ผลกระทบของชนิดดินปลูกต่อลักษณะรากและลักษณะกายวิภาคของรากข้าวไร่เพื่อการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคกลาง

Main Article Content

ปุณยวีร์ เดชครอง
นฤภัทร ยังปรางค์
ศรสวรรค์ ศรีมา
ศิริพรรณ สุขขัง
ธนัญกรณ์ ใจผ่อง
ทิวา พาโคกทม
ทรงศักดิ์ ภัทราวุฒิชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของชนิดดินปลูกต่อลักษณะการเจริญของรากและลักษณะกายวิภาคของรากข้าวไร่สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวไร่ให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกในเขตพื้นที่ราบภาคกลาง โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 4 Factorial in completely randomize design (CRD) มี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 ชนิดดินปลูก และปัจจัยที่ 2 พันธุ์ข้าวไร่ คัดเลือกพันธุ์ข้าวไร่มาทดสอบจำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ลืมผัว พันธุ์ซิวเกลี้ยง พันธุ์เจ้าฮ่อ และพันธุ์เจ้าลีซอสันป่าตองสำหรับการประเมินลักษณะรากโดยวิธีตะกร้า (basket method) ข้าวทั้ง 4 พันธุ์ปลูกภายใต้สภาพแปลงทดลอง 2 แบบ ดังนี้ แปลงที่ 1 มีสภาพเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย และแปลงที่ 2 มีสภาพเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียว ผลการทดลองพบว่าที่ระยะแตกกอ พันธุ์ข้าวและเนื้อดินมีผลกระทบต่อลักษณะรากอย่างมีนัยสำคัญ โดยข้าวไร่ที่ปลูกในสภาพดินร่วนปนทรายมีจำนวนรากตื้น (19.92 ราก) จำนวนรากลึก (53.42 ราก) และจำนวนรากรวม (73.33 ราก) มากกว่าข้าวไร่ที่ปลูกในดินร่วนเหนียว โดยพันธุ์เจ้าลีซอสันป่าตองที่ปลูกภายใต้สภาพดินร่วนปนทรายมีจำนวนรากตื้น 29.00 ราก จำนวนรากลึก 93.00 ราก  และจำนวนรากรวม 122.00 รากสูงสุด และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์ข้าวและเนื้อดินปลูกมีผลต่อจำนวนรากตื้น จำนวนรากลึก และจำนวนรากรวมอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ที่ระยะข้าวตั้งท้องพบว่า ปัจจัยด้านพันธุ์ เนื้อดิน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์และเนื้อดินมีผลต่อจำนวนรากลึกและรากรวมอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยข้าวไร่ที่ปลูกในดินร่วนปนทรายมีจำนวนรากลึกและจำนวนรากรวมสูงกว่าข้าวไร่ที่ปลูกในดินร่วนเหนียว (65.15 และ 86.85 รากตามลำดับ) ซึ่งพันธุ์เจ้าฮ่อมีจำนวนรากลึกสูงสุด(82.50 ราก) ในขณะที่พันธุ์ลืมผัวมีจำนวนรากรวมสูงสุด (109.67 ราก) รองลงมาคือพันธุ์เจ้าฮ่อ 100.75 ราก อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของจำนวนรากในพันธุ์ซิวเกลี้ยงที่ปลูกในสภาพดินทั้งสองชนิด สำหรับการศึกษาลักษณะกายวิภาคของรากที่ระยะข้าวแตกกอพบว่า มีเพียงปัจจัยด้านพันธุ์ปัจจัยเดียวที่มีผลต่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของสตีลและจำนวนท่อน้ำอย่างมีนัยสำคัญ โดยพันธุ์เจ้าลีซอสันป่าตองมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของสตีลสูงสุดคือ 412.88 ไมครอน ในขณะที่พันธุ์เจ้าฮ่อมีจำนวนท่อน้ำมากสุดคือ 8.67 ท่อ ส่วนที่ระยะข้าวตั้งท้องพบว่า พันธุ์ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์และเนื้อดินมีผลต่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพันธุ์ลืมผัวที่ปลูกในสภาพเนื้อดินร่วนเหนียวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรากใหญ่สุด (1,471.83 ไมครอน) ในขณะที่พันธุ์ซิวเกลี้ยงที่ปลูกในสภาพเนื้อดินร่วนปนทรายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรากเล็กที่สุด (961.16 ไมครอน) อย่างไรก็ตามปัจจัยด้านเนื้อดินไม่มีผลกระทบต่อลักษณะกายวิภาคของรากทั้งระยะข้าวแตกกอและระยะข้าวตั้งท้อง จากผลการทดลองสามารถชี้ให้เห็นว่าชนิดดินปลูกมีผลต่อลักษณะราก ในขณะที่พันธุ์เป็นตัวกำหนดลักษณะกายวิภาคของราก

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. 2559. องค์ความรู้เรื่องข้าว เวอร์ชั่น 3.0. แหล่งข้อมูล: http://www.ricethailand.go.th/rkb3.pdf. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2559.

จักรกฤช ศรีละออ, ปุณณดา ทะรังศรี และ วีระพงษ์ อินทร์ทอง. การคัดเลือกสายพันธ์ุข้าวไร่ที่เหมาะสมสำหรับเพาะปลูกในพื้นที่ราบของจังหวัดพิษณุโลก. แก่นเกษตร. 48(ฉบับพิเศษ 1): 459-464.

จรัญจิต เพ็งรัตน์, สุวัฒน์ เจียระคงมั่น, อัฒพล สุวรรณวงศ์, พิศาล กองหาโคตร, กิจตพงษ์ เพ็งรัตน์, สุขวิทยา ภาโสภะ, สมใจ สาลีโท,

วีระศักดิ์ หอมสมบัติ, กฤษณา สุดทะสาร, พรรณี จิตตา, สุพัฒนา บุรีรัตน์ และวิไลลักษณ์ สุขปราการ. 2556. พญาลืมแกง: มหัศจรรย์ข้าวพื้นเมืองไทย. น. 72-90 ใน: การประชุมวิชาการข้าวธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 30 5-7 มิถุนายน 2556, กรุงเทพฯ.

ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล, วิภพ ทีมสุวรรณ, เลอบุญ อุดมทรัพย์, วงศ์พันธ์ วงศ์สมุทร และอุทัยวุฒิ ชำนาญแก้ว. 2563. การวิเคราะห์การบริหารจัดการน้ำในสภาวะภัยแล้ง ปี พ.ศ. 2563. น. 287-308. ใน: การประชุมวิชาการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 13 31 กรกฎาคม 2563. สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน ปากเกร็ด, นนทบุรี.

ประดับพันธ์ เจริญการ, ทรงศักดิ์ ภัทราวุฒิชัย, ปุณยวีร์ เดชครอง และจักกริช พฤษการ. 2562. การประยุกต์ใช้ระบบชลประทานสมัยใหม่ร่วมกับอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งเพื่อการผลิตข้าว. น. 87-96 ใน: การประชุมวิชาการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 12 31 กรกฎาคม 2562. สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน ปากเกร็ด, นนทบุรี.

พัณณ์ชิตา เวชสาร, ปฐมพงษ์ แสงวิไล, Jonaliza L. Siangliw, Ishan Ajmera, Amelia Henry, จิรพงศ์ ใจรินทร์, อนุชาติ คชสถิต, ยศวริศ พันธุ์เสนีย์, กัญญารัตน์ หวังสุข, บุญรัตน์ จงดี, วราพงษ์ ชมาฤกษ์, Kathleen Brown7, Malcolm Bennett, Leah Band และ Jonathan Lynch. 2562. ลักษณะทางสรีระและสัณฐานวิทยาของรากข้าวที่ช่วยในการทนแล้ง. น. 66-73. ใน: การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 36 13 พฤษภาคม 2562. กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว, นครศรีธรรมราช.

สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคกลางของประเทศไทย. แหล่งข้อมูล: http://e-library.ldd.go.th/library/flip/bib2062f/bib2062f.html#p=1. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2564.

Abe, J., and S. Morita. 1994. Growth direction of nodal roots in rice: Its variation and contribution to root system formation. Plant and Soil. 165: 333-337.

Bouman, B.A.M., S. Peng, A.R. Castaneda, and R.M. Visperas. 2005 Yield and water use of irrigated tropical aerobic rice, systems. Agricultural Water Management. 74 (2): 87–105.

Coudert, Y., C. Périn, B. Courtois, N.G. Khong, and P. Gantet. 2010. Genetic control of root development in rice, the model cereal. Trend in Plant Science. 15(4): 219-226.

De Bauw, P., E. Vandamme, A. Lupembe, L. Mwakasege, K. Senthikumar, K.N. Dramé, and R. Merckx. 2019. Anatomical root responses of rice to combined phosphorus and water stress-relations to tolerance and breeding opportunities. Functional Plant Biology. 46: 1009-1022.

Fukai, S., G. Pantuwan, B. Jongdee, and M. Cooper. 1999. Screening for drought resistance in rainfed lowland rice. Field Crops Research. 64(1-2): 61-74.

Gowda, V., R. Henrya, P.A.A. Yamauchi, H.E. Shashidharb, and R. Serraj. 2011. Root biology and genetic improvement for drought avoidance in rice. Field Crops Research. 122: 1-13.

Itoh, J., K. Nonomura, K. Ikeda, S. Yamaki, Y. Inukai, H. Yamagishi, H. Kitano and Y. Nagato. 2005. Rice plant development: from zygote to spikelet. Plant and Cell Physiology. 46(1): 23-47.

Kato, Y., A. Kamoshita, J. Yamagishi, H. Imoto, and J. Abe. 2007. Growth of rice (Oryza sativa L.) cultivars under upland conditions with difference levels of water supply3. root system development, soil moisture change and plant water status. Plant Production Science. 10(1): 3-13.

Kim, Y., Y. Chung, E. Lee, P. Tripathi, S. Heo, and K. Kim. 2020. Root Response to Drought Stress in Rice (Oryza sativa L.). International Journal of Molecular Sciences. 21: 1513.

Madadgar, S., A. AghaKouchak, A. Farahmand, and S.J. Davis. 2017. Probabilistic estimates of drought impacts on agricultural production. Geophysical Research Letter. 44: 7799–7807.

Pantuwan, G., K.T. Ingram, and P.K. Sharma. 1996. Rice root system development under rainfed conditions, In Physiology of Stress Tolerance in Rice. p. 198-206. In: Proceedings of the International Conference on Stress Physiology of Rice, Lucknow, U.P.

Peng, S., B. Bouman, R.M. Visperas, A. Castañeda, L. Nie, and H.-K. Park. 2006. Comparison between aerobic and flooded rice in the tropics: agronomic performance in an eight-season experiment. Field Crops Research. 96(2-3): 252–259.

Peng, S., Q. Tang, and Y. Zou. 2009. Current status and challenges of rice production in China. Plant Production Science. 12(1): 3–8.

Ramalingam, R., A. Kamoshita, V. Deshmukh, S. Yaginuma, and Y. Uga. 2017. Association between root growth angle and root length density of a near-isogenic line of IR64 rice with DEEPER ROOTING 1 under different levels of soil compaction. Plant Production Science. 20(2): 162-175.

Slaton, N.A., C.A. Beyrouty, B.R. Wells, R.J. Norman, and E.E. GBUR. 1990. Root growth and distribution of two short-season rice genotypes. Plant and Soil. 121: 269-278.

Uga, Y., K. Ebana, J. Abe, S. Morita, K. Okuno, and M. Yano. 2009. Variation in root morphology and anatomy among accessions of cultivated rice (Oryza sativa L.) with different genetic backgrounds. Breeding Science. 59(1): 87-93.

Uga Y. 2012. Quantitative measurement of root growth angle by using the basket method In Methodologies for root drought studies in rice. P.22-26. In H.E. Shashidhar, A. Henry and B. Hardy. Methodologies for root drought studies in rice. International Rice Research Institute.

Wu, W., and S. Cheng. 2014. Root genetic research, an opportunity and challenge to rice improvement. Field Crops Research. 165: 111-124.