บทบาทของอนุภาคดินเหนียวที่มีผลต่อการย่อยสลายและการกักเก็บสารอินทรีย์คาร์บอน จากน้ำชะขยะในระบบดินประยุกต์บำบัดน้ำเสีย

Main Article Content

Orrathai Chueawong
Paiboon Prabuddham
Onanong Phewnil

บทคัดย่อ

การศึกษาบทบาทของอนุภาคดินเหนียวที่มีผลต่อการย่อยสลายและการกักเก็บสารอินทรีย์คาร์บอนจาก
น้ำชะขยะในระบบดินประยุกต์บำบัดน้ำเสีย ภายใต้สมมติฐานว่าเมื่ออนุภาคดินเหนียวในระบบดินประยุกต์บำบัดน้ำ
เสียแตกต่างกันจะส่งผลต่อการย่อยสลายและการกักเก็บสารอินทรีย์คาร์บอนจากน้ำชะขยะในระบบดินแตกต่างกัน
วางแผนการทดลองแบบ Split Plot Design โดยมีแหล่งที่มาของน้ำเป็น main plot 2 แหล่ง คือ น้ำชะขยะ
(landfill leachate, LFL)และน้ำประปา (blank) และ Sub plot 4 ชนิด (S1, S2, S3 และ S4 ) คือ ดินราชบุรีผสมทราย
หยาบ 4 อัตราส่วน (4:0, 3:1, 2:2 และ 1:3) ซึ่งทำให้เนื้อดินมีอนุภาคดินเหนียว 66, 49.5, 33 และ 16.5%
ตามลำดับ ใส่น้ำในปริมาณที่ดินอิ่มตัวและบ่มที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 1, 2, 4, 8 และ 16 สัปดาห์ ตามลำดับ
ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์เกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรกของการทดลองและสมบูรณ์
ในสัปดาห์ที่ 4 ของการทดลอง 2) สัดส่วนของอนุภาคดินเหนียวต่อทรายหยาบที่เหมาะสมคือ อัตราดินเหนียว 3 ส่วน
ต่อทรายหยาบ 1 ส่วน จะสมดุลทั้งปริมาณตัวรับอิเลคตรอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์
ของ Facultative anaerobes และปริมาณ Macropores ที่ช่วยให้เกิดกระบวนการ Soil aggregate granulation
และ Humus formation ได้ดี และ 3) ระบบดินประยุกต์บำบัดน้ำเสียมีศักยภาพทั้งในด้านการย่อยสลายสารอินทรีย์
คาร์บอนจากน้ำชะขยะและการกักเก็บคาร์บอนในดิน ประกอบกับเป็นระบบที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ จึงควรเป็นระบบบำบัด
น้ำเสียที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้แก้ปัญหาน้ำชะขยะในประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย