ผลของรูปแบบยีน cGH, IGF-I, VIPR-1 และ PRL ต่อลักษณะการสืบพันธุ์และการให้ผลผลิตไข่ในไก่พื้นเมืองลูกผสม

Main Article Content

อนุวัฒน์ จันดามุก
สจี กัณหาเรียง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหารูปแบบของยีน cGH, IGF-I, VIPR-1 และ PRL และความสัมพันธ์ของรูปแบบยีนต่อลักษณะการสืบพันธุ์และการให้ผลผลิตไข่ในไก่พื้นเมืองลูกผสม จำนวน 192 ตัว ตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน cGH, IGF-I, VIPR-1 และ PRL ด้วยเทคนิค PCR-RFLP และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Proc GLM ผลการศึกษา พบประชากรไก่ที่ศึกษามีความถี่จีโนไทป์ของยีน cGH คือ AA, AG, และ GG มีค่าเท่ากับ 0.115, 0.526 และ 0.359 ตามลำดับ ความถี่จีโนไทป์ของยีน IGF-I คือ AA, AC และ CC มีค่าเท่ากับ  0.171, 0.471 และ 0.358 ตามลำดับ ความถี่จีโนไทป์ของยีน VIPR-1 คือ CC, CT และ TT มีค่าเท่ากับ 0.175, 0.246 และ 0.579 ตามลำดับ และความถี่จีโนไทป์ของยีน PRL คือ ID และ DD เท่ากับ 0.100 และ 0.900 ตามลำดับ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบความสัมพันธ์รูปแบบจีโนไทป์ของยีน cGH และ IGF-I กับลักษณะการสืบพันธุ์ และการให้ผลผลิตไข่ในไก่พื้นเมืองลูกผสม (P<0.05) โดยยีน cGH พบกลุ่มไก่ที่มีจีโนไทป์ AG มีน้ำหนักไข่ฟองแรกสูงสุด (38.44 ± 0.89 กรัม) เมื่อเทียบในกลุ่มจีโนไทป์ AA (37.05±1.57 กรัม) และ GG (35.00±1.11 กรัม) ยีน IGF-I พบกลุ่มไก่ที่มีจีโนไทป์ CC มีค่าเฉลี่ยผลผลิตไข่เมื่อแม่ไก่อายุได้ 270 วันสูงสุด (70.25±4.74 ฟอง) เมื่อเทียบในกลุ่มจีโนไทป์ AA (53.20 ± 5.82 ฟอง) และ AC (61.20±4.18 ฟอง) นอกจากนี้แม่ไก่ที่มีรูปแบบจีโนไทป์ CC ยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับผลผลิตไข่เมื่อแม่ไก่อายุได้ 300 วันสูงสุด เท่ากับ (85.08±5.57 ฟอง) เมื่อเทียบในกลุ่มจีโนไทป์ AA (64.04±6.79 ฟอง) และ AC (76.71±4.83 ฟอง) แต่จากการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์รูปแบบจีโนไทป์ของยีน VIPR-1 และ PRL กับลักษณะการสืบพันธุ์และการให้ผลผลิตไข่ (P>0.05) ในไก่พื้นเมืองลูกผสม การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ายีน cGH และ IGF-I น่าจะมีบทบาทเกี่ยวข้องกับลักษณะทางการสืบพันธุ์ และการให้ผลผลิตไข่ ดังนั้นรูปแบบจีโนไทป์ของทั้ง 2 มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเครื่องหมายทางพันธุกรรมสำหรับการปรับปรุงการให้ผลผลิตไข่ในไก่พื้นเมืองลูกผสมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ทองสา บัวสุข, มนต์ชัย ดวงจินดา, ยุพิน ผาสุข, และ สจี กัณหาเรียง. 2557. รูปแบบของยีน cGH, IGF-1, ApoB2, ApoVLDL-II และ FASN กับน้ำหนักตัวและระดับคอเลสเตอรอลในพลาสมาของไก่พื้นเมืองไทยลูกผสม. แก่นเกษตร. 42(3): 357-368.

นิกร ปรีชา, รังสรรค์ เจริญสุข, ทศพร อินเจริญ, สนธยา นุ่มท้วม, นิทัศน์ วิชาสิทธิ์, และ ธิติมา เพ็ชรคง. 2560. ความหลากหลายทาง พันธุกรรมของยีน cGH, MC5R, IGFBP2 และ IGF-1 และความสัมพันธ์กับลักษณะการเจริญเติบโตในไก่เล็กฮอร์นขาวและโรดไอร์แลนด์แดง. แก่นเกษตร. 45(ฉบับพิเศษ 1): 783-789.

บัญญัติ เหล่าไพบูลย์. 2561. “ไก่ไร้เก๊าท์” ผลงานวิจัย ม.ขอนแก่น ยกระดับขึ้นพรีเมี่ยมฟูด กินแล้วไม่เป็นเก๊าท์. แหล่งข้อมูล: https://www.77kaoded.com/content/70412. ค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2562.

ศรีนวล คณานิตย์, มนต์ชัย ดวงจินดา, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, และ ปรัชญาพร เอกบุตร. 2553. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน Vasoactive Intestinal Peptide Receptor-1 (VIPR-1) ในไก่ชี ไก่ประดู่ และไก่เล็กฮอร์น. แก่นเกษตร. 38(ฉบับพิเศษ): 85-89.

สจี กัณหาเรียง, ทองสา บัวสุข, มนต์ชัย ดวงจินดา, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ และยุพิน ผาสุข. 2561. ความสัมพันธ์ของยีน cGH, VIPR-1, FASN และ IGF-1 ต่อน้ำหนักตัว และขนาดรอบอกในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชี เคเคยู 12. แก่นเกษตร. 46(4): 721-732.

สุกัญญา เจริญศิลป์, มนต์ชัย ดวงจินดา, สุภร กตเวทิน, และ พรรณวดี โสพรรณรัตน์. 2555. การตรวจหาเครื่องหมายพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับลักษณะการให้ผลผลิตไข่ ในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำและพันธุ์ชี. แก่นเกษตร. 40: 257-268.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2561. ยุทธศาสตร์ชาติ. แหล่งข้อมูล: https://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2562.

อนุวัฒน์ จันดามุก. 2563. การศึกษาเครื่องหมายพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ในพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่มุกอีสาน 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Chaiseha, Y., O. M. Youngren, and M.E. El Halawani. 2004. Expression of vasoactive intestinal peptide receptor messenger RNA in the hypothalamus and pituitary throughout the turkey reproductive cycle. Biology of Reproduction. 70: 593-599.

Cui, J.X., H.L. Du, Y. Liang, X.M. Deng, N. Li, and X.Q. Zhang. 2006. Association of polymorphism in the promoter region of chicken prolactin with egg production. Journal of Poultry Science. 85: 26-31.

Dekkers, J.C.M. 2004. Commercial application of marker-and gene-assisted selection in livestock: Strategies and lessons. Journal of Animal Sciences. 82: E313-E328.

Feng, X.P., U. Kuhnlein, S.E. Aggrey, J.S. Gavora, and D. Zadworny. 1997. Trait association of genetic markers in the growth hormone and the growth hormone receptor gene in a white leghorn strain. Journal of Poultry Science. 76: 1770-1775.

Goodwin, W., L. Adrian, and H. Sibte. 2007. An Introduction to Forensic Genetics. John Wiley and Sons Ltd, Oxford.

Jaturasitha, S., T. Srikanchai, M. Kreuzer, and M. Wicke. 2008. Differences in carcass and meat characteristics between chicken indigenous to northern Thailand (Black-boned and Thai native) and imported extensive breeds (Bresse and Rhode Island Red). Journal of Poultry Science. 87(1): 160-169.

Jiang, R.S., L.L. Zhang, Z.Y. Geng, T. Yang, and S.S. Zhang. 2009. Single nucleotide polymorphisms in the 5’-flanking region of the prolactin gene and the association with reproduction traits in geese. South African Journal of Animal Science. 39: 83-87.

Jiang, R.S., X.Y., Chen, and Z.Y. Geng. 2010. Broodiness, egg production, and correlations between broody traits in an indigenous chicken breed. Journal of Poultry Science. 89: 1094-1096.

Monget. P., S. Fabre, P. Mulsant, F. Lecerf, J.M. Elsen, S. Mazerbourg, C. Pisselet, and D. Monniaux. 2002. Regulation of ovarian folliculogenesis by IGF and BMP system in domestic animals. Domestic Animal Endocrinology. 23: 139-154.

Ngu, N.T., N.H. Xuan, C.T. Vu, N.T. An, N.T. Dung, and N.T.H. Nhan. 2015. Effects of genetic polymorphisms on egg production in indigenous noi chicken. Journal of Experimental Biology and Agricultural Sciences. 3(6): 487-493.

Nguyen, A.T.L., S. Kunhareang, and M. Duangjinda. 2015. Association of chicken growth hormones and insulin-like growth factor gene polymorphisms with growth performance and carcass traits in Thai broilers. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 28(12): 1686-1695.

Nie, Q., B. Sun, D. Zhang, C. Luo, N.A. Ishag, M. Lei, G. Yang, and X. Zhang. 2005. High diversity of the chicken growth hormone gene and effects on growth and carcass traits. Journal of Heredity. 96: 698-703.

Prajan, S., P. Na-Lampang, P. Kaewsatuan, S. Homkhachon, W. Khosinklang, and A. Molee. 2015. The effect of genes on egg production in female line and growth performance of its progeny. Khon Kaen Agriculgure Journal. 43 SUPPL. 2: 165-168.

Roberts. R.D., P.J. Sharp, D.W. Burt, and C. Goddard. 1994. Insulin-like growth factor-1 in the ovary of the laying hen:gene expression and biological actions on granulosa and fecal cell. General and Comparative Endocrinology. 93: 327-336.

SAS. 1998. User’s Guide: V.6.12. SAS Institute Inc., Cary, NC.

Xu, H.P., H. Zeng, D.X. Zhang, X.L. Jia, C.L. Luo, and M.X. Fang. 2011. Polymorphisms associated with egg number at 300 days of age in chickens. Genetics and Molecular Research Journal. 10(4): 2279-2289.

Zhou, H., A.D. Mitchell, J.P. McMurtry, C.M. Ashwell, and S.J. Lamont. 2005. Insulin-like growth factor-I gene polymorphism associations with growth, body composition, skeleton integrity, and metabolic traits in chickens. Journal of Poultry Science. 82: 9-16.

Zhou, M., F.F. Liang, Y.S. Rao, H. Zeng, D.X. Zhang, and X.Q. Zhang. 2008. Association of twelve polymorphisms of the VIPR-1 gene with chicken early egg production traits. Chinese Journal of Animal and Veterinary Sciences. 39: 1147-1152.