การศึกษาเวลาและอุปสรรคในการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบในไร่อ้อยด้วยโดรน รถแทรกเตอร์ และแรงงานคน

Main Article Content

พีส คูณดี
ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์
เสรี วงส์พิเชษฐ
มหิศร ว่องผาติ
กิตติพิชญ์ อึงสถิตถาวร
ศิโรรัตน์ พิลาวุธ
อาทิตย์ ภูผาผุด
ลลิตา พรรณดวงเนตร
จีรวัฒน์ โนดไธสง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานฉีดพ่นให้ปุ๋ยทางใบในไร่อ้อยด้วยโดรนกับวิธีฉีดพ่นดั่งเดิมคือ การใช้รถแทรกเตอร์และคน การศึกษานี้ได้ตรวจสอบเวลาในการทำงาน พร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานฉีดพ่น ผลของการฉีดพ่นถูกเปรียบเทียบโดยใช้ความสูงที่เพิ่มขึ้นของอ้อยในแต่ละวิธี ผลการศึกษาพบว่า โดรนใช้เวลาในการทำงานน้อยที่สุดอยู่ที่ 21.19 นาที ซึ่งเมื่อทำงานซ้ำในพื้นที่เดิมเวลาจะเหลือเพียง 12.91 นาที เนื่องจากไม่จำเป็นต้องสร้างแผนการบินในการทำงานใหม่ รองลงมาคือ รถแทรกเตอร์อยู่ที่ 22.21 นาที และคนอยู่ที่ 39.49 นาที โดยปัญหาและอุปสรรคของโดรนคือ ลักษณะแปลงและอุปสรรคในแปลง ที่ส่งผลให้เวลาในการทำงานเพิ่มขึ้น ในขณะที่รถแทรกเตอร์ มีปัญหาเกี่ยวกับระยะแถวในการทำงาน ความสูงของอ้อยขณะฉีดพ่น และถนนรอบแปลงเพื่อเปลี่ยนแถวในการทำงาน และสุดท้ายคน มักพบปัญหาสารเคมีหมดขณะทำงานในแปลง ความเมื่อยล้า และอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีโดยตรง ซึ่งผลวิเคราะห์ความสูงที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละเดือนหลังจากการฉีดพ่นจนถึงเดือนเก็บเกี่ยวพบว่าทั้ง 3 รูปแบบ รวมถึงแปลงที่ไม่มีการฉีดพ่นให้ปุ๋ยทางใบมีการเจริญเติบโตด้านความสูงที่ไม่แตกต่างกัน โดยผลของการศึกษาทั้งหมดชี้ให้เห็นว่าการใช้โดรนในการให้ปุ๋ยเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีความเร็วในการทำงานสูง และให้ผลลัพธ์ของการฉีดพ่นไม่แตกต่างจากวิธีดั้งเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

โสมรัศมิ์ จันทรัตน์, วิษณุ อรรถวานิช, ภูมิสิทธิ์ มหาสุวีระชัย, กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ และจิรัฐ เจนพึ่งพร. 2562. ภูมิทัศน์ภาคเกษตรไทย จะพลิกโฉมอย่างไรสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. ใน: งานสัมมนาวิชาการประจำปี 2562 ของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องพลิกโฉมเศรษฐกิจ พิชิตการแข่งขัน 30 กันยายน – 1 ตุลาคม 2562. โรงแรม Centara Grand at Central World, กรุงเทพมหานคร.

พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, นลินา ไชยสิงห์ และสุชาดา สุพรศิลปะ. 2560. ประสิทธิภาพของอากาศยานไร้คนขับ (UAV) สำหรับการป้องกันกำจัดโรคเมล็ดด่างในข้าว. กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช กลุ่มกีฏและสัตววิทยา. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.). 2558. รายงานประจำปี 2558 แหล่งข้อมูล: https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/581089. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2564.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2564. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2563/64. แหล่งข้อมูล: http://www.ocsb.go.th/th/home/index.php. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2564.

Ahirwar, S., R. Swarnkar, S. Bhukya, and G. Namwade. 2019. Application of Drone in Agriculture. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences. 8(01): 2500–2505.

Daponte, P., L. De Vito, L. Glielmo, L. Iannelli, D. Liuzza, F. Picariello, and G. Silano. 2019. A review on the use of drones for precision agriculture. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science. 275: 1-10.

Kalamkar, R., B., M. Ahire, C. P. A. Ghadge, S. A. Dhenge, and M. S. Anarase. 2020. Drone and its Applications in Agriculture. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences. 9(6): 3022–3026.

Koondee, P., K. Saengprachathanarug, J. Posom, C. Watyotha, and M. Wongphati. 2019. Study of field capacity and variables of UAV operation time during spraying hormone fertilizer in sugarcane field. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science. 301: 1-7.

Lou, Z., F. Xin, X. Han, Y. Lan, T. Duan, and W. Fu. 2018. Effect of unmanned aerial vehicle flight height on droplet distribution, drift and control of cotton aphids and spider mites. Agronomy. 8(9): 187.

Micasence. 2021. MicaSence RedEdgeTM 3Multispectral Camera User Manual. Available: https://support.micasense.com/hc/en-us/articles/215261448-RedEdge-User-Manual-PDF-Download. Accessed Oct. 13, 2021.

Mogili, U. R., and B. B. V. L. Deepak. 2018. Review on Application of Drone Systems in Precision Agriculture. Procedia Computer Science. 133: 502–509.

Opanukul W. 2017. Drone Research for Organic Agriculture. In 18th Thai Society of Agricultural Engineering National Conference. 219–23.

Pix4D. 2021. Pix4Dmapper, Photogrammetry software for professional drone-based mapping purely from images. Versions 4.0. Available: https://pix4d.com/product /pix4dmapper-photogrammetry-software/. Accessed Oct. 13, 2021.

Vespa Hex Drone SPECIFICATIONS. Available: https://www.hiveground.com/vespa-drone/vespa-specification/. Accessed Oct. 13, 2021.

Wang, J., Y. Lan, S. Wen, A. Hewitt, J., W. Yao, and P. Chen. 2020. Meteorological and flight altitude effects on deposition, penetration, and drift in pineapple aerial spraying. Asia-Pacific Journal of Chemical Engineering. 2020: e2382.

Wang, L., D. Chen, Z. Yao, X. Ni, and S. Wang. 2018. ScienceDirect Research on the prediction model and its influencing factors of droplet deposition based factors on UAV Research on based factors on UAV spraying Research on based on UAV spraying Chen environment. IFAC-PapersOnLine. 51: 274–79.

Xue, X., K. Tu, W. Qin, Y. Lan, and H. Zhang. 2014. Drift and deposition of ultra-low altitude andlow volume application in paddy field. International Journal of Agricultural and Biological Engineering. 7(4): 23-28.