การใช้ประโยชน์ผลพลอยได้โรงงานผงชูรส (อามิ-อามิ) และขี้เถ้าลอยต่อผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การใช้ประโยชน์ผลพลอยได้โรงงานผงชูรส (อามิ-อามิ) และขี้เถ้าลอยต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์แปซิฟิค 999 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ทำการปลูก 2 ครั้ง โดยการปลูกครั้งที่ 1 พบว่า การใส่วัสดุอินทรีย์ผสม 1,000 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุ อาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสม 1,000 กก./ไร่ มีผลให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือก น้ำหนักฝักปอกเปลือก น้ำหนักเมล็ด และน้ำหนัก 1,000 เมล็ดของข้าวโพดมากที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์
ผสม 2,000 กก./ไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ส่วนการปลูกครั้งที่ 2 พบว่า การใส่วัสดุอินทรีย์ผสม 1,000 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสม 1,000 กก./ไร่ มีผลให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือก น้ำหนักฝักปอกเปลือก น้ำหนักเมล็ด และน้ำหนัก 1,000 เมล็ดของข้าวโพดมากที่สุด รองลงมา คือ การใส่ปุ๋ยเคมีเทียบ เท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสม 2,000 กก./ไร่ ซึ่งไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดที่ปลูกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 พบว่า การใส่วัสดุอินทรีย์ผสม
1,000 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสม 1,000 กก./ไร่ มีผลให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือกและน้ำ-หนักฝักปอกเปลือกของข้าวโพดเพิ่มขึ้น ขณะที่น้ำหนักเมล็ดเพิ่มขึ้นเมื่อใส่ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสม 2,000 กก./ไร่ และการใส่วัสดุอินทรีย์ผสม 1,000 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสม 1,000 กก./ไร่ ภายหลังการทดลอง พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสม2,000 กก./ไร่ มีผลให้ค่า pH ของดินต่ำที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสม1,000 กก./ไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใส่วัสดุอินทรีย์ผสม 1,000 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสม 1,000 กก./ไร่ ส่วนการใส่วัสดุอินทรีย์ผสม 2,000 กก./ไร่ มีผลให้ค่า ECe ปริมาณอินทรียวัตถุ และปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ของดินสูงที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่วัสดุอินทรีย์ผสม 1,000 กก./ไร่
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า