ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

พัชราวดี ศรีบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรกร 2) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการความรู้ 3) พฤติกรรมของเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการความรู้ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลกับความรู้ และข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการจัดการความรู้ของเกษตรกร อำเภอเมือง และอำภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ แกนนำเกษตรกร อำเภอเมือง จำนวน 39 คน และอำเภอหนองหญ้าไซ จำนวน 75 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ของเกษตรกรอำเภอเมืองและอำเภอหนองหญ้าไซ อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในภาพรวมของเกษตรกรทั้งสองอำเภออยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความสัมพันธ์ของข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลกับความรู้ในการจัดการความรู้ พบว่า ในอำเภอเมือง ระดับการศึกษาของเกษตรกร มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ของเกษตรกร และอายุ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัว ของเกษตรกรอำเภอเมืองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการความรู้ ในขณะที่ รายได้ของเกษตรกรอำภอหนองหญ้าไซ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการความรู้ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

บดินทร์ วิจารณ์. 2547. การจัดการความรู้สู่ปัญญาปฏิบัติ. ธรรมกมลการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค. 2550. การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สำหรับหน่วยงานภาครัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2553. การพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ด้วยวิธีผสมผสาน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เอไอซีเพื่อส่งเสริมการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันของนักเรียนแกนนำอย.น้อย. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษาภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2556. การใช้สื่อสังคมออนไลน์และอินเทอร์เน็ตบนมือถือของวิสาหกิจชุมชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 3: 8-15.
วรรณี แกมเกตุ. 2555. วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2555. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559).
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2557. การจัดการความรู้. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/NEkx2y. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2556.
อัญชลี ยิ้มสมบูรณ์ และคณะ. 2554. การจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร อำเภอบางคนที จังหวัด สมุทรสงคราม. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 4(2): 56-67.
Durcikova, A. et al. 2004. The Role of Organizational Climate in the Use of Knowledge. P.2224-2229. Proceedings of the Tenth Americas Conference on Information Systems.