงสุดในพันธุ์ดอขาวและต่ำสุดในพันธุ์ ก่ำใจดำ ในขณะที่เปอร์เซ็นต์แกลบสูงสุดเป็นพันธุ์ ก่ำใจดำ และต่ำสุดเป็นพันธุ์ดอขาว ข้าวทุกพันธุ์ให้ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ข้าวสารอยู่ระหว่าง 55.68 เปอร์เซ็นต์ โดยสูงสุดเป็นพันธุ์โสมาลี ตามด้วยงวงช้างและหอมทวี ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวสูงสุด พบในพันธุ์ผัวเมีย งวงช้างและอีตมหอมตามลำดับ ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก 1000 เมล็ดของข้าวทุกพันธุ์อยู่ในช่วง 22.15-41.10 กรัม พันธุ์อีตมแดงสูงสุด รองลงมาพันธุ์คือ ดำด่าง อีตมหอม ผัวเมีย ก่ำกกดำ และอินทร์ตก

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กลุ่มวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว. 2554. ผลการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ คุณภาพการสีและคุณภาพทางเคมี. เอกสารวิชาการศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี. 5 หน้า.
คณาจารย์ปฐพีวิทยา. 2541. ปฐพีศาสตร์เบื้องต้น.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ประวีณา มณีรัตนรุ่งโรจน์, มัลลิกา, จันทรังษี และพิทักษ์พงษ์ มณีรัตนรุ่งโรจน์. การวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและคุณภาพทางเคมีบางประการของเมล็ดข้าวพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย.น. 637-640. ใน : ประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 2 เรื่อง มิติใหม่วิจัยข้าวไทยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเปิดตลาดเสรีอาเซียน 21-23 ธันวาคม 2555. โรงแรม Swissotel Le Concorde กรุงเทพฯ.
พรรณผกา สระดอกบัว, กัญญา เชื้อพันธุ์, สุนันทา วงศ์ปิยชน และศิริวรรณ ตั้งวิสุทธิจิต. 2550. ศึกษาผลผลิตและลักษณะบางอย่างของข้าวหอมพื้นเมืองไทย (ชุดที่ 2). น.308-314. ใน: ประชุมวิชาการประจำปี 2550 เรื่องข้าวและธัญพืชเมืองหนาว 19 - 21 กุมภาพันธ์ 2550. พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ อำเภอคลองหลวง, ปทุมธานี.
มานัส ลอศิริกุล,นันทิยา หุตานุวัตร, นพมาศ นามแดง, สุกัญญา คลังสินศิริกุล และบุญรัตน์ จงดี. 2555. ศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวเหนียวพื้นเมืองพันธุ์อีเตี้ยและหอมสามกอเปรียบเทียบกับพันธุ์ กข.10 ในพื้นที่นาทามน้ำท่วมของฤดูนาปรัง 2554.วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. 20(3): 74-86.
มานัส ลอศิริกุล, นันทิยา หุตานุวัตร, นพมาศ นามแดง, สุกัญญา คลังสินศิริกุล และประสิทธิ์ กาญจนา. 2556. การศึกษาศักยภาพในด้านผลผลิตและรสชาติของข้าวพันธุ์พื้นเมืองหลายพันธุ์ในพื้นที่นาทามน้ำท่วมของเกษตรกรในฤดูนาปรัง 2554-2555 .รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (สกว., เล่มที่ 6). คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
มานัส ลอศิริกุล,นันทิยา หุตานุวัตร, นพมาศ นามแดง, สุกัญญา คลังสินศิริกุล และประสิทธิ์ กาญจนา. 2558. ศักยภาพในการให้ผลผลิตของข้าวเหนียวพื้นเมืองโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพในพื้นที่นาดินทรายปนร่วนของเกษตรกรฤดูนาปรังปี 2555. แก่นเกษตร. 43(1): 39-52.
นุจนาด โฮมแพน .2552. ระบบนิเวศน์อีสาน : ความหลากหลายพันธุกรรมข้าว. แหล่งข้อมูล: http//www.aanesan.files.com. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2555.
สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ. 2543. พันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทย.เอกสารทางวิชาการศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าวกรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน. 2548. มหัศจรรย์พันธุ์ดิน.กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
เสถียร ฉันทะ, ปรีชา ประเทพา และบุญรัตน์ จงดี. ความหลากหลายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและการอนุรักษ์ของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย.รายงานบทคัดย่อการประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 2 มิติใหม่วิจัยข้าวไทยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเปิดตลาดเสรีอาเซียน,วันที่ 21-23 ธันวาคม 2555, ณ โรงแรม Swissotel Le Concorde, กรุงเทพฯ.
อนงค์ นัยวิกุล. 2547. ข้าว: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.