การใช้เครื่องหมายโมเลกุล ISSR ในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยาสูบ 9 สายพันธุ์

Main Article Content

สุรเชษฐ เอี่ยมสำอาง
สุมาลี พิมพันธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของยาสูบ 9 สายพันธุ์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลไอเอสเอสอาร์ หรือ Inter-Simple Sequence Repeats (ISSR) จำนวนไพรเมอร์ 5 สายไพร์เมอร์ เพิ่มประมาณดีเอ็นเอด้วยเทคนิคพีซีอาร์ และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยใช้โปรแกรม IBM SPSS พบแถบดีเอ็นเอทั้งหมด 26 แถบ ให้แถบที่แตกต่างกัน 16 แถบ (59.34%) มีค่าดัชนีความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.45 ถึง 0.97 เมื่อวิเคราะห์จัดกลุ่มความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป NTSYS-pc 2.1 ด้วยวิธี UPGMA สามารถจำแนกยาสูบได้ 2 กลุ่มอย่างชัดเจน คือพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์การค้า ซึ่งมีความสอดคล้องกับแหล่งที่มาของยาสูบ ข้อมูลด้านความหลากหลายทางพันธุกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างสายพันธุ์นี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการอนุรักษ์พันธุกรรมและการระบุสายพันธุ์ และยังมีประโยชน์ต่อการคัดเลือกสายพันธุ์พ่อแม่สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ยาสูบต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

โรงงานยาสูบ. 2554. รายงานประจำปีโรงงานยาสูบปี พ.ศ.2554. โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง กรุงเทพ.120 น.

เศรษฐา ศิริพินทุ์ และภาวิน อิทธิรส. 2556. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ยาสูบโดยเทคนิคโมเลกุลเครื่องหมายเอสเอสอาร์. ว. วิทย์. กษ. 44(พิเศษ): 357-360.

เศรษฐา ศิริพินทุ์ ภาวิน อิทธิรส และศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตและวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. 2556. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ยาสูบเบอร์เลย์พันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ป่า โดยเทคนิคเครื่องหมายโมเลกุลเอสเอสอาร์. ใน: รายงานการประชุมวิชาการประจำปี 2556. ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่.

สุทวัฒน์ สินธีรโรจน์. 2557. การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลสำหรับการจำแนกมะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

Costa, F.R., N. S. P Telma, P. C. G. Ana, and G. P., Messias. 2011. NOTE ISSR markers for genetic relationships in Caricaceae and sex differentiation in papaya. Crop Breed. Appl. Biotechnol. 11: 352-357.

Denduangboripant, J., S. Setaphan, W. Suwanprasart, and S. Panha. 2010. Determination of Local Tobacco Cultivars Using ISSR Molecular Marker. Chiang Mai J. Sci. 37: 293-303.

Godwin, I. D., E. S. Mace, and Nurzuhairawaty. 2001. Genotyping Pacific Island Taro (Colocasia esculenta L.) Schott) Germplasm, P.109-128. In: R. J. Henry. Plant Genotyping the DNA Fingerprinting of Plants. The University of Queensland, Brisbane, QLD 4072, Australia.

Gomes, S., P.M. Lopes, J. Lopes, and H. Guedes-Pinto.2009. Assessing genetic diversity in Olea europaea L. using ISSR and SSR. Plant Mol. Biol. Rep. 27: 365-373.

Lai, J.A., W. C. Yang, and J. Y. Hsiao. 2001. An assessment of genetic relationships in cultivated tea clones andnative wild tea in Taiwan using RAPD and ISSR markers. Bot. Bull. Acad. Sin. 42: 93-100

Lynch, M. 1991. Analysis of population genetic structure by DNA fingerprinting, DNA Fingerprinting: Approaches and Application, Birkhauser Verlag, Basel, Switzerland.

Oliveira, E.J., A. Santos, F. M. Silva, L. F. Carvalho, J. L. Santos, V. B. Costa, A. Oliveira, and J. L. L. Dantas. 2010. Polymorphic microsatellite marker set for Carica papaya L. and its use in molecular- assisted selection. Euphytica 173: 279-287.

Rohlf, F.J. 1998. NTSYS-pc: Numerical Taxonomy and Multivariat Analysis System, Version 3.2. 1st Edn., Exeter Software, New York.

Tsumura, Y., K. Ohba, and S. H. Strauss. 1996. Diversity and inheritance of inter simple sequence repeat polymorphisms in Douglasfir (Pseudotsuga menziesii) and sugi (Cryptomeria japonica). Theor. Appl. Genet. 92: 40-45.

Wang, X. 2011. Inter-simple sequence repeats (ISSR) molecular fingerprinting markers for authenticating the genuine species of rhubarb. J. Medicinal Plants Res. 5: 758-764.