ความชุกของเชื้อ Staphylococcus aureus และ Methicillin-resistance Staphylococcus aureus (MRSA) ที่แยกได้จากโคนมที่เป็นโรคเต้านมอักเสบ ในจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ธีรเจต เลาหเสถียร
ภวัต เสรีตระกูล
กนกอร นนท์ศิริ
ศิริชัย เอียดมุสิก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อหาความชุกของเชื้อ Staphylococcus aureus (S. aureus) และ เชื้อ Methicillin-Resistant Staphylococcus aureus (MRSA) ทั้งนี้ S. aureus เป็นเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเต้านมอักเสบในโคนมชนิดรุนแรง การตอบสนองต่อการรักษามักไม่แน่นอน รวมทั้งยังก่อปัญหาการดื้อยา ซึ่งส่งผลต่อปัญหาทางด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะเชื้อในกลุ่ม MRSA สามารถติดต่อระหว่างสัตว์และคน โดยเก็บตัวอย่างน้ำนมรายเต้า (Quarter milk sampling) ของโครีดนม จากฟาร์มโคนมในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 145 ตัวอย่าง ที่ให้ผลการตรวจน้ำนมด้วยน้ำยาซีเอ็มที มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ต่อมานำตัวอย่างน้ำนมเพาะแยกเชื้อ S. aureus โดยวิธีทางแบคทีเรียวิทยา และเชื้อ MRSA ด้วยการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ ด้วยเทคนิค Disc diffusion รวมทั้งตรวจยืนยันเชื้อ MRSA โดยตรวจหายีน femA blaZ และ mecA ผลการศึกษาพบว่า ในจำนวน 153 ไอโซเลต มีความชุกของเชื้อ S. aureus และเชื้อในกลุ่ม MRSA คิดเป็น 6.55% (10/153) และ 0.65% (1/153) ตามลำดับ ดังนั้นเกษตรกรควรตระหนักถึงการจัดการฟาร์ม สุขศาสตร์การรีดนมที่ถูกวิธี และการคัดแยกโคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบออกจากฝูงโครีดนม เพื่อลดความเสี่ยงการสูญเสียรายได้ และลดปัญหาทางด้านสาธารณะสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร และสุกุมา สามงามนิ่ม. 2550. การตรวจวินิจฉัยโรคเต้านมอักเสบและคุณภาพน้ำนมดิบทางห้องปฏิบัติการ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

จารุวรรณ คำพา, วราภรณ์ ศุกลพงศ์, อนันตชัย ชัยยศวิทยากุล, ศริญญา ฤกษ์อยู่สุข และอรุณี พลภักดี. 2553. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: ความชุกของเชื้อ Mycroplasma bovis และแบคทีเรียชนิดอื่นที่ก่อโรคเต้านมอักเสบติดต่อในโคนมในเขตจังหวัดขอนแก่น.

ทศพล สีรินทร์, อิฏฐวัชร เสตพันธ์, จันทร์เพ็ญ ภูผาพลอย และมนกานต์. 2558. รูปแบบการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อ Staphylococcus aureus และ MRSA ที่แยกได้จากโคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการ และการจัดการฟาร์มที่เกี่ยวข้อง. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสารคาม. 36 (2): 161-165.

ธีรพงศ์ ธีรภัทรสกุล. 2558. โรคเต้านมอักเสบในโคนม เล่ม 2. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ.

นิตยา อินทราวัฒนา และมุฑิตา วนาภรณ์. 2558. บทความปริทัศน์: โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและสถานการณ์การดื้อยา. วารสารการแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 22(1): 81-92.

บุณฑริกา กระจ่างวงษ์,สุวิชา เกษมสุวรรณ และวราพร พิมพ์ประไพ. 2558. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับจำนวนเซลล์โซมาติกในน้ำนมดิบมากกว่า 500,000 เซลล์ต่อมิลลิลิตรของฟาร์มโคนมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสัตวแพทย์. 25 (3): 105-114.

ปิยะวดี นุ่มนวล และชัยรัตน์ บัวเลิศ. 2554. ความชุกและการดื้อยาต้านจุลชีพของโรคเต้านมอักเสบในโครีดนม จังหวัดแพร่ ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2554. เอกสารวิชาการสำนักงานปศุสัตว์. แพร่.

ระเบียบมาตรฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบของประเทศไทย. 2542. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องมาตรฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบของประเทศไทย.

ศุกลรัตน์ บุณยยาตรา, จุฬาณี ถาบุญเป็ง, ขวัญชาย เครือสุคนธ์ และวิทยา สุริยาสถาพร. 2550. การดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียที่สัมพันธ์กับเต้านมอักเสบในแม่โครีดนมในเขตจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่สัตวแพทยสาร. 5 (2): 135-145.

สุทธิรัตน์ สิทธิศักดิ์. 2554. วิทยาการระบาดของการติดเชื้อ Methicillin Resistance Staphylococcus aureus ที่เกิดจากชุมชน. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 11(1): 62-73.

Davoodi, N. R., S. D. Siadat, F. Vaziri, J. V. Yousefi, N. Harzandi, A. Rafi, and A. R. Bahrmand. 2015. Identification of Staphylococcus aureus and Coagulase-negative Staphylococcus (CoNS) as well as Detection of Methicillin Resistance and Panton-Valentine Leucocidin by Multiplex PCR. Journal of Pure and Applied Microbiology. 9(1): 1–5.

Haas, Y., H. W. Barkema, Y. H. Schukken, and R. F. Veerkamp. 2005. Associations between somatic cell count patterns and the incidence of clinical mastitis. Preventive Veterinary Medicine. 67: 55-68.

Katayama, Y., T. Ito, and K. Hiramatsu. 2000. A New Class of Genetic Element, Staphylococcus Cassette Chromosome mec, Encodes Methicillin Resistance in Staphylococcus aureus. Antimicrobial Agents Chemotherapy. 44(6): 1549–1555.

Lim, S. K., H. M. Nam, G. C. Jang, H. S. Lee, S. C. Jung, and T. S. Kim. 2013. Transmission and persistence of methicillin-resistant Staphylococcus aureus in milk, environment, and workers in dairy cattle farms. Foodborne Pathogens and Disease. 10(8): 731-736.

Luini, M., P. Cremonesi, G. Magro, V. Bianchini, G. Minozzi, B. Castiglioni, and R. Piccinni. 2015. Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) is associated with low within-herd prevalence of intra-mammary infections in dairy cows: genotyping of isolates. Veterinary Microbiology. 178(3): 270-274.

Okolie, C. E., K. G. Wooldridge, D. P. Turner, A. Cockayne, and R. James. 2015. Development of a heptaplex PCR assay for identification of Staphylococcus aureus and CoNS with simultaneous detection of virulence and antibiotic resistance genes. BMC Microbiology. 15: 1–7.

Taechowisan, T., N. Mungchukeatsakul, and W. S. Phutdhawong. 2018. Antimicrobial Resistance Pattern of Staphylococcus aureus Strains Isolated from Clinical and Hospital Environment specimens and Their Correlation with PCR-based Approaches. Research Journal of Microbiology. 13(2): 100–118.