การปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะต้นข้าวโพดแห้งหมักด้วยเชื้อรา Trichoderma viride UP15 แบบเหลวที่ผลิตเอนไซม์ย่อยเยื่อใยพืชร่วมกับจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลคติก

Main Article Content

ศุภคม คล้ายโตนด
เยาวลักษณ์ แหม่งปัง
ชัยณรงค์ วงศ์สรรศรี
โชค โสรัจกุล
ขรรค์ชัย ดั้นเมฆ
รวิสรา รื่นไวย์

บทคัดย่อ

การคัดแยกเชื้อราที่ผลิตเอนไซม์ย่อยเยื่อใยพืชจากบริเวณที่ปลูกข้าวโพดพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นหัวเชื้อหมักเพิ่มโภชนะต้นข้าวโพดแห้งหลังการเก็บเกี่ยวที่ไม่มีเมล็ดสำหรับเป็นอาหารสัตว์ ผลการทดลองพบว่าเชื้อรา Trichoderma viride UP15 สามารถผลิตเอนไซม์ย่อยเยื่อใยพืช (เซลลูเลส และไซแลนเนส) ได้มีประสิทธิภาพสูงสุด การศึกษานี้ทำการปรับสภาวะที่เหมาะสมในการปรับปรุงโภชนะ ดังนี้ คือ ต้นข้าวโพดแห้งที่ความชื้นเริ่มต้น 70 เปอร์เซ็นต์ ค่า pH เริ่มต้น 6.0-7.0 เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ 0.2 เปอร์เซ็นต์ และหมักที่อุณหภูมิห้องซึ่งมีค่าเฉลี่ย 30 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 21 วัน โดยใช้การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ซึ่งทำการทดลองโดยมีการเติมหัวเชื้อทั้งสี่แบบดังต่อไปนี้ คือ ไม่เติมจุลินทรีย์เป็นชุดควบคุม (T0) เติมจุลินทรีย์ Lactobacillus plantarum (T1) เติมจุลินทรีย์ Trichoderma viride UP15 (T2) และเติมจุลินทรีย์ผสมระหว่าง L. plantarum ร่วมกับ T. viride UP15 ในอัตราส่วน 1:1 (T3)       ผลการทดลองพบว่า ต้นข้าวโพดแห้งหมักที่มีการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (T2 และ T3) มีปริมาณโปรตีนสูงขึ้น และมีค่าเยื่อใยต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (T0) (P<0.05) ารวิเคราะห์กรดไขมันที่ระเหยได้จากต้นข้าวโพดแห้งหมักพบว่า กรดแลคติกมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเฉพาะในต้นข้าวโพดแห้งหมักด้วยจุลินทรีย์ผสม T3 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่การหมักต้นข้าวโพดแห้งด้วยหัวเชื้อแบบเหลวที่ผลิตเอนไซม์ย่อยเยื่อใยพืชและจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลคติกจึงเป็นวิธีการช่วยปรับปรุงคุณภาพและคุณค่าทางโภชนะต้นข้าวโพดแห้งได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมปศุสัตว์. 2547. มาตรฐานพืชอาหารสัตว์หมัก. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ.

กวินทรา แข่งขัน, ทศวรรต อะโนราช, พยุงศักด์ อินต๊ะวิชา, สมชาติ ธนะ, โชค โสรัจกุล และขรรค์ชัย ดั้นเมฆ. 2558. การยับยั้งอะฟลา ทอกซิน บี 1 โดยการใช้สายพันธุ์ไม่ผลิตสารพิษของเชื้อรา Aspergillus flavus. วารสารเกษตร. 31(1): 47–57.

จินดา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. 2539. ข้าวโพดและเศษเหลือจากข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2539. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. กรุงเทพฯ.

ชัยวัฒน์ สิงห์ชัย, ชัยณรงค์ วงค์สรรศรี, สมชาติ ธนะ, โชค โสรัจกุล และขรรค์ชัย ดั้นเมฆ. 2562. ผลของการใช้ฟักทองหมักร่วมกับรำข้าวในอาหารต่อประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพของเนื้อไก่พื้นเมือง. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 36(2): 45-57.

ทิพาพร ชาญปรีชา, พรพรรณ แสนภูมิ, จันทร์จิรา สิทธิยะ และสุภาวดี ฉิมทอง. 2559. ผลของชนิดหญ้าต่อคุณภาพน้ำหมัก. แก่นเกษตรฉบับพิเศษ. 44(1): 19-24.

พิมพ์ชนา วงศ์พิศาล, พรศิลป์ สีเผือก, ชัยสิทธิ์ ปรีชา และวุฒิชัย สีเผือก. 2559. การคัดเลือกเชื้อราที่ผลิตเอนไซม์เซลลูเลสและไซแลนเนส จากซากใบปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq.). แก่นเกษตรฉบับพิเศษ. 44(1): 948-952.

สมสุข พวงดี. 2544. การผลิตหญ้ารูซี่หมักคุณภาพสูง: การประเมินคุณค่าโภชนะและความต้องการ พลังงานและโปรตีนของโครีดนมลูกผสมขาวดำ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

สีอุดม ลั่งสุมีไชย, ไกรสิทธิ วสุเพ็ญ, เฉลิมพล เยื้องกลาง, เบญญา แสนมหายักษ์ และเสมอใจ บุรีนอก. 2560. ผลของการเสริมเอนไซม์ไซแลนเนสและเซลลูเลสจากกากมะเขือเทศแห้งที่ หมักโดย Aspergillus niger ที่ระดับต่างๆต่อคุณภาพการหมักและคุณค่าทางโภชนะของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หมัก. แก่นเกษตรฉบับพิเศษ. 45(1): 729-734.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. แหล่งข้อมูล : http://www.oae.go.th/assets /portals/1/fileups/ prcaidata/files/maize%20province%2062.pdf. ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2564.

ไอยวริญ ใจคำ, ชัยณรงค์ วงค์สรรศรี, โชค โสรัจกุล และขรรค์ชัย ดั้นเมฆ. 2563. การประยุกต์ใช้ เชื้อรา Aspergillus terreus C411 ที่ผลิตเอนไซม์เซลลูเลสหมักเพิ่มโภชนะของฟักทองเพื่อใช้เป็นอาหารไก่กระดูกดำปาปาซุง. น. 404-413. ใน: ประชุมวิชาการและนวัตกรรมสร้างสรรค์ CRCI ครั้งที่ 6 2-3 กันยายน 2563. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, เชียงใหม่.

Adesogan, A.T., N. Krueger, M. B. Salawu, D. B. Dean, and C.R. Staples. 2004. The influence of treatment with dual purpose bacterial inoculants or soluble carbohydrates on the fermentation and aerobic stability of Bermuda grass. Journal of Dairy Science. 87: 3407-3416.

ANKOM Technology. 2017. In vitro True Digestibility using the DAISY II Incubator. Available source: https://www.ankom.com/sites/default/files/documentfiles/Method_3_Invitro_ D200_D200I.pdf. May 10 2019.

AOAC. 2016. Official Methods of Analysis of AOAC International 20th ed. Maryland.

Bal, M.A., J.R. Coors., and Shaver R.D. 1997. Impact of the maturity of corn for use as silage in the diets of dairy cow on intake, digestion and milk production. Journal of Dairy Science. 80: 2497-2503.

Barnet, H.L., and Hunter, B.B. 2006. Illustrated genera of imperfect fungi. 4th ed. The American Phytopathological Society. Minnesota, USA.

Danmek, K., P. Intawicha, S. Thana, C. Sorachakula, M. Meijer, and R.A. Samson. 2014. Characterization of cellulase producing from Aspergillus melleus by solid state fermentation using maize crop residues. African journal of Microbiology Research. 8(24): 2397-2404.

Dean, D.B., A.T. Adesogan, N.K. Krueger, and R.C. Littell. 2005. Effect of fibrolytic enzymes on the fermentation characteristics aerobic stability and digestibility of bermudagrass silage. Journal of Dairy Science. 88: 994-103.

Department of Livestock Development. 2004. Table of Nutritive Values Database of Feed Stuffs. The guidance document. Department of Livestock, Ministry of Agriculture and Cooperatives. Bangkok.

Ghose, T.K. 1987. Measurement of cellulase activities. Pure and Applied Chemistry. 59: 257-268.

Ghose, T.K., and V.S. Bisaria. 1987. Measurement of hemicellulose activities Part 1: Xylanase. Pure and Applied Chemistry. 59(2): 1739-1752.

Hou, M., G. Gentu, T. Liu, Y. Jia, Y. Cai. 2017. Silage preparation and fermentation quality of natural grasses treated with lactic acid bacteria and cellulase in meadow steppe and typical steppe. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 30(6): 788-796.

Hristov, A.N., T.A. Mc Allister, and K.J. Cheng. 2000. Intra ruminal supplementation with increasing levels of exogenous polysaccharide-degrading enzymes: Effects on nutrient digestion in cattle fed a barley grain diet. Journal of Animal Science. 78: 477-487.

Khota, W., S. Pholsen, D. Higgs, and Y. Cai. 2018. Comparative analysis of silage fermentation and in vitro digestibility of tropical grass prepared with Acremonium and Tricoderma species producing cellulases. Journal of Animal Science. 31: 1913-1922.

Klich, M.A. 2002. Identification of Common Aspergillus species. The Netherlands: Centraalbureau Voor Schimmelcultures.

Klich, M.A. 2007. Environmental and developmental factors influencing aflatoxin production by Aspergillus flavus and Aspergillus parasiticus. Mycoscience 48: 71-80.

Kung, J.R., L. Shaver, R.D. Grant, and R.J. Schmldt. 2018. Silage review: interpretation of chemical, microbial, and organoleptic components of silages. Journal of Dairy Science. 101: 4020-4033.

Miller, G.L. 1959. Use of dinitrosalicylic acid reagent for determination of reducing sugar. Analytical Chemistry. 31: 426-428.

Morgavi, D.P., K.A. Beauchemin, V.L. Nsereko, L.M. Rode, A.D. Iwaasa, W.Z. Yang, T.A. McAllister, and Y. Wang. 2000. Synergy between the ruminal fibrolytic enzymes and enzymes from Trichoderma longibrachiatum. Journal of Dairy Science. 83: 1310–1321.

Muck, R.E., and L.J.R. Kung. 1997. Effects of silage additives on ensiling. pp. 187-199. In proceedings from the silage: Field to Feedbunk North American Conference, Hershey, 11-13 February 1997, NRAES-99.

Newbold, J. 1997. Proposed mechanisms for enzymes as modifiers of ruminal fermentation. pp. 146-159. In proceedings of the 8th Annual Florida Ruminant Nutrition Symposium. Gainesville. Florida.

Nitisinprasert, S., P. Bunyeun, T. Jaided, R. Chatthong, and A. Jarerat. 2001. Three effective lactic acid bacteria optimizing grass silage fermentation. P.365. In Abstract of Bio-Thailand 2001: From Research to Market. 7 - 10 November, 2001. Queen Sirikit National Convention Center. Bangkok.

Soest V.P.J., J.B. Robertson, and B.A. Lewis. 1991. Methods for dietary fibre, neutral detergent fibre and non-starch polysaccharides in relation to animal nutrition. Journal of Dairy Science. 74: 3583–3597.

Steel, R. G. D., and J. H. Torrie. 1990. Prinsip dan Prosedur Statistik. Suatu Pendekatan Biometrik. Alih Bahasa Ir.B. Soemantri. Ed II. Gramedia Jakarta.

Sternberg, D. 1976. Beta-glucosidase of Trichoderma: its biosynthesis and role in saccharification of cellulose. Applied and Environmental Microbiology. 31(5): 648-654.

Tao, L., Z. Yu., X.S. Guo, and H. Zhou. 2011. Ensiling and in vitro digestibility characteristics of Ceratoides arborescens treated with lactic acid bacteria inoculants. African Journal of Biotechnology. 10(66): 14947-14953.

Thana, S., T. Tosawat, C. Sorachakula, and K. Danmek. 2019. Nutrition composition of maize silage generated from solid state fermentation by Trichoderma viride UP01. Pakistan Journal of Botany. 51(6): 2255-2260.