อิทธิพลของเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวหมักต่อ ค่าโลหิตวิทยา และประชากรจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนของโคเนื้อ

Main Article Content

ธนิตพันธ์ พงษ์จงมิตร
ฐิติมา นรโภค
สุภาพร ดินรบรัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวหมักต่อค่าโลหิตวิทยา และประชากรจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนของโคเนื้อ ใช้โคเนื้อ 4 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 150±40 กิโลกรัม วางแผนการทดลองแบบ 4x4 Latin square design แบ่งออกเป็น 4 ทรีตเมนต์ ได้แก่ ไม่ได้รับกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว (กลุ่มควบคุม), กากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวสัดส่วน 70:30% (CN1), กากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวสัดส่วน 60:40% (CN2) และ กากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวสัดส่วน 50:50% (CN3) สัตว์ทุกตัวได้รับอาหารข้นมีโปรตีนหยาบ 16 % โดยได้รับอาหารข้นและกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว 1 %BW โดยกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวได้เสริมให้กินร่วมกับอาหารข้นในอัตราส่วนอาหารข้น 0.5 %BW ร่วมกับกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว 0.5 %BW และให้โคเนื้อได้รับฟาง น้ำ และแร่ธาตุก้อนกินอย่างเต็มที่ ผลการศึกษาพบว่า โคเนื้อที่ได้รับอาหารทั้ง 4 ทรีตเมนต์ น้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลง, pH, อุณหภูมิ, BUN, ความเข้มข้นของแอมโมเนียไนโตรเจน, จำนวนประชากรโปรโตซัว และเชื้อรา ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ในขณะที่ค่าฮีมาโตคริตเพิ่มสูงขึ้นในโคที่ได้รับกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว นอกจากนี้โคเนื้อที่ได้รับ CN2 มีจำนวนประชากรแบคทีเรียสูงที่สุด การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวหมักร่วมกับกากมันสำปะหลัง มีผลต่อค่าฮีมาโทคริต โดยเฉพาะที่สัดส่วน 60:40% CN2 มีผลทำให้จำนวนประชากรแบคทีเรียสูงที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2561. โรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดกาฬสินธุ์. แหล่งข้อมูล: userdb.diw. go.th/factory/46-1-.xls. ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561.

ฐิติมา นรโภค, ธนิตพันธ์ พงษ์จงมิตร, อนุสรณ์ เชิดทอง และนพรัตน์ ผกาเชิด. 2561. การใช้กากมันสำปะหลังหมักด้วยสารเสริมต่อปริมาณการกินได้และ ความสามารถในการย่อยได้ของโคเนื้อ. แก่นเกษตร. 46 (ฉบับพิเศษ 1): 590-596.

ณรงค์ นิยมวิทย์. 2538. ธัญชาติและพืชหัว. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 2557. ศูนย์วิจัยกสิกรฯชูส่งออก “เส้นก๋วยเตี๋ยวพร้อมปรุง” สร้างมูลค่าเพิ่ม”ข้าวไทย”. แหล่งข้อมูล: http://www.prachachat.net/news_detail. ค้นเมื่อ 4 ธันวาคม. 2558.

ภัทรภร ทัศพงษ์. 2554. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. แหล่งข้อมูล: http://www.agi. nu.ac.th /science/121113_1.php. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562.

เมธา วรรณพัฒน์. 2533. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. หจก.ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ.

วริยา โกสุม, นารีรัตน์ เจริญวัฒนสกุล, ยุวเรศ เรืองพานิช, สุกัญญา รัตนทับทิมทอง และเสกสม อาตมางกูร. 2552. คุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ ของกากมันสำปะหลัง. น. 117-124. ใน: การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 สาขาสัตว์ วันที่ 17-20 มีนาคม 2552. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. “โคเนื้อล้านนา” หวั่นเปิดเสรี FTA ออสซี่ เร่งของบ “กองทุน” พัฒนาสายพันธุ์-ลุยส่งออกจีน. แหล่งข้อมูล: https://www.prachachat.net/local-economy/news-293006. ค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2562.

สุปรีณา ศรีใสคำ, ปิตุนาถ หนูเสน และพิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์. 2562. ผลการใช้กากมันสำปะหลังหมักในอาหาร โคเนื้อต่อการกินได้และการย่อยได้ของโภชนะ. แก่นเกษตร. 47 (ฉบับพิเศษ 2): 771-776.

ห้างหุ้นส่วนจำกัดสินทวีโภคภัณฑ์กาฬสินธุ์. 2561. โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว, จังหวัดกาฬสินธุ์. 4 ตุลาคม 2561. สัมภาษณ์.

AOAC. 1990. Official Methods of Analysis. Association of Official Analytical Chemists. 15th Edition. Arlington, VA.

Ahola, J. K., R. M. Enns, and T. Holts. 2006. Examination of potential method to predict pulmonary arterial pressure score in beef cattle. J. Anim. Sci. 84: 1259-1264.

Boucher, S. E., R. S. Ordway, N. L. Whitehouse, F. P. Lundy, P. J. Kononoff, and C. G. Schwab. 2007. Effect of incremental urea supplementation of a conventional corn silage based diet on ruminal ammonia concentration and synthesis of microbial protein. J. Dairy Sci. 90: 5619–5633.

Bremmer, J. H., and D. R. Keeney. 1965. Steam distillation methods of determination of ammonium, nitrate and nitrite. Annual. Chem. Acta. 32: 485-495.

Crocker, C. L. 1967. Rapid determination of urea nitrogen in serum or plasma without deproteinization. Am. J. Med. Tech. 33: 361-365.

Gars, M. R. and B. N. Gupta. 1992. Effect of supplementing urea molasses mineral block lick to straw based diet on DM intake and nutrients utilization. Asian-Aust. J. Anim. Sci. 5: 39.

Kaneko, J. J., J. W. Harvey, and M. L. Bruss. 1997. Clinical Biochemistry of Domestic Animal. 5th Edition. Academic Press Inc., New York.

Keulen J., and B. A. Young. 1977. Evaluation of acid-insoluble ash as a natural marker in ruminant digestibility studies. J. Anim. Sci. 44: 282-287.

Koakhunthod, S., and M. Wanapat. 2000. Effects of high-quality feed block and extracted rice bran supplementation on feed intake, rumen fermentation and microbial population in beef cattle fed on urea-treated rice straw. p. 235.In: Proc 9th AAAP Animal Science Congress Vol. 13 (B). University of New South Wales, Sydney, Australia.

Norrapoke, T., M. Wanapat, A. Cherdthong, S. Kang, K. Phesatcha, and T. Pongjongmit. 2017. Improvement of nutritive value of cassava pulp and in vitro fermentation and microbial population by urea and molasses supplementation. J. Appl. Anim. Res. 46: 242-247. DOI:http://dx.doi.org/10.1080/90712119.2017. 1288630.

Perdok, H. B., and R. A. Leng. 1990. Effect of supplementation with protein meal on the growth of cattle given a basal diet of untreated or ammoniated rice straw. Asian-Aust. J. Anim. Sci. 3:269-279.

SAS. 1996. SAS/STAT User’s Guide: Version 6. 12. 4th Edition. SAS Institute Inc., Cary, NC.

Steel, R. G. D., and J. H. Torrie. 1980. Principles and Procedures of Statistics: a biometric approach. 2nd Edition. McGraw-Hill, New York.

Van Soest, P. J., J. B. Robertson, and B.A. Lewis. 1991. Methods for dietary fiber neutral detergent fiber, and nonstarch polysaccharides in relation to animal nutrition. J. Dairy Sci. 74: 3583-3597.

Wanapat, M. 2000. Rumen manipulation to increase the efficiency use of local feed resources and productivity of ruminants in topics. Asian-Aust. J. Anim. Sci. 13 (Suppl): 59-67.