สหสัมพันธ์ของลักษณะการเจริญเติบโตและผลผลิตชีวมวลในลูกผสมข้ามชนิดระหว่างสบู่ดำกับเข็มปัตตาเวีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ลักษณะการเจริญเติบโตอาจใช้ในการคัดเลือกสายพันธุ์สบู่ดำลูกผสมให้มีผลผลิตชีวมวลสูง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของคู่ผสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตชีวมวล และหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการเจริญเติบโตกับผลผลิตชีวมวลในสบู่ดำลูกผสมข้ามชนิด โดยปลูกทดสอบลูกผสมข้ามชนิดระหว่างสบู่ดำกับเข็มปัตตาเวีย จำนวน 16 คู่ผสม ในสภาพไร่เป็นเวลา 2 ปี (2015 - 2017) เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตและผลผลิตชีวมวลของลูกผสมในแต่ละรอบปี พบว่า คู่ผสมมีอิทธิพลต่อลักษณะการเจริญเติบโตและผลผลิตชีวมวลของสบู่ดำลูกผสมทั้งหลังปลูกและหลังตัดฟัน และผลผลิตชีวมวลมีความสัมพันธ์สูงในเชิงบวกกับขนาดลำต้นและกิ่งและขนาดทรงพุ่ม (r = 0.31** ถึง 0.84**) จึงสามารถใช้ลักษณะเหล่านี้ในการคัดเลือกสายพันธุ์สบู่ดำลูกผสมเพื่อให้มีผลผลิตชีวมวลสูง นอกจากนี้ ความชื้นของเนื้อไม้มีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับขนาดลำต้นและกิ่ง ขนาดทรงพุ่มและผลผลิตชีวมวล (r = -0.22** ถึง -0.58**) แสดงว่าสามารถปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำลูกผสมที่มีการเจริญเติบโตดีและผลผลิตชีวมวลสูงพร้อมกับปรับปรุงเนื้อไม้ให้มีความชื้นต่ำ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
อนุรักษ์ อรัญญนาค, พัชรินทร์ ตัญญะ, พรศิริ เลี้ยงสกลุ และ พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์. 2561. การประเมินผลผลิตและชีวมวลในสบู่ดำลูกผสมภายในชนิดและลูกผสมข้ามชนิด. แก่นเกษตร. 46: 1191-1202.
อนุรักษ์ อรัญญนาค, สินีนาฎ เกิดทรัพย์, พัชรินทร์ ตัญญะ, พรศิริ เลี้ยงสกุล และพีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์. 2562. การเปรียบเทียบศักยภาพทางชีวมวลในลูกผสมข้ามชนิดของพืชสกุล Jatropha. แก่นเกษตร. 47: 917-928.
Berlin, S., H.R. Hallingback, F. Beyer, N.E. Nordh, M. Weih, and A.C. Ronnberg-Wastljung. 2017. Genetics of phenotypic plasticity and biomass traits in hybrid willows across contrasting environments and years. Ann. Bot. 120: 87-100.
Chotchutima, S., K. Kangvansaichol, S. Tudsri, and P. Sripichitt. 2013. Effect of spacing on growth, biomass yield and quality of Leucaena (Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit.) for Renewable Energy in Thailand. J. Sustain. Bioenergy Syst. 3: 48-56.
Laosatit, K., P. Tanya, N. Muakrong, and P. Srinives. 2014. Development of interspecific and intergeneric hybrids among jatropha-related species and verification of the hybrids using EST–SSR markers. Plant Genet. Resour. 12: 58-61.
Muakrong, N., K. Thida One, P. Tanya, and P. Srinives. 2014. Interspecific jatropha hybrid as a new promising source of woody biomass. Plant Genet. Resour. 12: 17-20.
Santos, P.E.T., E.P. Filho, L.T.M. Silva, and P.B. Vandresen. 2015. Genetic variation for growth and selection in adult plants of Eucalyptus badjensis. Genet. Mol. Biol. 38: 457-464.
Senger, E., A. Peyrat, M. Martin, and J.M. Montes. 2014. Genetic variation in leaf chlorophyll content of Jatropha curcas L. Ind. Crops Prod. 58: 204-211.
Sixto, H., P. Gil, P. Ciria, F. Camps, I. Ca~nellas, and J. Voltas. 2016. Interpreting genotype-by-environment interaction for biomass production in hybrid poplars under short-rotation coppice in Mediterranean environments. Glob. Change Biol. Bioenergy. 8: 1124-1135.
Tiwari, A.K., A. Kumar, and H. Raheman. 2007. Biodiesel production from jatropha oil (Jatropha curcas) with high free fatty acids: An optimized process. Biomass and Bioenergy. 31: 569-575.
Verlinden, M.S., L.S. Broeckx, J. Van den Bulcke, J. Van Acker, and R. Ceulemans. 2013. Comparative study of biomass determinants of 12 poplar (Populus) genotypes in a high-density short-rotation culture. For. Ecol. Manag. 307: 101-111.