การตอบสนองของสายพันธุ์อ้อยในลักษณะใบต่อสภาวะน้ำท่วมขังในช่วงต้นของการเจริญเติบโต

Main Article Content

พิชชาทร ไมตรีมิตร
นงลักษณ์ เทียนเสรี
คัทลียา ฉัตร์เที่ยง
ปฏิวัติ สุขกุล
อัมราวรรณ ทิพยวัฒน์
อนุรักษ์ อรัญญนาค

บทคัดย่อ

สภาวะน้ำท่วมขังได้กลายเป็นปัญหาสำคัญต่อการปลูกอ้อยในประเทศไทย เนื่องจากมีการขยายพื้นที่ปลูกอ้อยในพื้นที่ลุ่มมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาวะน้ำท่วมขังในช่วงต้นของการเจริญเติบโตต่อลักษณะใบของอ้อย ศึกษาการตอบสนองของสายพันธุ์อ้อยต่อสภาวะน้ำท่วมขัง และประเมินความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะใบและความทนทานต่อสภาวะน้ำท่วมขังของอ้อย โดยใช้แผนการทดลองแบบ 5 × 2 Factorial in completely randomized design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ประเมินอ้อย 5 สายพันธุ์ เปรียบเทียบระหว่างสภาวะปรกติและสภาวะที่อ้อยถูกน้ำท่วมขังในระยะแรกของการเจริญเติบโต เก็บข้อมูลลักษณะใบ ปริมาณรงควัตถุในใบ และน้ำหนักแห้งรวม พบว่า สภาวะน้ำท่วมขังทำให้น้ำหนักแห้งใบ จำนวนใบ พื้นที่ใบ ขนาดใบ ความชื้นใบ และพื้นที่ใบจำเพาะมีค่าลดลง แต่ทำให้ปริมาณรงควัตถุในใบเพิ่มขึ้น ลักษณะใบและปริมาณรงควัตถุในใบ พบความแปรปรวนระหว่างสายพันธุ์ในทุกลักษณะที่ศึกษา อ้อยแต่ละสายพันธุ์มีการตอบสนองต่อสภาวะน้ำท่วมขังในลักษณะใบที่แตกต่างกัน และพบความแปรปรวนระหว่างสายพันธุ์ในความทนทานต่อสภาวะน้ำท่วมขัง นอกจากนี้ ยังพบค่าสหสัมพันธ์สูงในเชิงบวกระหว่างค่าดัชนีความทนทานของน้ำหนักแห้งรวมกับค่าดัชนีความทนทานของน้ำหนักแห้งใบ (r = 0.88**) พื้นที่ใบ (r = 0.83**) และขนาดใบ (r = 0.94**) แสดงให้เห็นว่าลักษณะใบมีความสัมพันธ์กับความทนทานต่อสภาวะน้ำท่วมขังของอ้อย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จิราพร บำรุงไร่, อรุณี พรมคำบุตร และอนันต์ พลธานี. 2557. ปัญหาและข้อจำกัดในการปลูกอ้อยในนาพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงและพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 42: 208-217.

สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน. 2552. เอกสารแนะนำ คู่มือการปลูกอ้อย. สถาบันวิจัยพืชไร่และน้ำตาล กรมวิชาการเกษตร.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2561. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2560/61. กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย.

Glaz, B., and S.E. Lingle. 2012. Flood duration and time of flood onset effects on recently planted sugarcane. Agronomy Journal. 104: 575-583.

Gomathi, R., P. N. Gururaja Rao, K. Chandran, and A. Selvi. 2015. Adaptive responses of sugarcane to waterlogging stress: An over view. Sugar Tech. 17: 325-338.

Jain, R., A. Singh, S. Singh, P. Surendra, V. Kumar Srivastava, A. Chandra, A. Dutt Pathak, and S. Solomon. 2017. Physio-Biochemical characterization of sugarcane genotypes for waterlogging tolerance. World Journal of Agricultural Sciences. 13(2): 90-97.

Jaiphong, T., J. Tominaga, K. Watanabe, R. Suwa, M. Ueno, and Y. Kawamitsu. 2017. Change in photosynthesis, growth, and sugar content of commercial sugarcane cultivar and Erianthus under flood conditions. Plant Production Science. 20: 126-135.

Misra, V., S. Solomon, A.K. Mall, C.P. Prajapati, A. Hashem, E.F. A. Allah, and M.I. Ansari. 2020. Morphological assessment of water stressed sugarcane: A comparison of waterlogged and drought affected crop. Saudi Journal of Biological Sciences. 27: 1228–1236.

Rajput, R.D., and R.P. Patil. 2017. The comparative study on spectrophotometric analysis of chlorophyll and carotenoids pigments from non-leguminous fodder crops. International Journal of Innovative Science Engineering and Technology. 4: 140-148.

Singh, S., S.P. Singh, A.D. Pathak, and N. Pandey. 2019. Assessment of waterlogging induced physio-biochemical changes in sugarcane varieties and its association with waterlogging tolerance. Journal of Environmental Biology. 40: 384-392.