การเปลี่ยนแปลงฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของใบมะนาวโห่ภายใต้สภาวะเค็ม

Main Article Content

สกุลกานต์ สิมลา
สุรศักดิ์ บุญแต่ง
สุพัตรา สารเเสน

บทคัดย่อ

ความเค็มสามารถกระตุ้นให้เกิดการสะสมสารพฤกษเคมีในพืชได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระภายใต้สภาวะความเค็มจากเกลือสินเธาว์ซึ่งเป็นเกลือชนิดหลักของดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีพืชทดสอบคือมะนาวโห่ (Carissa carandas L.) เลือกใช้ส่วนใบซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่มีตลอดทั้งปีและมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ ทำการประเมินที่ 6 ความเข้มข้นของเกลือสินเธาว์ คือ 0, 25, 50, 75, 100 และ 125 mM ที่ 4 ระยะพัฒนาการของใบ คือใบอ่อน ใบเพสลาด ใบเจริญเต็มที่ และใบแก่ ผลการศึกษาพบว่า ต้นมะนาวโห่สามารถทนความเค็มได้ถึงระดับความเข้มข้นที่ 50 mM โดยความเข้มข้นของเกลือสินเธาว์ที่ 25 mM เป็นระดับที่ส่งเสริมให้มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระได้มากที่สุด โดยระยะพัฒนาการของใบส่งผลต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของใบ ใบอ่อนเป็นใบที่มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระแบบ DPPH มากที่สุด ใบเพสลาดและใบเจริญเต็มที่เป็นใบที่มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระแบบ FRAP มากที่สุด และใบแก่เป็นใบที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสสระแบบ ABTS มากที่สุด โดยพบว่าใบแก่ที่ได้รับเกลือสินเธาว์ความเข้มข้น 25 mM เป็นใบที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการหาวิธีการกระตุ้นให้เกิดการสะสมสารสำคัญในใบมะนาวโห่เพื่อให้มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จิราภรณ์ กระแสเทพ และมัณฑนา นครเรียบ. 2559. ปริมาณฟินอลิกทั้งหมด ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเมล็ดข้าวทับทิมชุมแพ. น. 69-78 ใน: การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2559 8 - 10 มีนาคม 2559. โรงแรมหนองหาร ดิแอลลิแกนท์ จังหวัดสกลนคร.

เจนจิรา จิรัมย์ และประสงค์ สีหานาม. 2554. อนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระ: แหล่งที่มาและกลไกการเกิดปฏิกิริยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ 1: 59-70.

นิภาพร ยลสวัสดิ์, มณทินี ธีรารักษ์ และจำรูญ เล้าสินวัฒนา. 2557. การประเมินความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระ และการจับโลหะ และปริมาณฟินอลิคจากใบทุเรียน 10 พันธุ์. แก่นเกษตร 42: 88-93.

ประกอบ คุปรัตน์. 2556. ผลไม้ที่มีคุณสมบัติเป็นยา - มะม่วงหาวมะนาวโห่ (Carissa carandas). แหล่งข้อมูล: http://pracob.blogspot.com. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558.

ประไพรัตน์ สีพลไกร. 2555. สารอินโดลอัลคาลอยด์และฤทธิ์ทางชีวภาพของต้นพญาสัตบรรณ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14: 54-65.

ภานุวัฒน์ สีพันธ์, สกุลกานต์ สิมลา, พัชรี สิริตระกูลศักดิ์ และชฎาพร เสนาคุณ. 2560. ระยะพัฒนาการต่อปริมาณสารพฤกษเคมีและความสามารถ ในการต้านอนุมูลอิสระในใบมะนาวโห่. วารสารวิทยาศาสตร์แก่นเกษตร 45: 336-341.

วชิราภรณ์ ผิวล่อง, สุรศักดิ์ สัจจบุตร, ศิริลักษณ์ สิงห์เพชร และจารุรัตน์ เอี่ยมศิริ. 2556. อิทธิพลของระยะเวลาสุกต่อสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของมะนาวโห่. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 44: 337-340.

สกุลกานต์ สิมลา, สุรศักดิ์ บุญแต่ง และพัชรี สิริตระกูลศักดิ์. 2556. การประเมินปริมาณสารพฤกษเคมีบางประการและกิจกรรมของสารต้านอนุมูลอิสระใน Carissa carandas L. แก่นเกษตร 41: 602-606.

สกุลกานต์ สิมลา. 2559. มะนาวโห่: พืชในวรรณคดีไทยที่มากมายด้วยประโยชน์. แก่นเกษตร, 44: 557-566.

สุมาลี ชูกำแพง. 2555. พืชในสภาวะเครียดเกลือ. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย 4: 15-24.

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2556. มะม่วงหาว มะนาวโห่ (ออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.qsbg.org. 20 สิงหาคม 2558.

อธิภัทร เงินหมื่น. 2556. ผลของความเค็มต่อลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของพืชทนเค็มบางชนิดที่พบภายในพื้นที่นากุ้งทิ้งร้าง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

อรุณี ยูวะนิยม. 2547. การจัดการดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. แหล่งข้อมูล: http://www.sri.cmu.ac.th/~environment/Download/050505.pdf. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560.

โอภา วัชระคุปต์. 2549. สารต้านอนุมูลอิสระ. พี.เอส.พรินท์, กรุมเทพฯ.

Agarwal, T., R. Singh, A.D Shukla, and I. Waris. 2012. In vitro study of antibacterial activity of Carissa carandas leaf extracts. Asian J. Plant Sci. Res. 2: 36-40.

Bhati, P., A. Shukla, M. Sharma, and P. mourya. 2014. Hepatoprotective activity of leaves extracts of Carissa carandas Linn. Indo Am. J. Pharm. Res. 4: 5185-5192

Falcinelli, B., V. Sileoni, O. Marconi, and G. Perretti. 2017. Germination under moderate salinity increases pheonlic content and antioxidant activity in rapeseed (Brassica napus var okeifera Del.) sprouts. Molecules 22: 1-13.

Hati, M., B.K. Jena, S. Kar, and A.K. Nayak. 2014. Evaluation of anti-inflammatory and anti-pyretic activity of Carissa carandas L. leaf extract in rats. J. Pharm. Chem. Bio. Sci. 1: 18-25.

Krasaetep, J., M. Nakornriab, D. Puangpronpitag. 2011. Antioxidant activity and total phenolic contents in leaf of some Thai rice cultivars. Int. J. Applied Chem. 7: 285-296.

Kriengsak, T., J.B. Unaro, and C. Kevin. 2006. Comparison of ABTS, DPPH, FRAP and ORAC assays for estimating antioxidant activity from guava fruit extracts. J. Food Compos. Anal. 669–675.

Kumar, S., P. Gupta, and V. Gupta K.L. 2013. A critical review on Karamarda (Carissa carandas Linn.). Int. J. Pharm. Bio. Arch. 4: 637 -642

Lim, J.H., K.J. Park, B.K. Kim, J.W. Jeong and H.J. Kim. 2012. Effect of salinity stress on phenolic compounds and carotenoids in buckwheat (Fagopyrum esculentum M.). Food Chem. 135: 1065-1070.

Philippine Medicinal Plants. 2012. Caranda. Available: http://goo.gl/kBShxE. Accessed Aug. 6, 2014.

Sharma, S.K., and S.K. Banyal. 2010. Rehabilitation of marginal lands through karonda cultivation. Int. Agri. 49: 6-10.

Shiow, Y.W., and H.S. Lin. 2000. Antioxidant activity in fruits and leaves of blackberry, raspberry, and strawberry varies with cultivar and developmental stage. J. Agri. Food Chem., 48: 140–146.

Sudjaroen, Y., and K. Suwannahong. 2017. In vitro antioxidant, antibacterial, and cytotoxicity activities from Karanda (Carissa carandas L.) fruit extracts. Int. J. Green Pharm. 11: S189-S193.

Sulaiman, S.F., W.S. Teng, O.K. Leong, S.R. Yusof, and T.S.T. Muhammad. (n.d.). Anticancer study of Carissa carandas extracts. Available: http://goo.gl/ W2WjSG. Accessed May 16, 2014.

Tayyab, M. Azeem, M. Qasim, and R. Ahmad. 2016. Effect of sea salt irrigation on plant growth, yield potential and some biochemical attributes of Carissa carandas. Pak. J. Bot. 3: 853-859.

Verma, S., and H.S. Chaudhary. 2011. Effect of Carissa carandas against Clinically Pathogenic bacterial strains. J. Pharm. Res. 4: 3769-3771.Table 1 Feed ingredients component and analytical nutrients composition of the control diets for each period of growth (Cont.)