การประเมินความเข้มข้นของซิลิคอนในลำต้นและใบของเชื้อพันธุกรรมข้าวพันธุ์ไทย 29 พันธุ์

Main Article Content

นันทนา ใชยวงค์
ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย

บทคัดย่อ

ซิลิคอนไม่ใช่ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชทุกชนิด แต่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืชเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะข้าว เนื่องจากช่วยทำให้ลำต้นของข้าวแข็งแรง ป้องกันการหักล้ม เพิ่มการสังเคราะห์แสงของใบ และเพิ่มผลผลิตของข้าว การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณความเข้มข้นของซิลิคอนในลำต้นและใบของข้าวสายพันธุ์ไทย และความสัมพันธ์ในการสร้างผลผลิตจากปริมาณดังกล่าว ทำการทดลองในกระถาง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ใช้พันธุ์ข้าวจำนวน 29 พันธุ์ ทั้งพันธุ์ข้าวนาและข้าวไร่ เก็บเกี่ยวเมล็ดในระยะสุกแก่เพื่อประเมินผลผลิตและวิเคราะห์ความเข้มข้นซิลิคอนในส่วนของลำต้นและใบ พบว่าในต้นมีความเข้มข้นซิลิคอนตั้งแต่ 1.04 - 2.81 g/100g ในใบมีตั้งแต่ 3.44 - 5.99 g/100 g และยังพบว่าความเข้มข้นซิลิคอนมีความแตกต่างกันระหว่างพันธุ์ข้าวนาและข้าวไร่ ซิลิคอนในใบ มีความเข้มข้นมากกว่าในลำต้น 2.21 และ 2.78 เท่า ในพันธุ์ข้าวนาและข้าวไร่ ตามลำดับ และในส่วนของลำต้นพบว่า ในข้าวนามีความเข้มข้นซิลิคอนมากกว่าในข้าวไร่ 1.14 เท่า ส่วนในใบพบว่า พันธุ์ข้าวไร่มีความเข้มข้นซิลิคอนมากกว่าข้าวนา 1.10 เท่า นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์เชิงบวก ระหว่างความเข้มข้นซิลิกอนในลำตันกับผลผลิตของข้าวนา (r = 0.62*) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าวในข้าวไร่ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของซิลิคอนในใบกับผลผลิตทั้งในข้าวนาและข้าวไร่ การทดลองนี้บ่งชี้ว่ามีความแตกต่างกันของความเข้มข้นซิลิคอนในส่วนของลำต้นและใบข้าวในข้าวไร่และข้าวนา การเพิ่มปริมาณความเข้มข้นซิลิคอนในลำต้นของพันธุ์ข้าวนามีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะสามารถนำไปใช้ในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการดูดใช้ธาตุซิลิคอนที่อยู่ในดินและการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กิตติศักดิ์ ศรีทุมมา. 2552. การศึกษาพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองที่มีศักยภาพ เพื่อใช้ในระบบเกษตรยั่งยืน ของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน. สารนิพนธ์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กรมการข้าว. 2557. การปลูก การดูแล และการใช้ปุ๋ยในนาข้าว. แหล่งข้อมูล: http://www.Ricethailand.go.th. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558.
สงกรานต์ จิตรากรมม, ฉวีวรรณ วุฒิญาโณ และบรรยง นิชรัตน์. 2529. การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ข้าว. ว. วิชาการ เกษตร. 4: 158-163.
DAI Wei-min, Ke-qin ZHANG, Bin-wu DUAN, Cheng-xiao SUN, Kang-le1 ZHENG, CAI Run, and Jie-yun ZHUANG. 2005. Rapid Determination of Silicon Content in Rice. Rice Sci. 12(2): 145-147.
Deren, C.W. 2001. Plant genotype, silicon concentration, and silicon-related responses. P.149-158. In: LE Datnoff, GH, Snyder, GH Korndorfer, eds, Silicon in Agriculture. Elsevier Science, Amsterdam.Ma, J.F. and N. Yamaji. 2006. Silicon uptake and accumulation in higher plants. Trends Plant Sci. 11: 392-397.
Ma, J.F., and E. Takahashi. 2002. Soil, Fertilizer, and Plant Silicon Research in Japan. Elsevier, Amsterdam.
Ma J.F., N. Yamaji, N. Mitani, K. Tamai, S. Konishi, T. Fujiwara, M. Katsuhara, and M. Yano. 2007. An efflux transporter of silicon in rice. Nature. 448(7150): 209-212.
Ma JF, N. Yamaji, and N. Mitani-Ueno. 2011. Transport of silicon from roots to panicles in plants. Proc Jpn Acad, Ser B, Phys Biol Sci. 87: 377-385.
Ma, J.F., K. Tamai, N. Yamaji, N. Mitani N, S. Konishi, M. Katsuhara, M. Ishiguro, Y. Murata, and M. Yano. 2006. A silicon transporter in rice. Nature. 440(7084): 688-691.
Savant, N.K., G.H. Synder, and L.E. Datnoff. 1997. Silicon management and sustainable rice production. Adv. Agron. 58: 151-199.
Shoichi Y., Y. Ohnishi, and K. Kitagishi. 1962. Chemical forms, mobility and deposition of silicon in rice plant. Soil Sci Plant Nutr. 8(3): 15-21.
Takahashi, E., J.F. Ma, and Y. Miyake. 1990. The possibility of silicon as an essential element for higher plants. Comments Agric. Food Chem. 2: 99-122.
Van Hoest PJ. 2006. Rice straw, the role of silica and treatments to improve quality. Anim Feed Sci Technol. 130: 137-171.