การวิเคราะห์แนวทางการยกระดับการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจของไทย

Main Article Content

จักรกฤษณ์ พจนศิลป์
สุวรรณา ประณีตวตกุล
กัมปนาท วิจิตรศรีกมล
สุวรรณา สายรวมญาติ
ณิธิชา ธรรมธนากูล
ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์

บทคัดย่อ

จากความต้องการแนวทางในการยกระดับศักยภาพของไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญ 9 ชนิด ประกอบด้วย ลำไย ทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ ส้มโอ มะพร้าวน้ำหอม มะขาม มะม่วง และกล้วย การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับศักยภาพโดยดำเนินการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ถึงระดับความเหมาะสมของการใช้ที่ดินและวิเคราะห์กลุ่มปัจจัยที่ทำให้การใช้ที่ดินอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม ซึ่งใช้ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ทั่วประเทศในรูปแผนที่หน่วยที่ดิน เขตการปกครอง และการใช้ที่ดินปีการผลิต 2561/62 และใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบในการวิเคราะห์กลุ่มปัจจัยกำหนดความไม่เหมาะสม โดยผลการวิเคราะห์พบว่าพื้นที่ปลูกไม้ผลส่วนใหญ่ร้อยละ 68.71 อยู่ในเขตที่ไม่เหมาะสม (N) นอกจากนี้พบว่าเขตที่ไม่มีความเหมาะสม (N) ของพืชไม้ผล 7 ชนิดประกอบด้วย ลำไย ลิ้นจี่ ส้มโอ มะพร้าว มะขาม มะม่วง และกล้วย เป็นผลมาจากลักษณะปริมาณน้ำและความชื้นในดิน ขณะที่พืชไม้ผลอีก 2 ชนิดคือทุเรียนและมังคุดพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสมส่วนใหญ่เกิดจากลักษณะความเป็นกรดด่างของดิน ดังนั้นเพื่อการยกระดับศักยภาพพืชกลุ่มแรกการพัฒนาหรือนวัตกรรมควรเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำสำรองและระบบชลประทาน รวมทั้งเทคโนโลยีและพันธุ์พืชที่ประหยัดน้ำ ส่วนพืชทุเรียนและมังคุด การพัฒนาหรือนวัตกรรมควรเน้นการปรับสภาพดินหรือการจัดการที่ดินเพื่อลดความเป็นกรดด่างของดิน รวมทั้งการปรับปรุงพันธุ์พืชที่เหมาะสม นอกจากนี้แนวทางการพัฒนาหรือนวัตกรรมเพื่อยกระดับศักยภาพของพืชในแต่ละภูมิภาคต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับปัจจัยที่ต้องการการพัฒนาของแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง. สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดฤดูแล้งในเขตชลประทาน. สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจถั่วเหลืองฤดูแล้งในเขตชลประทาน. สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน. สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. เขตความเหมาะสมของดินกับการปลูกพืชเศรษฐกิจ. สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทุเรียน. สำนักนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2559. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว. กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2561. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง. กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2562. ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์การใช้ที่ดินรายจังหวัดปี 2561. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2562. รายงานสถิติทางการเกษตร พืชอายุยาว (รต.02) จำแนกตามพืช. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร. กรมส่งเสริมการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรรณิสา สฤษฎ์ศิริ. 2548. การกำหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบยั่งยืนในลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่กกตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วนศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กระทรวงพาณิชย์. 2562. สถิติการค้าของไทย. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์.

กองวางแผนการใช้ที่ดิน. 2542. คู่มือการประเมินคุณภาพที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

เกษม ทองปาน. 2532. การวางแผนการใช้ที่ดินบริเวณโครงการพัฒนาทุ่งหมาหิว กิ่งอำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี โดยประยุกต์วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินและกำหนดการเชิงเส้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

รัตนชาติ ช่วยบุดดา และณัฐพร ประคองเก็บ. 2562. ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย. สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

วิเชียร ฝอยพิกุล. 2547. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วย arcview. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.

Bedawi, G., r. shariff, S. Balasundram, and A. F. Abdullah. 2016. Agriculture land suitability analysis evaluation based multi criteria and gis approach. pp. 012044. In: IOP Conference Series. Earth and Environmental Science, 37. April 13–14, 2016, Kuala Lumpur, Malaysia.

FAO. 1976. A framework for land evaluation. FAO Soils bulletin 32. Soil resources development and conservation service land and water development division, FAO.

Herzberg, R., T. G. Pham, M. Kappas, D. Wyss, and C. T. M. Tran. 2019. Multi-criteria decision analysis for the land evaluation of potential agricultural land use types in a hilly area of central Vietnam. Land. 8: 90-114.

Huynh, V. and C. Huynh Van. 2008. Multicriteria land suitability evaluation for crops using GIS at community level in central Vietnam with case study in Thuy Bang-Thua Thien Hue province. selected paper presented at International Symposium on Geoinformatics for Spatial Infrastructure Development in Earth and Allied Sciences in January 2008. Hanoi, Vietnam.

Mooi, E. and M. Sarstedt. 2019. A concise guide to market research: The process, data, and methods using ibm spss statistics. New york: Springer.

Rossiter, D. G. 1994. Lecture notes. Land evaluation. Department of Soil Crop & Atmospheric Sciences, Cornell University.