ผลของการเตรียมความพร้อมเมล็ดพันธุ์ ด้วยวิธี Nano-Bubbles priming ต่อการงอกของต้นกล้าดาวเรืองฝรั่งเศส

Main Article Content

สลาลีวัลย์ แน่นแฟ้น
ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ

บทคัดย่อ

การเตรียมความพร้อมเมล็ดพันธุ์โดยวิธี priming ทำให้เมล็ดพันธุ์งอกได้เร็วและสม่ำเสมอมากขึ้น การทดลองนี้ศึกษาผลของการทำ Nano-bubble priming (NB priming) ต่อความงอก ดัชนีความงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าดาวเรืองฝรั่งเศส (Tagetes erecta L.) พันธุ์กำแพงแสน-08-DO เตรียมความพร้อมเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองฝรั่งเศสใหม่และเมล็ดพันธุ์ที่เก็บรักษาไว้ 1 ปี ในน้ำ RO ที่ปรับสภาพเป็นน้ำ NB เป็นเวลา 0 (Hydropriming), 10, 20และ 30 นาที เปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ผ่านการเตรียมความพร้อมของเมล็ดพันธุ์ (ชุดควบคุม) ผลการศึกษา พบว่า การทำ NB priming ช่วยยกระดับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองฝรั่งเศสได้ โดยเมล็ดพันธุ์ใหม่ที่ผ่านการทำ NB priming มีค่าความงอกในสภาพโรงเรือนทดลอง 89.00-92.00% มากกว่าการทำ Hydropriming และเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ผ่านการเตรียมความพร้อมของเมล็ดพันธุ์ รวมถึงให้ค่าความเร็วในการงอก (GI) และอัตราการเจริญเติบโตของต้นกล้า (SGR) สูงกว่าในชุดควบคุมในสภาพห้องปฏิบัติการ ในเมล็ดพันธุ์เก่า NB Priming ให้ค่าความงอกมาตรฐานสูงกว่าการทำ Hydropriming และชุดควบคุม โดยการทำ NB priming ด้วยน้ำที่ปรับสภาพเป็นเวลา 20 และ 30 นาที ให้ค่าความงอก GI และ SGR ในสภาพโรงเรือนทดลองสูงกว่าการทำ Hydropriming และชุดควบคุม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การทำ NB priming เป็นวิธีการที่ง่ายไม่มีสารเคมีตกค้างในสภาพแวดล้อม และสามารถยกระดับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองฝรั่งเศสได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมวิชาการเกษตร. 2560. ดาวเรืองฝรั่งเศส (Tagetes erecta L.). แหล่งข้อมูล:http://www.doa.go.th/pvp/images/stories/indexpp2518/AnnoDOA_nameplant /t799.pdf, ค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2561.


ชิติ ศรีตนทิพย์, วิเชียร ผลแสง, วิษณุ ทองเล็ก, ชาญชัย เดชธรรมรงค์ และ คิโยชิ โยชิคาวา. 2561. การประยุกต์ใช้ไมโคร/นาโนบับเบิลส์ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของกล้าคะน้า. ว.วิทย.กษ. 49: 37-41.

พิจิตรา แก้วสอน, ปาริฉัตร บุญยืน และ ปริยานุช จุลกะ. 2557. การศึกษาเบื้องต้นของลักษณะทางกายภาพและการดูดน้ำของเมล็ดพันธุ์วงค์แตงบางชนิด. ว.วิทย์.กษ. 45: 549-552.

วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2553. สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์. มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ

Alheshibri, M., J. Qian, M. Jehannin, and V.S. Craig. 2016. A history of nanobubbles. J. Langmuir. 32: 11086-11100.

Association of Official Seed Analysts. 1983. Seed Vigor Testing Handbook. Contribution No. 32. Association of Official Seed Analysts. Lincon, NE., U.S.A.

Bewley, J.D., and M. Black. 1978. Physiology and biochemistry of seeds in relation to germination. Berlin Heidelberg, New York.

Bewley, J.D., and M. Black. 1985. Seeds Physiology of Development and Germination. Plenum Press. New York.

Bray, C.M. 1995. Biochemical process during the osmopriming of seeds. P.767-789. In: J. Kigel, and G. Galili. Seed Development and Germination, Marcel Dekker Inc., New York.

Gaiduk A. P., T. A. Pham, M. Govoni, F. Paesani, and G. Galli. 2018. Electron affinity of liquid water. J. Nature Communications. 9: 247.

Heydecker, W.J., and P. Coolbear. 1977. Seed treatment for improved performance survey and attempted prognosis. J. Seed Sci. & Technol. 5: 353-425.

Ikeura, H., F. Kobayashi, and M. Tamaki. 2014. Hydropriming treatment of rice seeds with microbubble water. J. AS. 6: 189-194.

ISTA. 2016. Handbook of Vigor Test Methods. International Seed Testing Association. Bassersdorf, Switzerland.

Krainart, C., B. Siri, and K. Vichitphan. 2015. Effects of Accelerated Aging and Subsequent Priming on Seed J. Ag Tech.11:165-179

Liu, S., Y. Kawagoe, Y. Makino, and S. Oshita. 2013. Effects of nanobubbles on the physicochemical properties of water: The basis for peculiar properties of water containing nanobubbles. J. Langmuir. 93: 250-256.

Liu, S., S. Oshita, S. Kawabata, and D.Q. Thuyet, 2017. Nanobubble Water’s Promotion Effect of Barley (Hordeum vulgare L.) Sprouts Supported by RNA-Seq Analysis. J. Langmuir. 33: 12478-12486.

McDonald, M. B. 1998. Seed Deterioration: Physiology Repair and Assessment, J. SST. 27: 177-237.

McDonald, M.B. 2000. Seed priming. P.287-325. In: M. Black, and J.D. Bewley. Seed Technology and Its Biological Basis. Sheffield Acad, Press, Sheffield, U.K.

Oshita, S., and S. Liu. 2013. Nanobubble characteristics and its application to agriculture and foods. Proceedings of AFHW 2013. International Symposium on Agri-Foods for Health and Wealth August 5-8, 2013, Golden Tulip Sovereign Hotel.

Ozbingol N., F. Corbineau, and D. Come. 1998. Responses of tomato seeds to osmoconditioning as related to temperature and oxygen. J. Seed Sci. Res. 8: 377-384.

Sritontip, C., C. Dechthummarong, V. Thonglek, and W. Phonsaeng. 2017. Effects of high voltage plasma and micro/nano bubbles on seed germination and growth of crop under hydroponic system. In the 2nd International Symposium on Application of High-voltage, Plasmas & Micro/Nano Bubbles to Agriculture and Aquaculture (RMUTL ISHPMNB 2017). 26 – 27 July 2017, Rajamangala University of Technology Lanna, Chiang Mai, Thailand.

Taylor, A., P. Allen, M. Bennett, K. Bradford, J. Burris, and M. Misra. 1998. Seed enhancements. J. Seed Sci. Res. 8: 245-256.

Varier, A., A,K Vari, and M. Dadlani. 2010. The subcellular basic of seed priming. J. Current Sci. Res. 99: 450-456.

Yeoung, Y.R., D.O. Wilson, and G.A. Murray. 1996. Germination performance and loss of late-embryogenesis-abundant (LEA) proteins during muskmelon seed priming. J. SST. 24: 429-439.