ผลของสูตรอาหาร น้ำตาลซูโครส และไคโตซานต่อการเพิ่มปริมาณต้นเอื้องมัจฉาในหลอดทดลอง

Main Article Content

สุนทรียา กาละวงศ์
ภาณุวัฒน์ ยิ้มย่อง
สุพัตร ฤทธิรัตน์
สกุลรัตน์ สุวรรณโณ
อภิรดี เสียงสืบชาติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้ได้วิธีการที่มีประสิทธิภาพขยายพันธุ์ต้นกล้วยไม้เอื้องมัจฉาในหลอดทดลอง และมีอัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้น คือศึกษาชนิดของสูตรอาหาร ระดับความเข้มข้นของน้ำตาล และผลของสารไคโตซาน โดยการนำโปรโตคอร์มของกล้วยไม้วางเลี้ยงบนอาหาร 3 สูตร คือ อาหารสูตร MS (Murashige and Skoog) ที่ลดความเข้มข้นลงครึ่งหนึ่ง (½ MS) อาหารสูตร VW (Vacin and Went) และอาหารสูตร ND (New Dogashima medium; Tokuhara and Mii) เติมน้ำตาลซูโครส 0.2 % น้ำมะพร้าว 150 มล./ล. และวุ้น 7.5 ก./ล. หลังจากการเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 50 วัน พบว่า สูตรอาหาร VW ให้จำนวนโปรโตคอร์มเฉลี่ยสูงสุด (2.11±0.30 มม.) ความสูงต้นเฉลี่ยสูงสุด (1.51±0.15 ซม.) และจำนวนใบเฉลี่ยสูงสุด (3.52±0.37 ใบต่อต้น) นอกจากนี้พบว่าน้ำตาลที่ระดับความเข้มข้นสูงขึ้นส่งผลให้จำนวนโปรโตคอร์มและการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เพิ่มขึ้น คือ อาหารที่เติมน้ำตาล 7 % ให้จำนวนโปรโตคอร์ม (3.92±0.38 โปรโตคอร์ม) ความสูงต้น (2.85±0.26 มม.) จำนวนใบ (4.91±0.10 ใบ) และจำนวนราก (3.55±0.24 ราก) สูงที่สุด แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.01) สำหรับการใช้สารไคโตซาน พบว่าอาหารที่เติมไคโตซาน เข้มข้น 10 มก./ล.ให้ความยาวรากและอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าชุดควบคุม คือ อาหารที่ไม่เติมไคโตชาน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ไซนีย๊ะ สะมาลา, พลวัต ภัทรกุลพิสุทธิ, และสุรีรัตน์ เย็นช้อน. 2558. การขยายพันธุ์กล้วยไม้สิงโตฟันจักภายใต้สภาวะปลอดเชื้อ. แก่นเกษตร, 43: 277-284.

ไซนีย๊ะ สะมาลา, วินิจชัย พลเดช, ครรชิต ธรรมศิริ, ศศิกานต์ ประสงค์สม, และ ฐกฤต อิ่มสมบรูณ์. 2559. ผลของ BA และน้ำมะพร้าวต่อการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยไม้กะเรกะร่อนด้ามข้าว. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 3: 52-56.

นฤมล ธนานันต์. 2557. การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุ์กรรมของกล้วยไม้สกุลหวายกลุ่มเอื้องสายด้วยเครื่องหมาย แฮตอาร์ดีพี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22: 99-108.


นุชรัฐ บาลลา และอัญชลี จาละ. 2553. การเพิ่มจำนวนกล้วยไม้เอื้องเงินหลวงโดยการตัดแบ่งโปรโตคอร์ม. ใน: การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2553 มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

พรทิพย์ วงศ์แก้ว และศุภลักษณ์ สิงหบุตร. 2548. การศึกษาประสิทธิภาพของไคโตซานในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและสาเหตุโรคสำคัญทางเศรษฐกิจของพืช. ปทุมธานี: ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ปทุมธานี.

ภาวดี เมธะดานนท์. 2544. ความรู้เกี่ยวกับไคติน–ไคโตซาน. ปทุมธานี: ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ปทุมธานี. 10 หน้า.

วันฟิรฮาน บินยามะ, รอยฮัน หะมะ, และสุภาวดี รามสูตร. 2557. ผลของสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เอื้องไอยเรศ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 1: 20-24.

วุฒิชัย ฤทธิ, บุญสนอง ช่วยแก้ว, ปรียาภรณ์ พรหมบางญวน, และศุภลักษณ์ ทักษิน. 2559. ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของต้นอ่อนเอื้องรงรอง. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 3: 8-13.

ศุภาวีร์ แสงจันทร์จิรเดช, และจักรพงศ์ แท่งทอง. 2558. การเพาะเมล็ดเอื้องดอกมะขามในสภาพปลอดเชื้อ. อุบลราชธานี: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.

ศิริลักษณ์ เจริญดี. 2554. การอนุรักษ์และการขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องเงินหลวงโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมพร ประเสริฐส่งกุล. 2555. การใช้ไคโตซานในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. วารสารราชภัฏยะลา, 7: 125-134.

สมพร ประเสริฐส่งสกุล และหาพิส ปุโรง. 2557. ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เอื้องเงินหลวงในหลอดทดลอง. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 42: 127-134.

สุภาวดี รามสูตร, ปรีดา บุญเวศน์, และวริยา นวลนุช. 2558. ผลของสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิดในหลอดทดลอง. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 2: 11-14.

อบฉันท์ ไทยทอง. 2552. กล้วยไม้เมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: บ้านและสวน. กรุงเทพฯ. 214 หน้า.

อนุรักษ์ สันป่าเป้า. 2561. ประสิทธิภาพของไคโตซานต่อการควบคุมโรคใบจุดของต้นกล้าปาล์มน้ำมัน. แก่นเกษตร, 46:1087-1091.

อาทิตยา ชายคีรี และวราภรณ์ ฉุยฉาย. 2560. ผลของสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตของกะเรกะร่อนปากเป็ดในสภาพปลอดเชื้อและผลของปุ๋ยในการอนุบาลหลังออกปลูก. แก่นเกษตร, 45:1197-1202.

Boonkerd, N., S. Chandrkrachang and W.F. Stevens. 1996. Effect of chitin on nodulation and N2 fixation rhizobia-soybean symbiosis, chitin and chitosan. pp. 183-187. In: Proceeding of the second Asia Pacific Symposium, 21-23 November 1996. Bioprocess Technology Program, Asian Institue of Technology, Bangkok, Thailand.

Johnson, M. and N. Janakiraman. 2013. Phytochemical and TLC studies on stem and leaves of the orchid Dendrobium panduratum subsp. villosum Gopalan and A. N. Henry. Indian Journal of Natural Products and Resources, 4: 250–254.

Krasimira, T. and K. Georgina. 2014. The effect of sucrose concentration on in vitro callogenesis of golden root–endangered medicinal plant. Scientific Bulletin Series F. Biotechnologies. 18: 77-82.

Letham, D. S. 1973. Cytokinin from Zea mays. Phytochemistry, 12: 2445-2455.

Murashige, T. and F. Skoog. 1962. A revised medium for rapid growth and bio assays with tobacco tissue cultures. Physiologia Plantarum, 15: 473-497.

Napat, K., M. Chawanphat, T. Wuttinont, K. Virunh, L. Kittisak, R. Pornchai and S. Boonchoo. 2018. A new phenanthrene dimer from Dendrobium palpebrae. Asian Natural Products Research, 25: 1-7.

Prajapati, Ch.N. and N.M. Patel. 2013. Physico-Chemical and Phytochemical Evaluation of Dendrobium macraei Roots. International Journal of Research in Pharmaceutical and Biomedical Sciences, 4: 75–80.

Pornpienpakdee, P., R. Pichyangkura, S. Chadchawan, and P. Limpanavech. 2006. Chitosan effects on Dendrobium ‘Eiskul’ protocorm-like body production. pp 1-3. In: Proceeding of the 31st Congress on Science and Technology of Thailand, 18-20 October 2005, Suranaree University of Technology, Thailand

Suphat, R., T. Kanchit, and T. Sompong. 2012. Effect of media and sucrose concentrations with or without activated charcoal on the plantlet growth of P. cornu-cervi (Breda) Blume & Rchb. f. Journal of Agricultural Technology, 8: 2077-2087.

Shafazila, T. S., M. Pat Lee, T.S. Lee Kong Hung, P.Sh. Lee and L. Hung. 2010. Radical Scavenging Activities of Extract and Solvent Partition Fractions from Dendrobium Sonia “Red Bom” Flower. IEEE International Conference on Science and Social Research, 978: 762–765.

Tapash, K.B. and Md.M. Rahman. 2017. In vitro seed germination and flowering of Dendrobium palpebrae Lindl. orchid. Journal of Global Biosciences, 6: 4748-4757.

Tokuhara, K. and M. Mii. 1993. Micropropagation of Phalaenopsisand Doritaenopsisby culturing shoot tips of flower stalk buds. Plant Cell Report, 13: 7–11.

Vacin, E. and F. Went. 1949. Some pH change in nutrient solution. Botanic Gardens, Conservation News, 110: 605–613.

Van, O.J., M.E. Conklin and A.F. Blakeslee. 1941. Factors in coconut milk essential for growth of development of very young Datura embryo. Science, 94: 350-351.

Yoon, S.H., J.K. Lee, S.Y. Nam, E.Y. Hong, K.Y. Paek and S.W. Son. 2016. Effects of altering medium strength and sucrose concentration on in vitro germination and seedling growth of Cypripedium macranthos Sw. Journal Plant Biotechnology, 43: 132–137.

Zhou, X.M., C.J. Zheng, J.T. Wu and G.Y. Chen. 2017. A new phenolic glycoside from the stem of Dendrobium nobile. Journal Natural Product Research, 1042-1046.