ผลของการทดแทนกากถั่วเหลืองโดยใช้กากถั่วเหลืองเปียกหมักยีสต์ในสูตรอาหารข้นต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และเมตาบอไลซ์ในเลือดโคเนื้อ

Main Article Content

ศรัญญา ม่วงทิพย์มาลัย
สุบรรณ ฝอยกลาง
อนุสรณ์ เชิดทอง
จุฬากร ปานะถึก
สุนทร เกไกรสร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กากถั่วเหลืองเปียกหมักยีสต์ทดแทนกากถั่วเหลืองในสูตรอาหารข้นต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และเมตาบอไลซ์ในเลือดในโคเนื้อ โดยใช้แผนการทดลองแบบจัตุรัสลาติน (4 x 4 latin square design) ทำการทดลองในโคเนื้อพันธุ์พื้นเมืองเพศผู้ตอน จำนวน 4 ตัว อายุ 1 – 1.5 ปี น้ำหนักตัวเฉลี่ย 180 ± 30 กิโลกรัม โดยสัตว์ทดลองจะได้รับอาหารข้นที่ใช้กากถั่วเหลืองเปียกหมักยีสต์ (YEFSW) เป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลือง (SBM) 4 ระดับ ได้แก่ 100:0, 67:33, 33:67 และ 0:100 ตามลำดับ ทำการทดลองเป็น 4 ช่วงการทดลอง แต่ละช่วงใช้ระยะเวลา 21 วัน จากผลการทดลองพบว่าการใช้ YEFSW เป็นแหล่งโปรตีนทดแทน SBM ไม่ส่งผลต่อความเข้มข้นของยูเรียไนโตรเจนในกระแสเลือด (P>0.05) แต่พบว่าโคเนื้อที่ได้รับ YEFSW ทดแทน SBM ในระดับ 0:100 มีค่าปริมาณการกินได้ของอาหารหยาบ อาหารข้น และปริมาณการกินได้รวมสูงที่สุด (P<0.01) รองลงมาเป็นกลุ่มที่ทดแทนในระดับ 67:33, 33:67 และ 0:100 ตามลำดับ ในขณะที่ค่าสัมประสิทธ์การย่อยได้ในโคเนื้อที่ได้รับ YEFSW ทดแทน SBM ในระดับ 33:67 มีค่าต่ำที่สุด (P<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าต้นทุนค่าอาหารข้นในสูตรที่ใช้ YEFSW ทดแทน SBM ในระดับ 0:100 มีค่าต่ำที่สุดโดยมีค่าอยู่ที่ 8.09 บาท/กิโลกรัม จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า กากถั่วเหลืองเปียกหมักยีสต์สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในสูตรอาหารข้นได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังมีข้อมูลที่ค่อนข้างจำกัด หากเพิ่มข้อมูลด้านนิเวศน์วิทยาในกระเพาะรูเมน ผลผลิตที่เกิดขึ้นในกระเพาะรูเมน การสังเคราะห์จุลินทรีย์โปรตีน รวมถึงสมดุลไนโตรเจน จะสามารถช่วยให้สรุปข้อมูลได้อย่างครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เมธา วรรณพัฒน์. 2533. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. หจก.ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ.

ศรัญญา ม่วงทิพย์มาลัย, สุบรรณ ฝอยกลาง, อนุสรณ์ เชิดทอง, จุฬากร ปานะถึก และ จุฑารักษ์ กิติยานุภาพ. 2562. การปรับปรุงคุณภาพของกากถั่วเหลืองเปียกจากโรงงานเต้าหู้ด้วยเชื้อ Saccharomyces cerevisiae ต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊สในหลอดทดลอง. แก่นเกษตร. 47 (ฉบับพิเศษ 1): 131-136.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2562: โคเนื้อ. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

Anjum, M.I., S. Javaid, M.S. Ansar, and A. Ghaffar. 2018. Effects of yeast (Saccharomyces cerevisiae) supplementation on intake, digestibility, rumen fermentation and milk yield in Nili-Ravi buffaloes. Iranian Journal of Veterinary Research.19: 96-100.

AOAC. 1995. Official Method of Analysis. 16th Edition. Association of Official Analytical Chemists, Arlington, VA.

Crocker C.L. 1967. Rapid determination of urea nitrogen in serum or plasma without deproteinization. The American journal of medical technology. 33: 361–365.

Olagaray, K.E., S.E. Sivinski, B.A. Saylor, L.K. Mamedova, J.A. Sauls-Hiesterman, I. Yoon, and B.J. Bradford. 2019. Effect of Saccharomyces cerevisiae fermentation product on feed intake parameters, lactation performance, and metabolism of transition dairy cattle. Journal of Dairy Science. 102(9): 8092-8107.

Pandey, A. 2003. Solid-state fermentation. Biochemical Engineering Journal. 13(2-3), 81–84.

Powell, J.M., M.A., Wattiaux, and G. A. Broderick. 2011. Evaluation of Milk urea nitrogen as a management tool to reduce ammonia emissions from dairy farms. Journal of Dairy Science. 94: 4690-4694.

Rashad, M.M., A.E. Mahmoud, H.M. Abdou, and M.U. Nooman. 2011. Improvement of nutritional quality and antioxidant activities of yeast fermented soybean curd residue. African Journal of Biotechnology. 10: 5504-5513.

Rashad, M.M., M.Z. Sitohy, S.F. Sharobeem, A.E. Mahmoud, M.U. Nooman, and A.S. Al-Kashef. 2010. Production, purification and characterization of extracellular protease from Candida guilliermondii using Okara as a substrate. Advances in Food Sciences. 32: 100-109

Salinas-Chavira, J., M.F. Montano, N. Torrentera, and R.A. Zinn. 2018. Influence of feeding enzymatically hydrolysed yeast cell wall + yeast culture on growth performance of calf-fed Holstein steers. Journal of Applied Animal Research. 46: 327–330.

SAS. 1998. User’s Guide: Statistics. Cary, NC.

Schneider, B. H. and W. P. Flatt. 1975. The Evaluation of Feeds Through Digestibility Experiments. University of Georgia Press, Athens.

Sommai S, T Ampapon, C. Mapato, P. Totakul, B. Viennasay, M. Matra, and M. Wanapat. 2020. Replacing soybean meal with yeast-fermented cassava pulp (YFCP) on feed intake, nutrient digestibilities, rumen microorganism, fermentation, and N-balance in Thai native beef cattle. Tropical Animal Health and Production. 52: 2035- 2041.

Steel, R.G.D. and J.H. Torrie. 1980. Principles and Procedures of Statistics: a biometric approach. 2nd Edition. McGraw-Hill, New York.

Van Keulen, J. and B.A. Young. 1977. Evaluation of acid insoluble ash as a neutral marker in ruminant digestibility studies. Journal of Animal Science. 44:282-287.

Van Soest, P.J., J.B. Robertson, and B.A. Lewis. 1991. Methods for dietary fiber, neutral detergent fiber, and nonstarch polysaccharides in relation to animal nutrition. Journal of Dairy Science. 74: 3583-3597.

Vong, W. C. 2018. Valorisation of soybean residue (Okara) by yeast fermentation. Ph.D. Dissertation. National University of Singapore, Singapore.