ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตในไก่กระดูกดำเคยู-ภูพาน

Main Article Content

ภานุวัฒน์ คัมภีราวัฒน์
บดินทร์ วงศ์พรหม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตในไก่กระดูกดำเคยู-ภูพาน ชุดข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ประกอบด้วยพันธุ์ประวัติและข้อมูลลักษณะปรากฏ ได้แก่ น้ำหนักแรกเกิด (BW0), น้ำหนักที่อายุ 4 สัปดาห์ (BW4), น้ำหนักที่อายุ 8 สัปดาห์ (BW8) น้ำหนักที่อายุ 12 สัปดาห์ (BW12) ความยาวรอบอกที่อายุ 12 สัปดาห์ (Br12) และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันในช่วง 0-12 สัปดาห์ (ADG0-12) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองสัตว์หลายลักษณะ (multiple-trait)                   โดยจำแนกปัจจัยคงที่ออกเป็นอิทธิพลคงที่เนื่องจากเพศ และอิทธิพลเนื่องจากกลุ่มการจัดการ ได้แก่ ชั่วรุ่น และชุดฟัก ส่วนปัจจัยสุ่มจำแนกเป็นอิทธิพลสุ่มเนื่องจากตัวสัตว์และความคลาดเคลื่อน เทคนิค REML ถูกมาใช้เพื่อประมาณค่าองค์ประกอบความแปรปรวนเพื่อนำไปคำนวณค่าอัตราพันธุกรรมและสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม ผลการศึกษา พบว่า ค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะ BW0, BW4, BW8, BW12, Br12 และ ADG0-12 มีค่าในระดับปานกลางถึงสูง (0.24-0.73) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางถึงสูง (0.25 – 0.98) ซึ่งจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตในไก่กระดูกดำเคยู-ภูพานด้วยวิธีการคัดเลือกทางพันธุกรรมโดยสามารถพิจารณาปรับปรุงลักษณะน้ำหนักตัวได้ตั้งแต่อายุ 4 สัปดาห์ขึ้นไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ชนัดดา สุวรรณวิชนีย์. 2559. การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของน้ำหนักตัว และระดับความดำของผิวหนังในไก่กระดูกดำฝูงมหาวิทยาลัยแม่โจ้. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.

นัฐพงษ์ หวังทวีสุขกมล, วิริยา ลุ้งใหญ่, บุญอ้อม โฉมที และ พรรณวดี โสพรรณรัตน์. 2556. พารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะน้ำหนักตัวในไก่เบตง (สายเคยู). วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 44(ฉบับพิเศษ 1): 167-170.

พิริยาภรณ์ สังขปรีชา, มนต์ชัย ดวงจินดา, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ และ วุฒิไกร บุญคุ้ม 2558. การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของสมรรถนะการเจริญเติบโตในไก่ดำสายพันธุ์ต่างๆ และลูกผสมไก่ดำ. แก่นเกษตร. 43(2): 309-318.

ภานุวัฒน์ คัมภีราวัฒน์. 2558. ไก่ดำเคยู-ภูพาน ทางเลือกใหม่ของเกษตรกร. ข่าวสารเกษตรศาสตร์. 61(1): 53-58.

วุฒิชัย เคนไชยวงศ์, มนต์ชัย ดวงจินดา, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ และ เทวินทร์ วงษ์พระลับ. 2550. การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชี. วารสารเกษตร. 23(3): 253-261.

สุธาทิพย์ ไชยวงศ์, วุฒิกร สระแก้ว, พงษ์นรินทร์ คิสเคียน, ธีรพงษ์ จันทบาล และ เกชา คูหา. 2558. การศึกษาประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและลักษณะซากของไก่ลูกผสมพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์เบตง. แก่นเกษตร. 43(ฉบับพิเศษ 1): 499-504.

หนึ่งฤทัย พรหมวาที, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, เทวินทร์ วงษ์พระลับ, วุฒิไกร บุญคุ้ม และ มนต์ชัย ดวงจินดา. 2555. การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตในไก่ลูกผสมพื้นเมืองไทยสายพันธุ์สังเคราะห์. แก่นเกษตร. 40(ฉบับพิเศษ2): 395-399.

อนุพล พุฒสกุล, ชัยภูมิ บัญชาศักดิ, บุญอ้อม โฉมที, ศานิต เก้าเอี้ยน และ พรรณวดี โสพรรณรัตน์. 2553. ผลของระดับโปรตีนและพลังงานในอาหารต่อการเจริญเติบโตและปริมาณซากในไก่เบตง (สายเคยู). น. 158-166. ใน: การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 3-5 กุมภาพันธ์ 2553. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อำนวย เลี้ยวธารากุล, ดรุณี ณ รังษี, และ ชาตรี ประทุม. 2555. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองไทย ประดู่หางดำเชียงใหม่พันธุ์แท้และลูกผสม. แก่นเกษตร. 40(ฉบับพิเศษ 2): 415-418.

อุดมศรี อินทรโชติ, ไสว นามคุณ และ อำนวย เลี้ยวธารากุล. 2546. การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมืองของท้องถิ่น (ไก่ฟ้าหลวง)สำหรับเลี้ยงในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือของประเทศไทย:1. สมรรถภาพการผลิตและพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของไก่ฟ้าหลวงชั่วอายุที่ 1. น. 434-444. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 41 3-7 กุมภาพันธ์ 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ.

Benyi, K., T. K. Tshilate, A. J. Netshipale, and K. T. Mahlako. 2015. Effects of genotype and sex on the growth performance and carcass characteristics of broiler chickens. Tropical Animal Health and Production. 47(7): 1225–1231.

Chen, S. R., B. Jiang, J. X. Zheng, G. Y. Xu, J. Y. Li, and N. Yang. 2008. Isolation and characterization of natural melanin derived from silky fowl (Gallus gallus domesticus Brisson). Food Chemistry. 111(3): 745–749.

Duangjinda, M., I. Misztal, and S.T. Surata. 2005. BLUPF90 Chicken Pak 2.5. Genetic Evaluation and Simulation Program. Department of Animal and Dairy Science, The University of Georgia and Department of Animal Science, Khon Kaen University.

Jiang, X. S., and A. F. Groen. 2000. A Chicken Breeding with Local Breeds in China - A Review. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 13(10): 1482-1498.

Norris D, and J. W. Ngambi. 2006. Genetic parameter estimates for body weight in local Venda chickens. Tropical Animal Health and Production. 38(7-8): 605-9.

Silva, L. P., J. C. Ribeiro, A. C. Crispim, F. G. Silva, C. M. Bonafé, F. F. Silva, and R. A. Torres. 2013. Genetic parameters of body weight and egg traits in meat-type quail. Livestock Science. 153: 27-32.

Tian, Y., M. Xie, W. Wang, H. Wu, Z. Fu, and L. Lin. 2007. Determination of carnosine in Black-Bone Silky Fowl (Gallus gallus domesticus Brisson) and common chicken by HPLC. European Food Research and Technology. 226(1–2): 311–314.

Tian, Y., S. Zhu, M. Xie, W. Wang, H. Wu, and D. Gong. 2011. Composition of fatty acids in the muscle of black-bone silky chicken (Gallus gellus demesticus brissen) and its bioactivity in mice. Food Chemistry. 126(2): 479–483.

Tu, Y., Y. Z. Sun, Y. G. Tian, M. Y. Xie, and J. Chen. 2009. Physicochemical characterisation and antioxidant activity of melanin from the muscles of Taihe Black-bone silky fowl (Gallus gallus domesticus Brisson). Food Chemistry. 114(4): 1345–1350.

SAS. 1998. SAS User’s Guide. Version 6.12. SAS Institute Inc., Cary, NC.

Yousefi-Zonuz, A., S. Alijani, H. Mohammadi, A. Rafat, and H. Daghigh Kia. 2013. Estimation of genetic parameters for productive and reproductive traits in Esfahan native chickens. Journal of Livestock Science and Technologies. 1: 34-38.