ผลของการใช้เมล็ดข้าวโพดผ่านการแปรสภาพด้วยกรรมวิธีต่างกัน เป็นแหล่งพลังงานในอาหารผสมสําเร็จต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายของเหลวจากกระเพาะรูเมน และพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้โดยใช้เทคนิคผลผลิตแก๊สในหลอดทดลอง

Main Article Content

รัชนี บัวระภา
เกชา คูหา
กฤษณธร สินตะละ
วุฒิกร สระแก้ว
ธนนันท์ ศุภกิจจานนท์

บทคัดย่อ

การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เมล็ดข้าวโพดผ่านการแปรสภาพด้วยกรรมวิธีต่างกัน  เป็นแหล่งพลังงานสูตรอาหารผสมสําเร็จ ต่อประสิทธิภาพการย่อยของเหลวจากกระเพาะรูเมน  และพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ โดยใช้เทคนิคผลผลิตแก๊สในหลอดทดลอง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยจัดให้มีอาหารผสมสำเร็จหมัก สำหรับอาหารทดลอง 4  สูตรๆ ละ 3 ซ้ำ โดยจัดให้มีอาหารผสมสำเร็จ ที่มีความแตกต่างกันของวัตถุดิบพลังงาน 4 สูตร ได้แก่ เมล็ดข้าวโพด (ควบคุม) เมล็ดข้าวโพดนึ่งสุกหมักยีสต์  เมล็ดข้าวโพดมอลต์สดหมักยีสต์ และ เมล็ดข้าวโพดมอลต์แห้งหมักยีสต์ ผลศึกษาพบว่า เมล็ดข้าวโพดแปรสภาพในรูปของข้าวโพดนึ่งสุกหมักยีสต์ และข้าวโพดมอลต์หมักร่วมกับเชื้อยีสต์ มีผลทำให้โปรตีนและพลังงานรวมสูงขึ้น และเมื่อนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานในสูตรอาหารมีแนวโน้มทำให้ค่าการย่อยได้ของอินทรียวัตถุและพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้สูงขึ้น และส่งผลทำให้ค่าจลศาสตร์การผลิตแก๊สในส่วนของค่าการย่อยสลายส่วนที่ไม่ละลายน้ำ ศักยภาพในการย่อยสลายและปริมาณผลผลิตแก๊สรวมมีค่าสูงขึ้น (P<0.05) รวมถึงส่งผลทำให้ปริมาณกรดไขมันสายสั้นมีค่าสูงขึ้น (P<0.05) และมีแนวโน้มทำให้ที่ระเหยง่ายรวมและกรดอะซิติกเพิ่มสูงขึ้น (P=0.09) จากข้อมูลผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใช้วัตถุดิบข้าวโพดแปรสภาพในรูปของข้าวโพดนึ่งและข้าวโพดมอลต์ร่วมกับการหมักยีสต์เป็นวัตถุดิบในสูตรอาหารผสมสำเร็จหมักน่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายและกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ไกรฤกษ์ อำมะลา, นิรชา พลธนู, และอรุณ แซ่โซ้ง. 2562. ผลของการทดแทนข้าวโพดหมักยีสต์ในอาหารสำเร็จทางการค้าต่อประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนค่าอาหารของสุกรขุน. ปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, น่าน.

กรมปศุสัตว์. 2547ก. มาตรฐานพืชอาหารหมักของกองอาหารสัตว์. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

กรมปศุสัตว์. 2547ข. มาตรฐานพืชอาหารสัตว์หมักของกองอาหารสัตว์. เอกสารคำแนะนำกองอาหารสัตว์. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กรมปศุสัตว์. 2551. ความต้องการโภชนะของโคเนื้อในประเทศไทย. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

นพพล ชุบทอง, จิรวัฒน์ พัสระ และเสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ. 2556. ผลของขนาดและการใช้เชื้อจุลินทรีย์ต่อการย่อยสลายของ เปลือกและซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในกระเพาะรูเมนของโคขาวลำพูนและโคดอย. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 44 (1): 31-34.

ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์. 2553. การเพาะเลี้ยงยีสต์. ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ภูวดล เหมะชะรา ปิ่น จันทร์จุฬา และ อนุสรณ์ เชิดทอง. 2561. การประเมินอินทรียวัตถุที่ย่อยได้ และพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ของอาหารผสมเสร็จที่ใช้ทางใบปาล์มน้ำมันหมักเชื้อราเป็นแหล่งอาหารหยาบโดยใช้เทคนิคผลผลิตแก๊ส. วารสารแก่นเกษตร. 46 (4): 687-698.

เมธา วรรณพัฒน์. 2533. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สายัณห์ ทัดศรี. 2540. พืชอาหารสัตว์เขตร้อนการผลิตและการจัดการ. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

A.O.A.C. 2000. Association of Official Analytical Chemists International (AOAC). Official Methods of Analysis. 17th Edition. AOAC International, Gaithersburg, MD, USA.

Biagi, G., A. Piva., M. Moschini., E. Vezzali, and F.X, Roth. 2007. Performance intestinal microflora, and wall morphology of weanling pigs fed sodium butyrate. Journal of Animal Science. 85: 1184-1191.

Dias, A. L. G., J. A. Freitas, B. Micai, R. A. Azevedo, L. F. Greco, and J. E. P. Santos. 2017. Effects of supplementing yeast culture to diets differing in starch content on performance and feeding behavior of dairy cows. Journal of Dairy Science. 101: 186–200.

Goering, H. K. and P. J. Van Soest. 1970. Forage Fiber Analysis (apparatus, Reagent, Procedures and some Application). Agric. Handbook. N. 397. ARS, USDA, Washington, D.C.

Harris, L.E., L.C. Kearl, and P.V. Fonnesbeck. 1972 Use of regression equations in predicting availability of energy and protein. Journal of Animal Science. 35: 658-665.

Khampa, S. and M. Wanapat. 2006. Influences of energy sources and levels supplementation on ruminal fermentation and microbial protein synthesis in dairy steers. Pakistan Journal of Nutrition. 5: 294-300.

Makkar, H.P., M. Blümmel, and K. Becker. 1995. Formation of complexes between polyvinyl pyrrolidones or polyethylene glycols and tannins, and their implication in gas production and true digestibility in in vitro techniques. British Journal of Nutrition. 73(6): 897-913.

Mcniven, M. A., M. R. Weisbjerg, and T. Hvelplund. 1994. Influence of roasting or sodium hydroxide treatment of barley on digestion in lactating cows. Journal of Dairy Science. 78: 1106-1115.

Menke, K. H. and H. Steingass. 1988. Estimation of the energetic feed value obtained from chemical analysis and in vitro gas production using rumen fluid. Animal Research and Development. 28(1): 7-55.

Nagaraja, T.G., G. Towne, and A.A. Beharka, 1992. Moderation of ruminal fermentation by ciliated protozoa in cattle fed a highgrain diet. Applied and Environmental Microbiology. 58: 2410–2414.

Nocek, J.E., and S. Tamminga. 1991. Site of digestion of starch in the gastrointestinal tract of Dairy cows and its effect on milk and composition. Journal of Dairy Science. 74: 3598-3629.

NRC. 2000. National research council Nutrient requirement of beef cattle. 70 th Edition. Academy Press, Washington, DC.

Owens, F. H. and R. A. Zinn. 2005. Corn grain for cattle: Influence of processing on site and extent of digestion. Proc. Southwest Nutrition Interhospital Conference. 29: 86-112.

Ørskov, E. R. and I. McDonald. 1979. The estimation of protein degradability in the rumen from incubation measurements weighted according to rate of passage. The Journal of Agricultural Science. 92: 499-503.

Sallam, S. M. A.; M. E. A Nasser; A. M El-Waziry; I. C. S Bueno, and A. L. Abdalla. 2007. Use of an in vitro rumen gas production technique to evaluate some ruminant feedstuffs. The Journal of Applied Sciences Research. 1: 34-41.

Samuel, M., S. Sagathewan, J. Thomas, and G. Mathen. 1997. An HPLC method for estimation of volatile fatty acids of ruminal fluid. The Indian Journal of Animal Sciences. 67:805–807.

SAS. 1996. User’s Guide: Statistics, Version 6 Edition. SAS.Inst., Cary, N.C.

Sommart, K. 1998. The Use of Cassava in Ruminant Diets Based on Low Quality Roughages. Ph.D. Dissertation. University of Newcastle upon Tyne. England, UK

Thongnum, A., P. Khongphetsak, W. Sarkaew, S. Poojit, S. Potirahong and C. Wachirapakorn. 2018. Effects of fiber feed improvement with urea on chemical composition and kinetic ruminal gas production of both rice straw and sugar cane top. In: The 7th National Animal Science Conference of Thailand 2018 (NASCoT 2018). 22-24 August 2018. Chiangmai, Thailand.

Van Soest, P. J., J. B. Robertson, and B. A. Lewis. 1991. Methods for dietary fiber, neutral detergent fibre and non-starch polysaccharide in relation to animal nutrition. Journal of Dairy Science. 74: 3583-3597.