การเปรียบเทียบผลผลิต ลักษณะทางพืชอาหารสัตว์ ความหวาน และคุณค่าทางโภชนะของหญ้าหวาน (Pennisetum purpureum cv. Mahasarakham) และหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 (Pennisetum purpureum x Pennisetum americanum) ที่อายุการตัดต่างกัน

Main Article Content

ศรัณย์พงศ์ ทองเรือง
กานต์กวี แคล้วเครือ
พงศธร พรมบุตร
สุภาวดี มานะไตรนนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต ลักษณะทางพืชอาหารสัตว์ ความหวาน และคุณค่าทางโภชนะของหญ้าหวานและหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ที่อายุการตัด 30, 45 และ 60 วัน วางแผนการทดลองแบบ 2 x 3 Factorial in completely randomized design (CRD) ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 คือ สายพันธุ์ ประกอบด้วย หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 และหญ้าหวาน ส่วนปัจจัยที่ 2 คือ ระยะการตัด ประกอบด้วย 30, 45 และ 60 วัน มี 6 กลุ่มทดลองๆ 3 ซ้ำ ในชุดดินเพชรบุรี พบว่าหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 124.86±55.86 กก./ไร่ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) กับหญ้าหวานที่ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 158.69±56.05 กก./ไร่ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 มีความสูงต่อหน่อ (144.30±26.86 ซม.) สูงกว่าหญ้าหวาน (80.96±8.62 ซม.) ในขณะที่หญ้าหวานมีขนาดของหน่อวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลาง จำนวนหน่อต่อต้น และสัดส่วนของใบต่อลำต้น (1.90±0.36 ซม., 12.66±3.34 และ 6.97±4.01 ตามลำดับ) มากกว่าหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 (1.39±0.13 ซม., 5.33±0.99 และ 4.21±3.27 ตามลำดับ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 มีความหวานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) กับหญ้าหวาน (5.24±0.54 และ 5.03±0.77 องศาบริกซ์ ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบด้านคุณค่าทางโภชนะพบว่าหญ้าหวาน (9.23±1.00%) มีโปรตีนหยาบสูงกว่าหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 (7.03±0.45%) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยพบว่าหญ้าหวานที่อายุการตัด 30 และ 45 วัน มีโปรตีนหยาบสูงที่สุด (9.83±0.31 และ 9.76±0.48% ตามลำดับ) ค่า NDF และ ADF มีค่าอยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการเลี้ยงสัตว์ ดังนั้นหญ้าหวานที่อายุการตัด 30 และ 45 วัน มีความเหมาะสมในการนำไปใช้เป็นพืชอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์เนื่องจากมีโปรตีนหยาบสูงที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมปศุสัตว์. 2563. ข้อมูลเกษตรกร/ปศุสัตว์. แหล่งข้อมูล: http://ict.dld.go.th/webnew/index.php/th/service-ict/report/247-report-thailand-livestock. ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2563.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2557. ลักษณะและสมบัติของชุดดินจัดตั้งในประเทศไทย ชุดดินเพชรบุรี. แหล่งข้อมูล: http://oss101.ldd.go.th/thaisoils_museum/pf_desc/pf_desc_all/Pb.htm. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2563.

กานต์สิรีเกศ เลิศสรรสิริ, ธีรชัย หายทุกข์ และ อนุสรณ์ เชิดทอง. 2562. ระดับการตัดหญ้าพืชอาหารสัตว์ต่อปริมาณผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมีในช่วงฤดูหนาวทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. แก่นเกษตร. 47(ฉบับพิเศษ 2): 385-390.

จักรพงษ์ ชายคง, อาณัติ จันทร์ถิระติกุล, เกศวดี ศรีงาม, พัชริดา หิมลี, สายฝน คำฉิม, อภิญญา บุญทศ และมนัสศิญา อรุณโรจน์วานิช. 2561. ช่วงห่างเวลาการตัดต่อลักษณะการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณค่าทางโภชนะของหญ้า Pennisetum purpureum cv. Mahasarakham ภายใต้ระบบชลประทานในช่วงฤดูหนาว. แก่นเกษตร. 46(ฉบับพิเศษ 1): 158-164.

เชาวฤทธิ์ มาปะโท และ เมธา วรรณพัฒน์. 2560. หญ้าหวาน (Pennisetum purpureum cv. Mahasarakham) หญ้าทางเลือกใหม่สำหรับสัตว์เคี้ยงเอื้อง. วารสารโคนม. 34: 57-63.

ธิดารัตน์ กันฮะ, อิทธิพล เผ่าไพศาล และกฤตพล สมมตย์. 2558. อิทธิพลของอายุตัดเก็บเกี่ยวหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ต่อองค์ประกอบทางเคมี ความสามารถในการย่อยได้ พลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ และการปลดปล่อยแก๊สมีเทนจากกระเพาะหมักของโคเนื้อ. แก่นเกษตร. 43: 565-572.

นรวร ตรงกาวิน, ศิริพร หล้าแสน, ศิริลักษณ์ ดินเมืองชน, แสตมป์ ดีมี, ชื่นจิต แก้วกัญญา, ธีระยุทธ จันทะนาม และวัชรวิทย์ มีหนองใหญ่. 2562. การเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณค่าทางโภชนะการของหญ้าเนเปียร์ 3 สายพันธุ์ที่ปลูกในสภาพดินลูกรัง. แก่นเกษตร. 47(ฉบับพิเศษ 2): 187-194.

ประนิดา ธรรมษา, วรรณนิษา วงค์ทหาร และทิพเนตร นาหนองตูม. 2560. ช่วงห่างเวลาการตัดของหญ้าเนเปียร์ลูกผสมต่อลักษณะการเจริญเติบโตผลผลิต และองค์ประกอบทางเคมีเพื่อเป็นอาหารสัตว์กระเพาะเดี่ยว. ปัญหาพิเศษ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

เมธา วรรณพัฒน์ และ ฉลอง วชิราภากร. 2553. เทคนิคการให้อาหารโคเนื้อโคนม. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วิทยา สุมามาลย์ และ พรชัย ล้อวิลัย. 2556. อิทธิพลของความสูงในการตัดที่มีต่อผลผลิตและคุณค่าทางโภชนะของหญ้ากินนีสีม่วงภายใต้การให้น้ำชลประทาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 33: 249-259.

สายัณห์ ทัดศรี. 2547. พืชอาหารสัตว์เขตร้อน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เสมอใจ บุรีนอก. 2557. คุณภาพพืชอาหารสัตว์และการใช้ประโยชน์. สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, นครราชสีมา.

AOAC. 1990. Official Methods of Analysis. 15th Edition. Association of Official Analysis Chemists. Arlington, VA.

Mapato, C. and M. Wanapat. 2018. Comparison of silage and hay of dwarf Napier grass (Pennisetum purpureum) fed to Thai native beef bulls. Tropical Animal Health and Production. 50: 1473-1477.

National Research Council. 1988. Nutrient requirements of dairy cattle. 6th Edition. National Academy Press, Washington, D.C.

R Core Team. 2020. R: A language and environment for statistical computing. R Foundation for Statistical Computing. Available: https://www.R-project.org/. Accessed Dec.14, 2020.

Van Soest, P. J., J. B. Robertson, and B. A. Lewis. 1991. Methods of dietary fiber, neutral detergent fiber and non-starch polysaccharides in relation of animal nutrition. Journal of Dairy Science. 74: 3583-3597.

Wangchuk, K., K. Rai, H. Nirola, C. Dendup, and D. Mongar. 2015. Forage growth, yield and quality responses of Napier hybrid grass cultivars to three cutting intervals in the Himalayan foothills. Tropical Grasslands-Forrajes Tropicales. 3: 142-150.

Zailan, M.Z., H. Yaakub, and S. Jusoh. 2016. Yield and nutritive value of four Napier (Pennisetum purpureum) cultivars at different harvesting ages. Agriculture and Biology Journal of North America. 7: 213-219.