ผลของอาหารคีโตเจนิกต่ออัตราการเจริญเติบโตและความหนาไขมันสันหลังของสุกรขุน

Main Article Content

อดิศักดิ์ คงแก้ว
นิทัศน์ วิชาสิทธิ์
อรปรียา โชติ
วัชรินทร์ อ้มทองหลาง
วันดี ทาตระกูล

บทคัดย่อ

อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic; KT) เป็นอาหารที่มีระดับคาร์โบไฮเดรตต่ำกว่าปกติ และไขมันสูง วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ใช้น้ำมันเมล็ดในปาล์ม (Palm kernel oil ; PKO) เพื่อให้มีความเข้มข้นของพลังงานจากน้ำมันมากขึ้น ให้สุกรดึงพลังงานจากน้ำมันไปใช้และเหลือสะสมน้อยที่สุด การทดลองแรก ศึกษาอาหาร KT ที่ใช้ PKO 6% ในอาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยสองกลุ่มแรกให้อาหารทดลอง 4 (KT4(6)) และ 6 สัปดาห์ (KT6(6)) ก่อนขายสุกรขุน และสุกรกลุ่มที่สามได้รับอาหารควบคุมที่ใช้น้ำมันปาล์ม 3.5 % (CON1&2) เลี้ยงสุกรขุน 96 ตัว อายุ 13-16 และ 17-20 สัปดาห์ จำนวน 12 คอกๆ ละ 8 ตัว การทดลองที่สอง ศึกษาในสุกร 64 ตัว แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 4 คอกๆ ละ 8 ตัว ให้อาหารทดลอง 4  สัปดาห์ ก่อนขายสุกรขุน โดยกลุ่มทดลองใช้ PKO 8% ในอาหาร ให้อาหารทดลอง 4  สัปดาห์ KT4(8) ก่อนขายสุกรขุน  เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้น้ำมันปาล์ม 4%(CON3) ในอาหาร แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์  และให้อาหารแบบไม่จำกัดทั้งสองการทดลอง ผลการทดลองพบว่าการใช้ PKO6% ส่งผลทำให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเจริญเติบโต ของกลุ่ม KT4(6) และ KT6(6)  ไม่ต่างกันทางสถิติ แต่มากกว่ากลุ่ม CON1&2 (P<0.05) และมีแนวโน้มของความหนาไขมันสันหลังบริเวณกล้ามเนื้อซอกขาหน้าต่ำสุด (P=0.071) ในการทดลองที่สอง อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนัก ปริมาณอาหารที่กินเฉลี่ย และความหนาไขมันสันหลัง (P2) ที่เพิ่มขึ้น ของสุกรกลุ่ม KT4(8) ต่ำกว่ากลุ่ม CON3 (P<0.05) สรุปได้ว่าอาหาร KT โดยใช้ PKO 6-8% ในอาหาร เลี้ยงสุกร 4 สัปดาห์ก่อนขาย ช่วยลดความหนาไขมันสันหลัง และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของสุกรขุนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

วุฒิชัย เคนไชยวงศ์, วาสนา ศิริแสน, ปองพล พงศ์ไธสงค์ และ อตถพร รุ่งสิทธิชัย. 2562. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะความหนาของไขมันสันหลังในวันผสมครั้งแรก และความล้มเหลวในการตั้งท้องด้วยค่าสังเกต Cohort ในสุกรสาว. 839-844. ใน: ประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 20 เรื่องนวัตกรรมอีสานบูรณาการภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 28-29 มกราคม 2562. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สาโรช ค้าเจริญ. 2547. อาหารและการให้อาหารสัตว์ไม่เคี้ยวเอี้อง. พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

อิงครัตน์ ธัญศิรธนารมย์, เนรมิตร สุขมณี, ยุวเรศ เรืองพานิช, และเสกสม อาตมางกูร. 2555. การศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมของนํ้ามันปาล์มดิบและนํ้ามันรําข้าวดิบในอาหารสุกร ระยะ 20–100 กิโลกรัม. น. 1388-1395. ใน: รายงานการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

อรุณี โยธี, วันดี ทาตระกูล, กุลยาภัสร วุฒิจารี, ทินกร ทาตระกูล, และณิฐิมา เฉลิมแสน. 2552. การทดแทนรําละเอียดในอาหารสุกรระยะรุ่น-ขุน ด้วยเศษผักและหยวกกล้วยหมัก. น. 257-266. ใน: รายงานการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

ไอซ์ Thai Keto Pal. 2561. Ketogenic Diet มหัศจรรย์ไขมัน ยิ่งกินยิ่งผอม. สำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์, กรุงเทพฯ.

Alsop, E.J., D. Hurnilk, and R.J. Bildfell. 1994. Porcine ketosis: A case repoty and literture summary. Journal of Swine Health and Production. 2: 210-221.

AOAC. 2012. Official Method of Analysis: Association of Analytical Chemists. 19th Edition, Washington DC.

Dokmanovic, M., M. Baltic., J. Duric., J. Ivanovic., L.J. Popovic., M. Todorovic., R. Markovic, and S. Pantic. 2015. Correlations among stress parameters, meat and carcass quality parameters in pigs. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 3: 435-441.

Evans, M., E.C. Karl, and E. Brendan. 2016. Metabolism of ketone bodies during exercise and training: physiological basis for exogenous supplementation. Journal of Physiology. 595(9): 2857-2871.

Gonyou, H.W., M.C. Brumm., E. Bush., J. Deen., S.A. Edwards., T. Fangman., J.J. McGlone., M. Meunier-Salaun., R.B. Morrison., H. Spoolder., P.L. Sundberg, and A.K. Johnson. 2006. Application of broken-line analysis to assess floor space requirements of nursery and grower-finisher pigs expressed on an allometric basis. Journal of Animal Science. 84: 229-235.

Harry, T., and M. D. Chugani. 2017. Ketogenic Diet Nutritionals. Journal of Swine Health and Production. 1: 2.

Keaschall, K. E., B. D. Moser., E. R. Peo., A. J. Lewis, and T. D. Crenshaw. 1983. Dried fat for growing-finshing swine. Journal of Animal Science. 56: 286-295.

Liu, Y. 2015. Fatty acids, inflammation and intestinal health in pigs. Journal of Animal Science and Biotechnology. 6: 41.

Lori Laffel. 1999. Ketone Bodies: a Review of Physiology,Pathophysiology and Application of Monitoring to Diabetes. Diabetes/Metabolism Research and Reviews. 15: 412-426.

Kim, G.W., and H.Y. Kim. 2017a. Effects of Carcass Weight and Back-fat Thickness on Carcass Properties of Korean Native Pigs. Journal of the Korean Society of Food Science and Nutrition. 37: 385-391.

Kim, J.S., S.L. Ingale., S.H. Lee., Y.H. Choi., E.H. Kim, and D.C. Lee. 2014b. Impact of dietary fat sources and feeding level on adipose tissue fatty acids composition and lipid metabolism related gene expression in finisher pigs. Animal Feed Science and Technology. 196: 60-67.

Murray, R., V. Rodwell., D. Bender., K.M. Botham., P.A. Weil, and P.J. Kennelly. 2009. Harper's Illustrated Biochemistry, 28th Edition (LANGE Basic Science). Printed in the united stated of America. 158-239.

NRC. 2012. Nutrient requirements of swine. 11th ed. Washington, DC, USA: National Academy Press.