การศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ในการเลี้ยง กุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ในประเทศไทย

Main Article Content

สรวณีย์ วิริยะอัครเดชา
นิติ ชูเชิด
พุทธรัตน์ เบ้าประเสริฐกุล
เบญจพร สัมฤทธิเวช
พงศ์เชฏฐ์ พิชิตกุล
อรุโณทัย คีตะนนท์
วิษณุ ธรรมลิขิตกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ตรวจสอบการดื้อต่อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรีย Escherichia coli, Salmonella spp. และ Vibrio spp. ในกุ้งขาวแวนนาไม ดำเนินการเก็บตัวอย่างกุ้งขาวแวนนาไม จากฟาร์มและน้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดสงขลาในช่วงเดือนกันยายน ปี 2560 ถึง มีนาคม ปี 2561 การดื้อต่อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรียทดสอบด้วยยา amoxicillin, ampicillin, ceftriaxone, ciprofloxacin, colistin และ oxytetracycline ด้วยวิธีการ disc diffusion ผลการทดสอบจากฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมพบเชื้อ Vibrio spp. จากทั้งตัวอย่างที่เก็บจาก 2 จังหวัด เป็นส่วนใหญ่ โดยเชื้อดังกล่าวแสดงการดื้อต่อยา amoxicillin, ampicillin, oxytetracycline, ceftriaxone และ colistin พบเชื้อ Salmonella spp. จากจังหวัดสงขลาดื้อต่อยา amoxicillin และ ampicillin ขณะที่พบเชื้อ E. coli จากจังหวัดสงขลาดื้อต่อยา amoxicillin, ampicillin, oxytetracycline และ ceftriaxone การศึกษาครั้งนี้ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อ E. coli จากตัวอย่างที่เก็บจากจังหวัดจันทบุรี เพื่อการลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาในสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร จำเป็นจะต้องลดการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ที่เป็นอาหารให้น้อยที่สุด โดยใช้แนวทางการป้องกันโรคที่เหมาะสมมีการกำจัดเชื้อก่อโรคที่ดี และมีการจัดการการเลี้ยงที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กระทรวงสาธารณสุข. 2560. แผนยุทธศาสตร์การจัดการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560–2564. แหล่งข้อมูล: https://kbphpp.nationalhealth.or.th/bitstream/handle/123456789/7525/01.pdf?sequence=1. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561.

กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง. 2558. สถิติผลผลิตการเลี้ยงกุ้งทะเลประจำปี 2558 เอกสารฉบับที่ 2/2560. กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

ทิพย์ภาพร หล่อสิงห์คำ. 2554. การประเมินประสิทธิภาพของสารไอโซยูจินอลเพื่อใช้เป็นยาสลบสำหรับกุ้งขาวแวนนาไม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ.

ผจงจิตต์ ทองศรี.2559.แนวทางการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย สายพันธุ์ก่อโรคอีเอ็มเอส. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ.

มาลินี จุลศิริ. 2532. ยาต้านจุลชีพ: ความรู้พื้นฐานและประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์อักษรบัณฑิต, กรุงเทพฯ.

อิสยา จันทร์วิทยานุชิต และ วัชรินทร์ รังสีภาณุรัตน์. 2553. แบคทีเรียทางการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ

อรอนงค์ พริ้งศุลกะ. 2555. จุลชีววิทยาทางการแพทย์: แบคทีเรียก่อโรค. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, กรุงเทพฯ.

Akibowale, O.L., H. Peng and M.D. Barton. 2005. Antimicrobial resistance in bacteria isolated from aquaculture sources in Australia. Appl. Microbiol. 100: 1103–1113.

Banerjee, S., M.C. Ooi, M. Shariff, and H. Khatoon. 2012.Antibiotic resistant Salmonella and Vibrio associated with farmed Litopenaeus vannamei. Sci. World J. (2012): 130–136.

Bhaskar, N., T.M. Setty, S. Modal, M.A. Joseph, C.V. Raju, B.S. Raghunath, and C.S. Anantha. 1998. Prevalence of bacteria of public health significance in the cultured shrimp (Penaeus monodon). Food Microbiol. 15 : 511–519.

Bergey, D.H., N.R. Krieg, and J.G. Holt. 1984. Bergey’s Manual of Systematic Bacteriology. 2nd Edition. Springer, New York.

Bondad-Reantaso, M.G., S.E. McGlddery, I. East, and R.P. Subasinghe. 2001. Asia Diagnostic Guide to Aqautic Animal Diseases. FAO Fisheries Technical Paper, FAO, Rome.

Chakravarty M.S., P.R.C. Ganesh, D. Amaranth, B. S. Sydha, and M. Subhashini. 2015. Escherichia coli occurrence in the meat of shrimp fish chicken and mutton and its antibiotic resistance European. Exp. Biol. 5: 41–48.

Dalsgaard, A., H.H. Huss, A. H-Kittikun, and J.L. Larsen. 1995. Prevalence of Vibrio cholerae and Salmonella in a major shrimp production area in Thailand. Food Microbiol. 28 : 101–113.

Kang, C.H., Y.G. Kim, S.J. Oh, J.S. Mok, M.H. Cho, and J.S. So. 2014. Antibiotic Resistance of Vibrio harveyi Isolated from seawater in Korea. Marine Pollut. Bull. 86: 261–265.

Koonse, B., W. Burkhardt, S. Chirtel, and G.P. Hoskin. 2005. Salmonella and the sanitary quality of aquacultured shrimp. Adv. Exp. Med. Biol. 68: 2527–2532.

Norhana, M.W., M.Y. Johara, and A.M. Ramlah. 2001. occurrence of pathogens from major shrimp and oyster production areas in Penisular Malaysia. Malay. Fish. J. 2: 176-184.

Singer, R.S., and C.L. Hofacre. 2006. Potential impacts of antibiotic use in poultry production. Avian. Dis. 50 : 161–72.

Tello, A., A.R. Corner, and T.C. Telfer. 2010. How do land-based salmonid farms affect stream ecology. Environ. Pollut. 158: 1147–1158.

Woodring, J., A. Srijan, P. Puripunyakom, W. Oransathid, B. Wongstitwilairoong, and A. Mason. 2011. Prevalence and antimicrobial susceptibilities of Vibrio, Salmonella, and Aeromonas isolates from various uncooked seafoods in Thailand. Adv. Exp. Med. Biol. 75: 41–47.