ความต้องการในการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่เกาะลัดอีแท่น อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สิงห์อำพล จันทร์วิเศษ
พิชัย ทองดีเลิศ
ชลาธร จูเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล การร่วมจัดกิจกรรมท่องเที่ยว สภาพการทำการเกษตร และความต้องการในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรในพื้นที่เกาะลัดอีแท่น 253 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2562 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ สถิติพรรณนาและเชิงอนุมาน ทดสอบค่า t-test , F-test และ LSD ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 55.7 ) มีอายุเฉลี่ย 52.54 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี (ร้อยละ 87.40) รายได้การทำการเกษตรเฉลี่ย 160,869.57 บาทต่อปี รายจ่ายจากการทำการเกษตรเฉลี่ย 47,412.45 บาทต่อปี เกษตรกรได้รับการส่งเสริมการเกษตร (ร้อยละ 64.00) และการรับข้อมูลข่าวสารการเกษตร (ร้อยละ 43.50) และการรับข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ (ร้อยละ 43.50) จากสื่อกิจกรรม ไม่เคยเข้าร่วมจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่ (ร้อยละ 79.10) พืชหลักที่ปลูก คือ ส้มโอ (ร้อยละ 79.80) ใช้เงินทุนของตนเอง (ร้อยละ 96.80) และแรงงานภายในครัวเรือนในการทำการเกษตร (ร้อยละ 83.00) เกษตรกรมีความต้องการในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.16) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เกษตรกรได้รับการส่งเสริมการเกษตร ได้รับข่าวสารการเกษตร และรับข้อมูลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ การเข้าร่วมจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่ จำนวนพื้นที่ทำเกษตร แหล่งเงินทุน ประเภทแรงงาน การดูแลรักษาผลผลิต และการบริหารจัดการแหล่งน้ำ ที่แตกต่างกันมีความต้องการในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01 ซึ่ง สามารถนำไปปรับใช้เพื่อวางแผนและสนับสนุนให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกรได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมการท่องเที่ยว. 2563. การท่องเที่ยวในวิถี New Normal. แหล่งข้อมูล: http://www.covid19.mcot.net/knowledge_covid. ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2544. คู่มือการบริหารและจัดการ “การท่องเที่ยวเกษตร”. โรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรงเทพฯ.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. คู่มือระบบส่งเสริมการเกษตร T & V System กรมส่งเสริมการเกษตร. โรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

จีรนันท์ เขิมขันธ์ และปัญญา หมั่นเก็บ. 2560. การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการทำสวนผลไม้อย่างเดียวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในจังหวัดระยอง.วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. 6(2): 43–55.

ชาตรี บุญนาค. 2562. สัมมนาเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยววิถีเกษตร แหล่งข้อมูล: https://www.matichon.co.th/publicize/news_1770278. ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2562.

ณัฐธิดา ห้าวหาญ. 2559. ความพร้อมของเกษตรกรเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรใน ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เทพกร ณ สงขลา. 2556. รูปแบบการจัดการทรัพยากรเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ยั่งยืนในอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา

นรินทร์ สังข์รักษา. 2560. ศึกษาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนบ้านดงเย็นในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง. Veridian E-Journal Silpakorn University, กรุงเทพฯ.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. 2548. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. โรงพิมพ์เพรส แอนด์ ดีไซน์, กรุงเทพฯ

อัจฉรียา ศักดิ์นรงค์. 2549. บทบาทขององค์กร ภาครัฐที่มีต่อการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนบนพื้นที่เกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. แหล่งข้อมูล: http://www.elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG4950141. ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2562.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. 2558. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อความยั่งยืน โครงการหลวงปางดะ. Suranaree Journal of Social Science. 9(1): 19–35.