ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่ปลาช่อนของเกษตรกรในจังหวัดกำแพงเพชรและอ่างทอง

Main Article Content

สุภาวดี สอดสี
กัมปนาท วิจิตรศรีกมล
สุวรรณา ประณีตวตกุล

บทคัดย่อ

ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่สำคัญชนิดหนึ่งที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ซึ่งสามารถช่วยสร้างรายได้และความมั่นคงในการประกอบอาชีพ ดังนั้นการพัฒนาและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลาช่อนให้มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับเกษตรกร การศึกษาชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาโครงการแปลงใหญ่ปลาช่อน โดยใช้สถิติเชิงพรรณา และ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมโครงการ ทำการรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ 74 ราย และไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ 175 ราย โดยใช้แบบจำลองโลจิต (logit model) ในการวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการศึกษา พบว่า แบบจำลองมีความเหมาะสมในการอธิบายความสามารถของตัวแปรอิสระที่มีผลต่อโอกาสหรือความเป็นไปได้ของการเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสในการเข้าร่วมโครงการฯในเชิงบวก ได้แก่ ประสบการณ์ในการเลี้ยงปลา พื้นที่เลี้ยงปลา และความสามารถในการลงทุน ในทางกลับกันปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสในเชิงลบ ได้แก่ พื้นที่และประสบการณ์ในการปลูกข้าว ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนเกษตรกรที่มีพื้นที่และประสบการณ์ในการเลี้ยงปลาอยู่แล้ว  รวมถึงการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อให้โครงการฯมีอัตราการเข้าร่วมสูงและเกิดความยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมประมง. 2561. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย. ปริมาณการเพาะเลี้ยงและมูลค่าปลาน้ำจืด. แหล่งข้อมูล:https://www.fisheries.go.th/strategy-stat/document-public. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562.

กระทรวงแรงงาน. 2561 สถิติแรงงานประจำปี 2560. แรงงานภาคการเกษตร. แหล่งข้อมูล: http://www.mol.go.th/sites/default/files/downloads/pdf/sthitiaerngngaan_2560.pdf. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2561.

ฐณัฐ วงศ์สายเชื้อ. 2563. การวิเคราะห์โลจิท Logistic Regression Analysis. แหล่งข้อมูล: http://pirun.ku.ac.th/~fedutnw/pubs/da8010_logistic02.pdf. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2563.

ฐิติมา ขำม่วง. 2557. การประเมินผลกระทบของงานวิจัยและส่งเสริมชุดเทคโนโลยีการลูกพริกศก.13 ในจังหวัดน่าน. แก่น เกษตร. 42. 293-300.

วินัย จั่นทับทิม. 2557. การเพาะเลี้ยงปลาช่อน. กรมประมง: สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง. กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. ข้าวนาปี: พื้นที่เพาะปลูก ปริมาณและการใช้ปุ๋ย จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด. แหล่งข้อมูล: http://impexp.oae.go.th/service/export.php. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2561.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกพืชไร่เศรษฐกิจ. แหล่งข้อมูล: http://impexp.oae.go.th/service/export.php. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2561.

Akudugu,M.A., E. Guo and S.K. Dadzie. 2012. Adoption of modern agricultural production technologies by farm households in Ghana: What factors influence their decision? Journal of Biology, Agriculture and Healthcare 2: 1-13.

Ofuoku, A.U., N.F. Olele and G.N. Emah. 2008. Determinants of adoption of improved fish production technologies among fish farmer in Delta State, Nigeria. Journal of Agricultural Education and Extension. 14: 297-306.

Tran, C. U., B. Limnirankul and Y. Chaovanapoonphol. 2015. Factors’ impact on farmers’ adaptation to drought in maize production in highland area of Central Vietnam. Agriculture and Agricultural Science Procedia. 5: 75-82.