ความสามารถในการรวมตัวสำหรับผลผลิตและคุณภาพการบริโภคในสายพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษยีนด้อยร่วมที่พัฒนาจากเชื้อพันธุกรรมต่างประเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยเชื้อพันธุกรรมจากต่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการรวมตัวสำหรับผลผลิตและคุณภาพการบริโภคในสายพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษยีนด้อยร่วมที่พัฒนาจากเชื้อพันธุกรรมต่างประเทศชั่วรุ่น S4 จำนวน 18 สายพันธุ์ สร้างคู่ผสมด้วยวิธีการผสมข้ามกับพันธุ์ทดสอบ 2 พันธุ์ ได้คู่ผสมทั้งหมด 36 คู่ผสม ทำการปลูกประเมินในฤดูแล้ง ปี พ.ศ. 2562/2563 จำนวน 2 สถานที่ทดสอบ จากผลการศึกษา พบว่า ความแปรปรวนอันเนื่องมาจากอิทธิพลของยีนแบบข่มสูงกว่าแบบผลบวกสะสม ในทุกลักษณะที่ทำการศึกษา ยกเว้น ความกว้างและความยาวฝัก ซึ่งการคัดเลือกลักษณะดังกล่าวควรทำในชั่วรุ่นหลังๆ สายพันธุ์ L2 L3 และ L18 มีค่าความสามารถในการรวมตัวทั่วไป (GCA) สูงสุดในลักษณะผลผลิต ในขณะที่สายพันธุ์ L3 L9 L16 และ L18 มีค่า GCA สูงสุด สำหรับลักษณะรสชาติ ความนุ่ม ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และความหวาน ตามลำดับ นอกจากนี้ คู่ผสมที่มีค่าเฉลี่ยและความสามารถในการรวมตัวเฉพาะสูงเกิดจากการผสมข้ามระหว่างพันธุ์ทดสอบและสายพันธุ์ S4 ที่มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปสูง หรือมาจากข้างใดข้างหนึ่งที่มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปสูง จากการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่า สายพันธุ์ L18 มีศักยภาพสำหรับพัฒนาเป็นสายพันธุ์แท้ข้าวโพดหวานพิเศษที่มียีนด้อยร่วม และสร้างลูกผสมเดี่ยวที่มีผลผลิตและคุณภาพการบริโภคสูงต่อไป
Article Details
References
กมล เลิศรัตน์. 2550. พันธุ์พืชยุคใหม่เพื่อชีวิตที่ยืนยาวอย่างเป็นสุข. สำนักพิมพ์เท็กซ์ แอนด์ พับลิเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ.
ชบา ทาดาวงษา, กมล เลิศรัตน์ และพลัง สุริหาร. 2558. สมรรถนะการรวมตัวของจำนวนฝักและน้ำหนักผลผลิตฝักสดในข้าวโพดเทียนสีม่วงสายพันธุ์แท้. แก่นเกษตร. 43: 557-564.
ชวนชัย ผ่องใสย์. 2544. การทดสอบสมรรถนะการผสมในชั่ว S4 เพื่อเป็นดัชนีสำหรับการปรับปรุงข้าวโพดลูกผสม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ณัฏฐนี กิจไพบูลทวี. 2546. การใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดจากเขตอบอุ่นเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมภายในประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
นันทยา วงษา. 2552. สมรรถนะการรวมตัวของข้าวโพดหวานที่ควบคุมด้วยยีน shrunken-2. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พลัง สุริหาร. 2558. ข้าวโพดและการปรับปรุงพันธุ์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ไพศาล เหล่าสุวรรณ. 2527. หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช. โรงพิมพ์ ไทยนำ, สงขลา.
อาภากร เฟื่องถี. 2562. ความสามารถในการรวมตัวของสายพันธุ์แท้ข้าวโพดข้าวเหนียวและข้าวโพดหวานเขตร้อนชื้นที่พัฒนามาจากเชื้อพันธุกรรมต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
Abadassi, J. and Y. Herve. 2000. Introgression of temperate germplasm to improve an elite tropical maize population. Euphytica. 113: 125–133.
Baker, R. J. 1978. Issue in diallel analysis. Crop Sci. 18: 533-536.
Castellanos, J. S., A. R. Hallauer, and H. S. Cordova. 1998. Relative performance of testers to identify elite line of corn (Zea mays L.). Maydica. 43: 217-226.
Dhasarathan, M., C. Babu, and K. Lyanar. 2015. Combining ability and gene action studies for yield and quality traits in baby corn (Zea mays L.). SABRAO J. Breed. Gen. 47: 60-69.
Evensen, K. B. and Boyer, C. D. 1986. Carbohydrate composition and sensory quality of fresh and stored sweet corn. J. Am. Soc. Hortic. Sci. 111: 734-738.
Kumari, J., R. N. Gadag, G. K Jha, H. C. Joshi, and R. D. Singh. 2008. Combining ability for field emergence, kernel quality traits, and certain yield components in sweet corn (Zea mays L.). J. Crop improve. 22: 66-81.
Letrat, K. and T. Pulum. 2007. Breeding for increased sweetness in sweet corn. Intl. J. Plant Breed. 1: 27-30.
Pumichai, C., W. Dounganan, P. Puddhanon, S. Jumpatong, P. Grudloyma and C. Kirdsri. 2008. SSR-based and grain yield-base diversity of hybrid maize in Thailand. Field Crop Res. 108: 157-162.
Rice, R. R. and W. F. Tracy. 2013. Combining ability and acceptability of temperate sweet corn inbreds derived from exotic germplasm. J. Amer. Soc. Hort. 138: 461-469.
Sadaiah, K., V. R. Narsimha, and S. K. Sudheer. 2013. Study on heterosis and combining ability for earliness in hybrids and parental lines in sweet corn (Zea mays L. saccharata). Inter. J. Trop. Agr. 31: 3-4.
Simla, S., Lertrat, K. and Suriharn, B. 2016. Combination of multiple genes controlling endosperm characters in relation to maximum eating quality of vegetable waxy corn. SABRAO J Breed Genet. 48: 210-218.
Singh, R. K. and B. D. Chaudhary. 1979. Biometrical Methods in Quantitative Genetic Analysis. Kalyani Publishers. New Delhi-Ludhiana.
Tracy, W. F. and A. R. Hallauer. 1994. Sweet corn. P.148-187. In A. R. Hallauer. Specialty Corns. SRC Press, FL.