การเพิ่มคุณค่าทางโภชนะของลำต้นกล้วยโดยใช้จุลินทรีย์ต่อองค์ประกอบทางเคมีและความสามารถในการย่อยได้ในโคเนื้อโดยใช้ in vitro gas production technique

Main Article Content

สินีนาฏ พลโยราช
รณชัย สิทธิไกรพงษ์
ปัณฑมาศ ผดุงชอบ
รัศมี นามภักดี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณค่าทางโภชนาการของต้นกล้วยโดยใช้จุลินทรีย์ต่อการย่อยได้ของโคเนื้อโดยใช้เทคนิค การผลิตแก๊สในหลอดทดลอง  (in vitro gas production technique) จากการทดลองครั้งนี้ใช้แผนการทดลองแบบ 2×3 factorial in  CRD ทำการศึกษาจำนวน 3 ซ้ำ โดยศึกษา 2 ปัจจัยได้แก่  ปัจจัย A ชนิดของจุลินทรีย์ที่ใช้หมัก (Yeast และ Effective microorganism, EM) และปัจจัย B ระยะเวลาการหมัก 3 ระดับ คือ 0, 7 และ 14 วัน บันทึกผลผลิตแก๊สสะสมที่ 0, 2, 4, 6, 12, 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมงของการบ่ม พบว่า ต้นกล้วยที่หมักด้วยจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดมีปริมาณอินทรีย์วัตถุและโปรตีนเพิ่ม ในขณะที่ปริมาณวัตถุแห้งและเยื่อใย NDF ลดลง เมื่อเวลาหมักเพิ่มขึ้น (P<0.05) ในขณะที่วัตถุแห้ง และเยื่อใย NDF ลดลง (P <0.05) เมื่อพิจารณาปัจจัยของชนิดของจุลินทรีย์ที่ใช้หมัก ระยะเวลาการหมัก และปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างแหล่งที่มาของจุลินทรีย์และเวลาหมักไม่มีผลต่อค่า ปริมาณแก๊สที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายองค์ประกอบที่ละลายน้ำได้ (a) ปริมาณแก๊สที่เกิดขึ้นจากการผลิตแก๊สจากส่วนที่ไม่ละลายน้ำ (b) ค่าคงที่อัตราการผลิตแก๊สจากส่วนที่ไม่ละลายน้ำ (c) ศักยภาพการผลิต (a + b) และการผลิตแก๊สสะสมที่ 96 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามการย่อยสลายในหลอดทดลองมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลาของการหมัก จากการทดลองในครั้งนี้สรุปได้ว่าจุลินทรีย์สามารถปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะของ OM และ CP รวมถึงเพิ่มการย่อยได้เมื่อระยะเวลาในการหมักของต้นกล้วยเพิ่มสูงขึ้น  อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาการใช้ต้นกล้วยหมักร่วมกับจุลินทรีย์จุลินทรีย์ในตัวสัตว์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ณรกมล เลาห์รอดพันธ์, ประวิทย์ ห่านใต้, ทศพร อินเจริญ, บุญฑริกา ปลั่งสูงเนิน, เสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ และ วิรัตน์ นาคเอี่ยม. 2562. การปรับปรุงคุณภาพของฟางข้าวด้วยหัวเชื้อพ.ด.1 และหัวเชื้ออีเอ็มต่อค่าองค์ประกอบทางเคมีและการย่อยสลายในหลอดทดลอง. แก่นเกษตร. 47: 777-782.

วาสนา ศิริแสน, และกิตติ วิรุณพันธุ์. 2557. กลยุทธ์การปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะของเศษเหลือทางการเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรมด้วยจุลินทรีย์โปรไบโอติกเพื่อเป็นอาหารสัตว์. การเกษตรราชภัฏ. 13(1): 1-10.

สินีนาฏ พลโยราช และ อรอนงค์ พวงชมภู. 2557. ผลของการเสริมแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงต่อความสามารถในการย่อยได้ของโภชนะในกระเพาะรูเมนโดยวิธีถุงไนลอน. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร, สกลนคร.

สินีนาฏ พลโยราช และ เมธา วรรณพัฒน์. 2558. ศักยภาพในการใช้ยีสต์เป็นแหล่งโปรไบโอติกส์ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง. แก่นเกษตร. 43(1): 191-206.

อรอนงค์ ยามาเจริญ. 2558. ส่วนประกอบของต้นกล้วย. แหล่งข้อมูล:https://www.google.com/ Search ?ei=u93PXIeuEZzbz7sPt-CHwAY&q=%28.28. ค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563.

Association of Official Analytical Chemists (AOAC). 2016. Official Methods of Analysis. 20th Edition. AOAC, Gaithersburg, MD, USA.

Chen, X., W., Li, C. Gao, X. Zhang, B, Weng, and Y. Cai. 2017. Silage preparation and fermentation quality of kudzu, sugarcane top and their mixture treated with lactic acid bacteria, molasses and cellulase. Animal Science Journal. 88: 1715-1721.

Forsberg, C. W., E. Forano, and A. Chesson. 2000. Microbial adherence to the plant cell wall and enzymatic hydrolysis. P.79-97. In: P. B. Cronje. Ruminant physiology: Digestion, Metabolism, Growth and Reproduction. CABI Publishing, Wallingford, UK.

Huy, S., Tran, T. T. Hong., L. D. Ngoan., L. D. Phung, and K. Borin. 2018. Nutritive Value of Fermented Banana Pseudo Stem (Musa spp.) and Rice Bran by Saccharomyces cerevisiae. IJAIR. 7: 209-216.

Jouany, J.P. 2006. Optimizing rumen functions in the close-up transition period and early lactation to drive dry matter intake and energy balance in cows. Animal Reproduction Science. 96: 250-264.

Kimambo, A.E., and H.M.H. Muya. 1991. Rumen degradation of dry matter and organic matter of different part of the banana plant. Livestock Research for Rural Development. 3(3): 35-40.

Marie-Magdeleine, C., M. Boval, L. Philibert, A. Borde, and H. Archimède. 2010. Effect of banana foliage (Musa paradisiaca) on nutrition, parasite infection and growth of lambs. Livestock Science. 131: 234−239.

Menke, K.H. and H. Steingass. 1988. Estimation of the energetic feed value obtained from chemical analysis and in vitro gas production using rumen fluid. Animal Research and Development. 28: 9-55.

Nampukdee, R., S. Polyorach, M. Wanapat, S. Kang, A. Cherdthong, P. Gunun, N. Gunun, and R. Sitthigripong. 2018. Effects of microbial fermented liquid (MFL) supplementation on gas production kinetics and digestibility using in vitro gas production technique. International Journal of Agricultural Technology. 14(7): 1495-1504

Oboh, G. 2006. Nutrient enrichment of cassava peels using a mixed culture Saccharomyces cerevisae and Lactobacillus spp. solid media fermentation techniques. Electronic Journal of Biotechnology. 9(1): 46-49.

Ørskov, E.R. and P. McDonald. 1979. The estimation of protein degradability in the rumen from incubation measurements weighed according to rate of passage. The Journal of Agricultural Science. 92: 499-503.

Polyorach, S., M. Wanapat, K. Phesatcha, and S. Kang. 2015. Effect of different levels of mangosteen peel powder supplement on the performance of dairy cows fed concentrate containing yeast fermented cassava chip protein. Tropical Animal Health and Production. 47: 1473–1480.

Roper, M.M., and J.K. Ladha. 1995. Biological N2 fixation by heterotrophic and phototrophic bacteria in association with straw. Plant and Soil. 174: 211-224.

SAS (1996) Statistical Analysis System. SAS User’s Guide: Statistics. SAS Institute Inc., Cary, USA.

Steel R. G. D., and J. H. Torrie. 1980. Principles and Procedures of Statistics. 2nd Edition. McGraw-Hill. New York.

Tilley J.M.A. and R.A. Terry 1963. A two-stage technique for the in vitro digestion of forage crops Current Contents. Journal of the British Grassland Society. 18: 104-111.

Van Soest, P. J., J. B. Robertson, and B.A. Lewism. 1991. Methods for dietary fiber neutral detergent fiber, and non-starch polysaccharides in relation to animal nutrition. Journal of Dairy Science. 74: 3583-3597.

Viswanathan, K., R. Kadirvel, and D. Chandrasekaran. 1989. Nutritive value of banana stalk (Musa cavendishi) as a feed for sheep. Animal Feed Science and Technology. 22: 93-113.

Wajizah, S., M. A. Akbar, and Y. Usman. 2019. In vitro digestibility assessment of banana stem silage (Musa paradisiaca) inoculated with EM-4 and different accelerators added as ruminant feed. Earth and Environmental Science. 387: 1-4.

Zhao, J., D. Zhihao, L. Junfeng, C. Lei, B. Yunfeng, J. Yushan, and S. Tao. 2019. Effects of lactic acid bacteria and molasses on fermentation dynamics, structural and nonstructural carbohydrate composition and in vitro ruminal fermentation of rice straw silage. Animal Feed Science and Technology. 32(6): 783-791.