ผลของรอบการปลูกยางพาราต่อสมบัติบางประการของดินและปริมาณคาร์บอนในดิน

Main Article Content

พันธุ์ทิพย์ ปานกลาง
ระวี เจียรวิภา
สายัณห์ สดุดี
Alexis Thoumazeau
Alain Brauman

บทคัดย่อ

ศึกษาอิทธิพลของรอบการปลูกและอายุของยางพาราต่อสมบัติดินและปริมาณคาร์บอนในดินในพื้นที่อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี วางแผนการทดลองแบบ randomized complete block design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ 7 ตำรับการทดลอง ประกอบด้วย 1) พื้นที่ป่า (F) 2) แปลงปลูกยางพารารอบที่ 1 ช่วงอายุก่อนเปิดกรีด (R1y) 3) แปลงปลูกยางพารารอบที่ 1 ช่วงอายุหลังเปิดกรีด (R1o) 4) แปลงปลูกยางพารารอบที่ 2 ช่วงอายุก่อนเปิดกรีด (R2y) 5) แปลงปลูกยางพารารอบที่ 2 ช่วงอายุหลังเปิดกรีด (R2o) 6) แปลงปลูกยางพารารอบที่ 3 ช่วงอายุก่อนเปิดกรีด (R3y) และ 7) แปลงปลูกยางพารารอบที่ 3 ช่วงอายุหลังเปิดกรีด (R3o) พบว่า ที่ระดับความลึก 0-10 ซม. ดินในพื้นที่ป่า (F) มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ปริมาณโพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 1.79%, 99.56 และ 108.86 มก./กก. ตามลำดับ เช่นเดียวกับการสะสมของคาร์บอนในดินซึ่งมีค่าสูงสุดในพื้นที่ป่า (F) ที่17.25 ตัน/เฮกตาร์ ในขณะที่ความหนาแน่นรวมของดินในพื้นที่ป่า (F) มีค่าน้อยที่สุดที่ 1.12 กรัม/ซม.3 และไม่พบความแตกต่างทางสถิติของความเป็นกรดเป็นด่างของดินในทุกตำรับการทดลอง อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่า ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดิน ปริมาณฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช รวมทั้งการสะสมของคาร์บอนในดินจะลดลงในแปลงปลูกยางพารารอบที่ 3 (R3) โดยยางพาราช่วงอายุก่อนเปิดกรีดมีแนวโน้มว่าจะมีความอุดมสมบูรณ์ของดินมากกว่าแปลงปลูกยางพาราช่วงอายุหลังเปิดกรีด ในขณะที่ยางพาราช่วงอายุหลังเปิดกรีดจะมีการสะสมของคาร์บอนในดินมากกว่าช่วงอายุก่อนเปิดกรีด และพบว่า มีความแตกต่างทางสถิติของปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดินที่ระดับความลึก 0-5, 5-10 และ 10-30 ซม. แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความลึก 30-50 ซม.

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. ยางพารา. สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

นุชนารถ กังพิสดาร. 2554. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยยางพารา. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

พจนีย์ มอญเจริญ และทวีศักดิ์ เวียนศิลป์. 2544. คาร์บอนในดินของประเทศไทย. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

สถาบันวิจัยยาง. 2550. ข้อมูลวิชาการยางพารา 2550. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2561. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.

สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน. 2547. คู่มือวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดิน และการวิเคราะห์เพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า เล่ม 1. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

สุดารัตน์ แซ่อุ้ย. 2542. การวิเคราะห์อายุที่เหมาะสมในการปลูกทดแทนยางพาราในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Abraham, J., and J.A. Chudek. 2007. Studies on litter characterization using 13C NMR and assessment of microbial activity in natural forest and plantation crops’ (teak and rubber) soil ecosystems of Kerala, India. Plant and Soil. 303: 265-267.

Back, G.R., and K.H. Hartge. 1986. Bulk density. P. 363-375. In: A. Klute. Methods of Soil Analysis Part 1. American Society of Agronomy, WI.

Batjes, N.H. 1996. Total carbon and nitrogen in the soils of the world. European Journal of Soil Science. 47: 151-163.

Bray II, R.H., and L.T. Kurtz. 1945. Determination of total, organic and available forms of phosphorus in soils. Soil Science. 59: 39-45.

Bremner, J.M. 1965. Total nitrogen. P. 1149-1237. In: C.A. Black. Method of Soil Analysis Part 2. American Society of Agronomy, WI.

Cheng C., R. Wang, and J. Jiang. 2007. Variation of soil fertility and carbon sequestration by planting Hevea brasiliensis in Hainan Island, China. Journal of Environmental Sciences. 19: 348-352.

Clemont-Dauphin, C., Y.M. Cabidoche, and J.M. Meynard. 2004. Effects of intensive monocropping of bananas on properties of volcanic soils in the uplands of the French West Indies. Soil Use and management. 20: 1-9.

Daddow, R.L., and G.E. Warrington. 1983. Growth-limiting Soil Bulk Densities as Influenced by Soil Texture. USDA-Forest Service, Colorado.

FAO. 2013. The State of Food and Agriculture 2013. Available: http://www.fao.org/publications/sofa/2013/en. Accessed May 1, 2020.

Iticha, B., M. Mohammed, and K. Kibret. 2016. Impact of deforestation and subsequent cultivation on soil fertility in Komto, Western Ethiopia. Journal of Soil Science and Environmental Management. 7: 212-221.

Karthikakuttyamma, M., P.R. Suresh, P. Prasannakumari, V. George, and R.S. Aiyer. 1998. Effect of continuous cultivation of rubber (Hevea brasiliensis) on morphological features and organic carbon, total nitrogen, phosphorous and potassium contents of soil. Indian Journal of Natural Rubber Research. 11: 73-79.

Kilmer, V.J., and L.T. Alexander. 1949. Methods of making mechanical analysis of soils. Soil Science. 68: 15-24.

Kucuker, M.A., M. Guney, H.V. Oral, N.K. Copty, and T.T. Onay. 2015. Impact of deforestation on soil carbon stock and its spatial distribution in the Western Black Sea Region of Turkey. Journal of Environmental Management. 147: 227-235.

Lawrence, D., P. D’Odorico, L. Diekmann, M. DeLonge, R. Das, and J. Eaton. 2007. Ecological feedbacks following deforestation create the potential for a catastrophic ecosystem shift in tropical dry forest. Proceedings of the National Academy of Sciences. 104: 20696-20701.

Liu, C., J. Pang, M.R. Jepsen, X. Lu, and J. Tang. 2017. Carbon stock across a fifty year chronosequence of rubber plantations in tropical China. Available: https://www.mdpi.com/1999-4907/8/6/209/htm. Accessed May 1, 2020.

Lorenz, K., and R. Lal. 2005. The depth distribution of soil organic carbon in relation to land use and management and the potential of carbon sequestration in subsoil horizons. Advances in Agronomy. 88: 35-66.

Maggiotto, S.R., D.D. Oliverira, C.J. Marur, S.M.S Stivari, M. Leclerc, and C. Wagner-Riddle, 2014. Potential carbon sequestration in rubber tree plantations in the northwestern region of the Parana State, Brazil. Acta Scientiarum Agronomy. 36: 239-245.

Peech, M. 1965. Hydrogen Ion Activity. P. 914-926. In: C.A. Black. Methods of Soil Analysis Part 2. American Society of Agronomy, WI.

Sakin, E. 2012. Relationships between of carbon, nitrogen stocks and texture of the Harran Plain soils in southeastern Turkey. Bulgarian Journal of Agricultural Science. 18: 626-634.

Solji, A., and A. Najafi. 2014. The impacts of ground-based logging equipment on forest soil. Journal of Forest Science. 60: 28-34.

Walkley, A., and A. Black. 1934. An examination of the Degiareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method. Soil Science. 37: 29-28.

Yasin, S., A. Junaidi, E. Wahyudi, S. Herlena, and K.K. Darmawan. 2011. Changes of soil properties on various ages of rubber trees in Dhamasraya, West Sumatra, Indonesia. Journal of Tropical Soils. 15: 221-227.