การใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลาย (Phyllotreta sinauta Stephen) (Coleoptera: Chrysomelidae) ในกวางตุ้ง

Main Article Content

เบญจพร ชำนาญ
ขวัญฤดี สุวะไกร
ทิพย์สุคน อนุภาพ
ทัศนีย์ แจ่มจรรยา
นุชรีย์ ศิริ
ยุวธิดา ศรีพลแท่น
อุบล ตังควานิช
ประกายจันทร์ นิ่มกิ่งรัตน์

บทคัดย่อ

ด้วงหมัดผักเป็นแมลงศัตรูสำคัญในกวางตุ้งที่มีรายงานการระบาดรุนแรงและต่อเนื่องในทุกปี การเปลี่ยนกลุ่มสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชเป็นแนวทางที่ควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความต้านทานของแมลงแต่การใช้สารป้องกันกำจัดแมลงที่ผิดวิธีสามารถส่งผลให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการบูรณาการการใช้ชีวภัณฑ์ต่างชนิดเพื่อควบคุมประชากรด้วงหมัดผักในแปลงเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการทดสอบในฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดรุนแรง ตั้งแต่เดือน มกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2563 วางแผนการทดลองแบบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม (Two-sample t-test) จำนวน 2 กรรมวิธีๆละ 3 ซ้ำ ได้แก่ แปลงชีวภัณฑ์ (เชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae และไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลง Steinernema siamkayai) และแปลงวิถีปฏิบัติเกษตรกร (สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช) ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่ากรรมวิธีพ่นชีวภัณฑ์ก่อนปลูกช่วยส่งเสริมให้เกิดการงอกของเมล็ดได้ดีมีค่าเท่ากับ 25.82 ต้น/ตารางเมตร เมื่อเทียบกับแปลงวิถีปฏิบัติของเกษตรกร ที่มีค่าเพียง 12.86 ต้น/ตารางเมตร ขณะที่จำนวนประชากรด้วงหมัดผักที่ได้จากการนับโดยตรงจากต้นและกับดักกาวเหนียวและความเสียหายของใบพืชให้ค่าที่สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน แปลงชีวภัณฑ์แสดงค่าเฉลี่ยของประชากรด้วงหมัดผักบนต้นพืชและบนกับดักกาวเหนียวอยู่ที่ 0.33 ตัว/ต้น และ 35.06 ตัว/กับดัก และความเสียหายของใบพืชอยู่ที่ระดับ 1 เมื่อเทียบกับแปลงวิถีปฏิบัติของเกษตรกรที่มีค่าเฉลี่ยสูงถึง 0.92 ตัว/ต้น และ 43.59 ตัว/กับดัก และความเสียหายของใบพืชอยู่ที่ระดับ 2 ซึ่งค่าการลดลงของประชากรด้วงหมัดผักในแปลงพ่นชีวภัณฑ์เปรียบเทียบกับแปลงพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชอยู่ที่ 66% อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) ของแปลงพ่นชีวภัณฑ์แสดงค่าอยู่ที่ 1.77 ขณะที่แปลงวิถีปฏิบัติเกษตรกรที่ให้ค่าเพียง 0.26 ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับของแปลงวิถีปฏิบัติเกษตรกรมีค่าน้อยกว่าต้นทุนการผลิต


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2562. ข้อมูลการผลิตข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ สมุนไพรและเครื่องเทศ รายตำบลทั่วประเทศ ในปี 2562. แหล่งข้อมูล: จากhttp://theos.gistda.or.th/tr/dataset/doae0001/resource/ea74928c-84d7-4685-9f4d-4abaff487988 ค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2564.

กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืชปี 2553. กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัย พัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.

กลุ่มบริหารศัตรูพืช และ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชกรมวิชาการเกษตร. 2554. แมลงศัตรูผัก เห็ด และไม้ดอก. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด: นนทบุรี.

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. 2562. ผลการสุ่มตรวจสารพิษตกค้างในผักผลไม้ปี 2562.แหล่งข้อมูล: https://thaipublica.org/2019/06/thai-pan-26-6-2562/ ค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2564.

นาวิน สุขเลิศ, จิราพร กุลสาริน, ไสว บรูณพานิพันธุ์ และวีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2559. ประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลงในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในเบบี้ฮ่องเต้บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร. 32(2): 171-180.

นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด. 2558. การผลิตชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืชแบบทำใช้เอง. กรุงเทพฯ:สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ, กรมวิชาการเกษตร.

นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด และ สาโรจน์ ประชาศรัยสรเดช. 2547. การใช้ไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลงสายพันธุ์ไทยกำจัดแมลงศัตรูผักคะน้า. วารสารวิชาการเกษตร. 22(2): 145-156.

วิไลวรรณ เวชยันต์, สาทิพย์ มาลี, อิศเรส เทียนทัด และ สมชัย สุวงศ์ศักด์ศรี. 2556. เปรียบเทียบประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในการควบคุมด้วงหมัดผักในคะน้า. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2556 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า. แหล่งข้อมูล: http://oaezone.oae.go.th/view/1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH ค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2564.

เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์, อิศเรส เทียนทัด และวิไลวรรณ เวชยันต์. 2556. การทดสอบประสิทธิภาพเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม; Metarhizium anisopliae (Metsch) Sorokin เพื่อป้องกันกำจัดด้วงหมัดผัก; Phyllotreta sinuata (Stephens). หน้า 693-703.

ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2556 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. เอกสารวิชาการ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Fleming, R., and A. Retnakaran. 1985. Evaluating single treatment data using Abbott’s formula with reference to insecticide. Journal of Economic Entomology 78(6): 1179-1181.

Grewal, P.S., R. Gaugler, and E.E. Lewis. 1993. Host recognition behavior by entomopathogenic nematodes during contact with insect gut contents. The Journal of Parasitology. 79(4): 495-503.

Kim, S., J.C. Kim, S.J. Lee, M.R. Lee, S.E. Park, D. Li, S. Baek, and T.Y. Shin. 2020. Soil application of Metarhizium anisopliae JEF-314 granules to control, flower chafer beetle, Protaetia brevitarsis Seulensis. Mycobiology. 48(2): 139- 147.

Lewis, E.E., S. Hazir, A. Hodson, and B. Gulcu. 2015. Nematode pathogenesis of insects and other pests. Springer International Publishing, Switzerland.

Reddy, G.V., P.K. Tangtrakulwanich, S. Wu, J. H. Miller, V. L. Ophus, and J. Prewett. 2014. Sustainable management tactics for control of Phyllotreta cruciferae (Coleoptera, Chrysomelidae) on canola in Montana. Journal of Economic Entomology. 107: 661–666.

Statistix 10 software. 2018. An analytical software of statistix 10. Tallahassee: Analytical Software.

Turlings, C.J., I. Hiltpold, and S. Rasmann. 2012. The importance of root-produced volatiles as foraging cues for entomopathogenic nematodes. Plant and Soil. 358: 51–60.

Visalakshi, M., B. Bhavani, and S. G. Rao. 2015. Field evaluation of entomopathogenic fungi against white grub, Holotrichia consanguinea Blanch in sugarcane. Journal of Biological Control. 29(2): 103-106.

White. 1927. A method for obtaining infective nematode larva from cultures. Science. 66: 302-303.

Xu, C., P.D. Clercq, M. Moens, S. Chen, and R. Han. 2010. Efficacy of entomopathogenic nematodes (Rhabditida: Steinernematidae and Heterorhabditidae) against the striped flea beetle, Phyllotreta striolata. BioControl. 55: 789–797.

Yan, X., Y. Lin, Z. Huang, and R. Han. 2018. Characterisation of biological and biocontrol traits of entomopathogenic nematodes promising for control of striped flea beetle (Phyllotreta striolata). Journal of Nematology. 20(6): 503–518.

Yan, X., R. Han, and M. Moens. 2013. Field evaluation of entomopathogenic nematodes for biological control of striped flea beetle, Phyllotreta striolata (Coleoptera: Chrysomelide). Journal of Biological Control. 58: 247-256.