ประสิทธิภาพการใช้ชันโรงขนเงิน (Tetragonula pagdeni Schwarz) ในการผสมเกสรเมล่อนในสภาพโรงเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
: การปลูกเมล่อนในโรงเรือนโดยทั่วไปจำเป็นต้องใช้แรงงานคน ช่วยผสมเกสร การศึกษานี้ มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชันโรงในการช่วยผสมเกสรให้กับเมล่อนในโรงเรือน ดำเนินการโดยแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมปรับตัวในโรงเรือน ของชันโรง โดยวางรังชันโรง จำนวน 3 รัง ในโรงเรือนขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 38 เมตร สูง 3 เมตร อุณหภูมิเฉลี่ย 30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 68 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 3 วัน การทดลองที่ 2 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของชันโรงขนเงินในการผสมเกสรเมล่อนในโรงเรือนโดยวางแผนการทดลองแบบ completely randomized design (CRD) มี 3 ซ้ำ 4 วิธีการผสมเกสร คือ 1) ใช้ชันโรงขนเงิน 2) ใช้มือผสมเกสร 3) ใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต และ 4) การผสมแบบปิด การทดลองที่ 3 การทดสอบคุณภาพเมล็ดที่ได้จากวิธีการผสมทั้ง 3 แบบโดยวิธีการเพาะระหว่างชั้นกระดาษเพาะ ผลการทดลองพบการบินเข้าออก การบินชนโครงสร้างโรงเรือน การลงตอมดอกทั้ง 2 เพศ ในวันแรกและมากขึ้นในวันที่ 2 และ3 การเปรียบเทียบการผสมเกสรพบว่า ไม่มีการติดผลจากการผสมแบบปิด แต่เปอร์เซ็นต์การติดผลจากวิธีใช้มือผสมเกสร การใช้ชันโรงขนเงิน และการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างกัน แต่เปอร์เซ็นต์ผลสมบูรณ์จากวิธีการใช้มือ และชันโรงขนเงินผสมเกสร ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติแต่แตกต่างทางสถิติ กับวิธีการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต ส่วนเมล็ดจากการใช้ชันโรงผสมเกสร มีเปอร์เซ็นต์การงอกที่ไม่แตกต่างทางสถิติกับการ การใช้มือผสมเกสร แต่แตกต่างทางสถิติกับการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต โดยมีดัชนีการงอกที่แตกต่างทางสถิติกับอีกทั้ง 2 วิธีการผสมเกสร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกพร บุญญะอติชาติ, นาตยา มนตรี และรัตนาภรณ์ สุดมี. 2555. ปัจจัยการปลูกต่อการติดผล และรูปทรงผลของแตงกวาญี่ปุ่น (Cucumis sativus L.) ในระบบการปลูกพืชไร้ดิน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 15(ฉบับพิเศษ 3): 200-206.
กิตติพงษ์ กิตติวัฒน์โสภณ, พินิจ กรินท์ธัญญกิจ และกัลยาณี สุวิทวัส. 2557. ผลของการใช้สาร GA3 และ CPPU ที่มีต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลองุ่นไม่มีเมล็ดพันธุ์ Marroo Seedless. แก่นเกษตร. 42(ฉบับพิเศษ 3): 70-74.
เฉลิมขวัญ เกตุมณี . 2552. การใช้ผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera L.) และชันโรง (Trigona laeviceps Smith) ในการผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิตของสตรอเบอรี่ (Fragaria x ananassa Duch.) พันธุ์ 329. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์. 2557. ชันโรง สื่อผสมเกสรที่มีประสิทธิภาพ. แหล่งข้อมูล: https://www.nstda.or.th/th/nstda-r-and-d/606-stingless-bee. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2563.
ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์, ละไม ยะปะนัน, จิตติมา ตั้งศิริมงคล และสุชาดา โทพล. 2560. ประสิทธิภาพการผสมเกสรของชันโรงขนเงิน (Tetragonula pagdeni) ในการเพิ่มผลผลิตมะระจีนในสภาพไร. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. 10: 171-186.
ธนากร บุณกล่ำ, พฤหัส ศรีขวัญ, พิมพ์นิภา เพ็งช่าง, ธีร์ หะวานนท์ และภาสันต์ ศารทูลทัต. 2559. ผลของ GA3, NAA และ CPPU ต่อขนาดและคุณภาพผลแก้วมังกร ‘แดงสยาม’. แก่นเกษตร. 44(ฉบับพิเศษ 1): 888-891.
ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ. 2545. การปลูกแตงเทศ . เอกสารเผยแพร่ สานักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .
ธีรพงษ์ อาจภักดี และอัญชลี สวาสดิ์ธรรม. 2562. พฤติกรรมและการปรับตัวของชันโรงขนเงิน (Tetragonula pagdeni) ในสภาพโรงเรือนที่แตกต่างกัน. น 540-545. ใน: การประชุมสัมมนาทางวิชาการ ครั้งที่ 12 วันที่ 26-28 มิถุนายน 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. ชลบุรี.
นิพนธ์ ไชยมงคล. 2528. พืชตระกูลแตง. สาขาพืชผัก ภาควิชาเทคโนโลยีทางพืช สถาบันเทคโนโลยีเกษตรแม่โจ้. เชียงใหม่.
พีรเดช ทองอำไพ. 2529. ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
พงษ์ศักดิ์ จินฤทธิ์. 2549. ความหลากหลาย และขยายพันธุ์ชันโรง (Trigona spp.) เพื่อช่วยผสมเกสรให้กับลิ้นจี่ในโครงการทองผาถูมิ 72 พรรษามหาราช อ. ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
ภาสันต์ ศารทูลทัต, พิมพ์นิภา เพ็งช่าง, ธนากร บุญกล่ำ และกัลป์ยานี สุวิทวัส. 2558. ผลของ GA3 และ CPPU ต่อขนาดและคุณภาพผลสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย. วิทยาศาสตร์เกษตร. 46(พิเศษ 3): 161-164 .
ละอองดาว สุ่มทา, นิลาวัลย์ ลอยลม และจตุพร จุฑาเพ็ชร. 2556. ประสิทธิภาพของผึ้งพันธุ์ต่อการผสมเกสรแตงกวาพันธุ์ลูกผสม. ปัญหาพิเศษ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
สมศักดิ์ บุญไทย และอัญชลี สวาสดิ์ธรรม. 2557. ความหลากหลายของแมลงผสมเกสรเงาะพันธุ์สีทอง. แก่นเกษตร. 42(ฉบับพิเศษ 3): 287-291.
Ainalidou, A, G. Tanou, M. Belghazi, M. Samiotaki, G. Diamantidis, A. Molassiotis, and K. Karamanoli. 2016. Integrated analysis of metabolites and proteins reveal aspects of the tissue-specific function of synthetic cytokinin in kiwifruit development and ripening. Journal of Proteome. 143: 318–333.
Bomfim, I.G.A., A.D. Bezerra, A.C. Nunes, F.A.S. Aragao, and B.M. Freitas. 2014. Adaptive and Foraging Behavior of Two Stingless Bee Species (Apidae:Meliponini) in Greenhouse Mini Watermelon Pollination. Sociobiology. 61: 502-509.
Cruz, D.O., B.M. Freitas, B.M. Silva, L.A. Silva, and I.G.A. Bomfim. 2004. Adaptation and behavior of grazing of the jandaira bee (Melipona subnitida Ducke) in environment. Acta Scientiarum - Animal Sciences. 26: 293-298.
Cruz, D.O, B.M. Freitas, L. Silva, E.M. Silva. I.G. Abrahao, and I.G.A. Bomfim. 2005. Pollination efficiency of the stingless bee Melipona subnitida on greenhouse sweet pepper. Pesquisa Agropecuária Brasileira. 40: 1197-1201.
Cruz-Castillo, J.G., A. Baldicchi. T. Frioni. F. Marocchi. S. Moscatello. S. Proietti, D. A. Battistelli, and F. Famiani. 2014. Pre-anthesis CPPU low dosage application increases ‘Hayward’ kiwifruit weight without affecting the other qualitative and nutritional characteristics. Food Chemistry. 158: 224–228.
Darrach, M., and S. Page 2016. Statistical Overview of the Canadian Honey and Bee Industry and the Economic Contribution of Honey Bee Pollination 2013-2014. Agriculture and Agri-Food Canada. 12447E: 16-19.
Qian, C., N. Ren, J. Wang, Q. Xu, X. Chen, and X. Qi. 2018. Effects of exogenous application of CPPU, NAA and GA4+7 on parthenocarpy and fruit quality in cucumber (Cucumis sativus L.). Food Chemistry. 243: 410–413.
Free, J.B. 1993. Insect pollination of crops. New York: Academic Press.
Huitron, M.V., M. Diaz, F. Dianaz, and F. Camacho. 2007. Effect of 2, 4- D and CPPU on triploid water melon production and quality. Horticultural Science. 42: 559-564.
ISTA. 2008. International Rules for Seed Testing Rules. International Seed Testing Association. Zurich. Switzerland.
ISTA. 2014. International Rules for Seed Testing Rules. International Seed Testing Association. Brassersdorf. Switzerland.
Luo, J., L. Guo, Y. Huang, C. Wang, C. Qiao, R.Pang, J. Li, T.Pang, R. Wang, H. Xie, and J. Fang. 2017. Transcriptome analysis reveals the effect of pre-harvest CPPU treatment on the volatile compounds emitted by kiwifruit stored at room temperature. Food Research International. 102: 666–673.
Lopez-Galarza, S., A.S. Bautista, D.M. Perez, A. Miguel, C. Baixaul, B. Pascual, S.V. Maroto and J.L. Guardiola. 2004. Effect of grafting and cytokinin-induced fruit setting on colour and sugar-content traits in glasshouse-grown triploid water melon. Journal of Horticultural Science and Biotechnology. 79: 971-976.
Malagodi-Braga, K.S. 2002. Study of pollinating agents in strawberry culture. (Fragaria x ananassa Duch. – Rosaceae). University of São Paulo.
Sawathum, A. 2004. Stingless bee keeping in Thailand. In Proceeding of the 8th IBRA International Conference on Tropical bees and VI Encontro Sobre Abelhas. Rebreo Preto Brazil 6-10 September 2004.
Shin, Y.S, S.D Park, and J.H. Kim. 2007. Influence of pollination methods on fruit development and sugar contents of oriental melon (Cucumis melo L. cv. Sagyejeol-Ggul). Scientia Horticulturae. 12: 388–392.