พฤติกรรมการใช้สารฆ่าแมลงเพื่อควบคุม แมลงศัตรูดาวเรืองของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
สารฆ่าแมลงเป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรนิยมใช้อย่างแพร่หลาย ผลการใช้สารฆ่าแมลงอย่างผิดวิธีและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานนอกจากจะส่งผลเสียโดยตรงต่อเกษตรกรและผู้บริโภคแล้ว ยังส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูดาวเรืองในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และมหาสารคาม ผลที่ได้จากการสัมภาษณ์พบว่าเกษตรกรมีรูปแบบในการควบคุมแมลงศัตรูพืชแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่มใช้สารฆ่าแมลงอย่างเดียว 2) กลุ่มไม่ใช้สารฆ่าแมลง และ 3) กลุ่มใช้หลากหลายวิธีร่วมกับสารฆ่าแมลง เกษตรกรส่วนใหญ่ 68.42% มีการใช้สารฆ่าแมลงเพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่าผลกำไรสุทธิจากกลุ่มที่ใช้หลากหลายวิธีร่วมกับสารฆ่าแมลงจะมีกำไรมากที่สุด 14,500 บาท/งาน แต่พบว่าผลกำไรต่อต้นของกลุ่มที่ไม่ใช้สารฆ่าแมลงกลับให้ค่าสูงที่สุด 10.25 บาท/ต้น รองลงมา คือ กลุ่มใช้หลากหลายวิธีร่วมกับสารฆ่าแมลงและกลุ่มใช้สารฆ่าแมลงเพียงอย่างเดียว มีค่า 8.59 และ 7.76 บาท/ต้น ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการทดสอบระยะเวลาการตกค้างและการสลายตัวของสารฆ่าแมลงในดอกดาวเรืองในสภาพแปลงและตัวอย่างดอกดาวเรืองที่ได้จากแหล่งจำหน่ายในจังหวัดขอนแก่น พบว่าการพ่นสารฆ่าแมลงกลุ่มคาร์บาเมทและออร์แกโนฟอสเฟสตามคำแนะนำข้างฉลากไม่ก่อให้เกิดการตกค้างของสารฆ่าแมลงในดอกดาวเรือง โดยมีค่า Maximum Residue Limit for pesticide (MRL) ≤ 5 มก./กก. ขณะที่แปลงที่พ่นตามวิธีปฏิบัติของเกษตรกรพบสารฆ่าแมลงตกค้างเกินค่ามาตรฐาน MRL ≥ 5 มก./กก. และใช้เวลานานถึง 14 วัน ในการสลายตัว ผลการสุ่มสารตกค้างในดอกดาวเรืองจากแหล่งจำหน่าย 7 แห่ง พบว่า 5 ใน 7 แห่ง (71.5%) มีการตกค้างของสารฆ่าแมลงอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. ระบบจัดเก็บและรายงานข้อมูลภาวการณ์ผลิตพืชรายเดือน ระดับตำบล (รต.). ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเละการสื่อสาร. กรมส่งเสริมการเกษตร.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, นุชรีย์ ศิริ, ยุวรัตน์ บุญเกษม และ กาญจนา แข่โส. 2556. การจัดการศัตรูดาวเรืองแบบบูรณาการ. แก่นเกษตร. 41: 171–176.
ปิยะฉัตร พ้นทาส, รัตติยากร ทองญวน, นฤมล แก้วโมรา, สิริมา มงคลสัมฤทธิ์, ศิริกุล ธรรมจิตรสกุล และ กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์. 2557. ความเสี่ยงทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสารเคมีกำจัดแมลงในการแระกอบอาชีพผู้ค้าผักและผลไม้สดในตลาดสด จังหวัดนครนายก. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 8: 17-24.
พนิดา ไชยยันต์บูรณ์, จินตนา ภู่มงกุฎชัย และ บุญทวีศักดิ์ บุญทวี. 2558. วิจัยปริมาณสารมีพิษตกค้างของคาร์โบซัลแฟน (carbosulfan) ในถั่วฝักยาวเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง (MRLs) ครั้งที่ 1-6. ผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2558 กองวิจัยพัฒนาปัจจัยทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร.
ภัครดนัย ชัยสวัสดิ์, จิราพร กุลสาริน, ไสว บูรณะพานิชพันธุ์ และ สิริญา คัมภิโร. 2557. ประสิทธิภาพเชื้อรา Nomuraea และ metarhizium สาเหตุโรคแมลงในการควบคุมหนอนกระทู้ผักของดอกดาวเรือง. วารสารเกษตร. 30: 11-19.
วรเชษฐ์ ขอบใจ, อารักษ์ ดำรงสัตย์, พิทัก์พงศ์ ปันต๊ะ และ เดช ดอกพวง. 2553. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ: กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดพะเยา. 4: 36-46.
วีราษฎร์ สุวรรณ, พรนภา สุกรเวทย์ศิริ และ สุนิสา ชายเลี้ยง. 2556. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรทำสวนมะลิ ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6: 24-35.
สุภาพร ใจการุณ และ กาญจนา นาถะพินธุ. 2549. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรกรณีศึกษา: บ้านบึงใคร่นุ่น ต. บึงเนียม อ.เมือง จ. ขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (บศ.). 6: 139-148.
สุรเดช สดคมขำ. 2560. สถานการณ์การผลิตการตลาดไม้ดอกไม้ประดับของไทย. เทคโนโลยีชาวบ้าน.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2557. สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
สำนักงานระบาดวิทยา. 2546. สรุปรายงานเฝ้าระวังโรค 2546. กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข.
Apilux, A., C. Isarankura-Na-Ayudthaya, T. Tantimongcolwat, and V. Prachayasittikul. 2015. Paper-based acetylcholinesterase inhibition assay combining a wet system for organophsphate and carbamate pesticides detection. EXCLI Journal. 14: 307-319.
Dhakal, M. and S. Bhattarai. 2017. Marigold (Tagetes species) winter-spring productional Kavre distrist of Nepal. International journal of horticultural science and ornamental plants. 3: 053-058.
Haq, S.U., S.T. Shah, N. Khan, A. Khan, A. Naeem, M. Ali, G. Gul, and M. Rahman. 2016. Growth and flower quality production of marigold (Tagetes erecta L.) response to phosphoraus fertilization. Pur Appl. Biol. 5: 957-962.
Huque, M.A., M.A.M. Miah, S. Hossain, and M. Alam. 2012. Economic of marigold cultivation in some selected areas of Banglades. Bangatesh J. Agril. Res. 37: 711-720.
Kessler, J.R.Jr. 2000. Greenhouse production of marigolds. Southeastern Floriculture. 8-11.
Krol, B. 2012. Yeild and chemical composition of flower heads of selected cultivars of pot marigold (Calendula officinulis L.). Acta Sci. Pol. 11: 215-225.
Marh, D. 2003. How long do insecticide residues persist ?. University of Wisconsin, Madison.
Sanchez-Bay, F., H.A. Tennekes, and K. Goka. 2013. Impact of systemic insecticides on organisms and ecosystems. Insecticide-Development of Safer and More Effective Technologies. Intechopen.